ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดอนัลด์ ทรัมป์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sanrakalone (คุย | ส่วนร่วม)
Sanrakalone (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 62:
 
== นโยบายขณะดำรงตำแหน่ง ==
 
=== เศรษฐกิจและสังคม ===
ทรัมป์ประกาศอย่างชัดเจนต่อสาธารณธชนก่อนการเลือกตั้งว่า เขาจะเข้ามาปฏิรูปนโยบายด้านต่างๆที่ บารัค โอบามา ได้ทำไว้ และแสดงเจตนารมณ์ในการบริหารประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์ "Make America Great Again" ซึ่งเป็นนโยบายที่ [[โรนัลด์ เรแกน]] อดีตประธานาธิบดีคนที่ 40 เคยใช้หาเสียง ตลอดระยะเวลา 4 ปีในการดำรงตำแหน่งของทรัมป์ เขาให้ความสำคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจมาก โดยมีการปรับภาษีให้เท่าเทียมกัน และ มีการลดหย่อนภาษีลงอย่างทั่วถึง โดยรวมถึงการลดค่าใช่จ่ายในการเลี้ยงบุตรและค่ารักษาพยาลบาลทั่วไปอีกด้วย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนคนว่างงานลงให้มากที่สุด นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นประธานาธิบดีที่ให้ความใส่ใจกับยโยบายด้านการควบคุมผู้อพยพเข้าประเทศมากที่สุดท่านหนึ่ง เขาให้ความเข้มงวดเรื่องนี้มาก เนื่องจากต้องการผลักดันกฎหมายแรงงานให้ชาวอเมริกันสิทธิ์มากกว่าชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในสหรัฐ ซึ่งจุดนี้จะเป็นการรับประกันเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ของชาวอเมริกันได้ รวมถึงการประกันรายได้ การมีงานที่ดีรองรับ โดยคำถึงถึงสิทธิ์ของคนอเมริกันก่อนเป็นอันดับแรก และ เขาได้มีการเพิ่มมาตรการตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดมากเพื่อป้องกันการก่อการร้าย โดยมีเป้าหมายหลักคือการลดจำนวนผู้อพยพจากพรมแดนเม็กซิโกและแถบละตินอเมริกาลงให้มากที่สุด
 
=== ประกันสุขภาพและการศึกษา ===
เจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่สุดของทรัมป์อีกประการหนึ่งตั้งแต่ช่วงรณรงค์หาเสียงคือการยกเลิกประกันสุขภาพ โอบามา แคร์ ของบารัก โอบามา เนื่องจากเขาเล็งเห็นว่ามันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆกับประชาชนในระดับกลางและระดับล่าง ทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระในการเสียภาษีฟุ่มเฟือยที่มากขึ้นอีกด้วย เขาได้มีนโยบายในการเปลี่ยนไปใช้ระบบการซื้อประกันสุขภาพในราคาที่ถูกลงและยังครอบคลุมสิทธิการรักษาเมื่อเดินทางข้ามรัฐได้อีกด้วย ในส่วนของนโยบายด้านการศึกษา ทรัมป์ ได้เล็งเห็นว่าเด็กคืออนาคตของชาติและต้องการสร้างความมั่นใจแก่ชาวโลกว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เขามีการผลักดันการพัฒนาด้านการศึกษาทางสายอาชีพมากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตให้เยาวชนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและจบมามีงานที่ดีทำและสามารถพึ่งพาตนเองได้
 
=== การต่างประเทศ ===
ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของทรัมป์ สหรัฐฯ ได้ตั้งคำถามต่อความสำคัญขององค์กรระหว่างประเทศ และ ดำเนินนโยบายการค้าและการทหารซึ่งสอดคล้องของกับสโลแกน America First ที่คำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ​เป็นอันดับหนึ่งซึ่งในบางครั้งได้เพิ่มความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้น เขาได้ประกาศอย่างแข็งกร้าวในการกล้าที่จะเผชิญหน้ากับจีนและเกาหลีเหนือในฐานะประเทศคู่แข่งและผู้เป็นภัยคุกคามทางความมั่นคง ทรัมป์เน้นการใช้นโยบายแบบเอกาภาคีนิยม หรือ "Unilateralism" คือให้อเมริกาลุยเดี่ยว ‘Go It Alone’ ไม่จำเป็นต้องอิงกับพันธมิตรชาติใดเป็นพิเศษซึ่งตรงข้ามกับพรรคเดโมแครตของ โจ ไบเดน อย่างสิ้นเชิง (เดโมแครตเน้นการใช้เครื่องมือพหุภาคีระหว่างประเทศและใช้พันธมิตรเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารงานด้านการต่างประเทศ) ยิ่งไปกว่านั้น ในสมัยที่ บารัก โอบามา เป็นประธานาธิบดี และไบเดนเป็นรองประธานาธิบดี เขามีผลงานชิ้นโบว์แดงด้านการต่างประเทศ คือการจัดทำข้อตกลงอาวุธนิวเคลียร์กับอิหร่านในปี 2015 แต่ต่อมาภายหลังทรัมป์ได้ทำการฉีกข้อตกลงดังกล่าวทำให้เกิดวิกฤตอิหร่านขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายของการดำรงตำแหน่งของเขา
 
เส้น 71 ⟶ 75:
ใน ค.ศ. 2017 เมื่อการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ยังคงมีแนวโน้มที่จะรุนแรงอย่างต่อเนื่องนั้น ทรัมป์ได้ยกระดับคำสั่งเตือนว่าเกาหลีเหนือจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่กำลังปฏิบัติและเท่ากับเป็นการประกาศตัวเป็นศัตรูต่อเมริกาและชาวโลก ในปลายปี 2017 ทรัมป์ประกาศว่าเขาต้องการให้เกาหลีเหนือ "เลิกใช้นิวเคลียร์โดยสมบูรณ์" และมีส่วนร่วมในการเรียกชื่อกับผู้นำคิมจองอึนเพื่อยุติแผนการดังกล่าว ในห้วงเวลาแห่งความตึงเครียดนี้ทรัมป์และคิมได้แลกเปลี่ยนจดหมายกันอย่างน้อย 27 ฉบับซึ่งทั้งสองคนอธิบายถึงมิตรภาพส่วนตัวที่อบอุ่นและมีแนวโน้มทีจะดีขึ้น โดยคิมได้ยื่นข้อเสนอที่จะพบกับทรัมป์จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่: ที่สิงคโปร์ในปี 2018 ในฮานอยในปี 2019 และในเขตปลอดทหารเกาหลีภายในในปี 2019 โดยทรัมป์ได้กลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่ได้พบกับผู้นำเกาหลีเหนือและได้เหยียบแผ่นดินเกาหลีเหนือ ทรัมป์ยังยกเลิกการคว่ำบาตรบางส่วนที่สหรัฐฯมีต่อเกาหลีเหนือในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตามเกาหลีเหนือมิได้มีการยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์แต่อย่างใด และการเจรจาในเดือนตุลาคม 2019 ก็ล้มเหลวลงในที่สุดหลังจากที่คิมยืนยันว่าเกาหลีเหนือจะไม่ยุติโครงการอาวุธนิวเคลียร์
 
=== การรับมือกับไวรัสโคโรนา ===
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ไวรัสโคโรนา COVID-19 ได้ระบาดขึ้นในหวู่ฮั่นประเทศจีนและแพร่กระจายไปทั่วโลกภายในไม่กี่สัปดาห์ มีรายงานผู้ป่วยรายแรกที่ได้รับการยืนยันในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 20 มกราคม ปี 2020 การระบาดของโรคนี้ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโดย Alex Azar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและการบริการมนุษย์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2020 ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2020 ทรัมป์กล่าวต่อสาธารณชนว่าการระบาดในสหรัฐอเมริกานั้นร้ายแรงน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่และอยู่ภายใต้การควบคุม ขอให้ประชาชนมั่นใจเนื่องจากไวรัสนี้จะสิ้นสุดลงในไม่ช้า ในขณะเดียวกันเขากลับกล่างยอมรับสิ่งที่ตรงกันข้ามออกมาในการสนทนาส่วนตัวกับ บ็อบ วู้ดวาร์ด ในเดือนมีนาคมปี 2020 โดยทรัมป์บอกกับวู้ดวาร์ดเป็นการส่วนตัวว่าเขาจำเป็นต้องให้สัมภาษณ์ในเชิงบวกเพื่อไม่ให้ประชาชนชาวอเมริกันเกิดความตื่นตระหนก ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา การจัดส่งวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์และ BioNTech ล็อตแรกได้เดินทางถึงสหรัฐอเมริกา โดยคนงานจากโรงงานไฟเซอร์เร่งจัดเตรียมวัคซีนให้พร้อมส่งไปยังทั้ง 50 รัฐทั่วประเทศ โดยการจัดซื้อวัคซีนเพื่อระับระงับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนานี้ถือเป็นผลงานใหญ่โครงการสุดท้ายที่ทรัมป์ได้ฝากไว้แก่ประชาชนก่อนจะส่งมอบอำนาจต่อให้รัฐบาลของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนใหม่
 
เครดิต: ศ.ดร. ประภัสสร์ เทพชาตรี นายกสมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย (American Studies Association in Thailand - ASAT), องค์กรวีโอเอ ภาคภาษาไทย