ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดสุราษฎร์ธานี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chanchai0875009082 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 31:
}}
 
'''สุราษฎร์ธานี''' มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า '''สุราษฎร์ฯ''' ใช้อักษรย่อ '''สฎ''' เป็นจังหวัดใน[[ภาคใต้ (ประเทศไทย)|ภาคใต้ตอนบน]] มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นอันดับ 6 ของ[[ประเทศไทย]] และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่<ref>[http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/suratahani2.htm พัฒนาการทางประวัติศาสตร์: จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หอมรดกไทย]</ref> และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและ[[:หมวดหมู่:อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสุราษฎร์ธานี|อุทยานแห่งชาติ]]หลายแห่ง มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ [[จังหวัดชุมพร|ชุมพร]] [[จังหวัดนครศรีธรรมราชระนอง|นครศรีธรรมราชระนอง]] [[จังหวัดกระบี่พังงา|กระบี่พังงา]] [[จังหวัดพังงากระบี่|พังงากระบี่]] และ[[จังหวัดระนองนครศรีธรรมราช|ระนองนครศรีธรรมราช]]
 
จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 98 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจาก[[จังหวัดพังงา]]ที่มี 155 เกาะ และ[[จังหวัดภูเก็ต]]ที่มี 154 เกาะ<ref>{{cite web|url=http://www.youtube.com/watch?v=b0J-uQy42vM|title=แฟนพันธุ์แท้ 25 เมษายน 2557 - เกาะทะเลไทย|date=25 April 2014|accessdate=29 April 2014|publisher=แฟนพันธุ์แท้}}</ref> เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น [[อำเภอเกาะสมุย|เกาะสมุย]] [[เกาะพะงัน]] [[เกาะเต่า]] และ[[อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง|หมู่เกาะอ่างทอง]] เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนว[[เทือกเขาตะนาวศรี]] [[เทือกเขาภูเก็ต]] และ[[เทือกเขานครศรีธรรมราช]] <ref>[http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/South/EconomicReport/DocLib_Structure/structure_south.pdf โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้โดยธนาคารแห่งประเทศไทย หน้า 1]</ref> แถบบริเวณ[[จังหวัดระนอง]] [[จังหวัดชุมพร]] [[จังหวัดพังงา]] [[จังหวัดภูเก็ต]] และ[[จังหวัดนครศรีธรรมราช]] เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม