ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองยอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aquapatinth (คุย | ส่วนร่วม)
{{เขตการปกครองพม่า/รัฐฉาน}}
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
== กำแพง ประตู และใจกลางเมืองยอง ==
 
เขตกำแพงเมืองลักษณะกลมรีตั้งอยู่บนเนินสูง มีคูน้ำคันดิน ที่ตั้งประกอบด้วยประตูเมืองทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
* [[ทิศเหนือ]] ติดกับดอยปางหนาว มีประตูม่อนแสน
เส้น 17 ⟶ 16:
นอกจากนั้น ยังมีอีก 3 ประตู ภายใน[[เวียง]] คือ ประตูดินแดง ประตูหูหูด และประตูผาบ่อง บริเวณใจกลางเมืองมีต้นสรี หรือต้น[[โพธิ์]]มีไม้ค้ำโดยรอบซึ่งแสดงถึงความเชื่อเรื่อง[[ไม้ค้ำสรี]] เช่นเดียวกับ[[คนเมือง]]ในล้านนา
 
== ตำนาน ประวัติ==
===การอพยพมาของชาวไทลื้อ===
 
คำว่ายองหรือ '''ญอง''' อันเป็นชื่อเมืองนั้น ตำนานเมืองยองได้อธิบายว่าเป็นชื่อหญ้าชนิดหนึ่งที่เคยขึ้นในบริเวณเมืองยอง ครั้งหนึ่งมีนายพรานมาจากอาฬวีนคร ได้จุดไฟเผาป่าทำให้หญ้ายองปลิวไปทั่ว เมืองยองมีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า '''มหิยังคนคร'''(ตำนานเมืองยอง)
 
เส้น 55 ⟶ 53:
 
ในปี พ.ศ. 2345-2347 ก็ได้รับการสนับสนุนกำลังทหารจากกรุงเทพฯ เวียงจันทน์ เมืองลำปาง เมืองน่าน และครั้งที่ยกไปตีและกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองครั้งใหญ่ ในปี [[พ.ศ. 2348]] นั้นก็ได้รับการสนับสนุนกองทัพจากเมือง[[ลำปาง]] เมือง[[แพร่]] เมือง[[น่าน]] และเชียงตุง ที่มีกำลังคนนับ 19,999 คน นับเป็นการยกทัพครั้งใหญ่ที่สุดในสมัยพระเจ้ากาวิละ หลังจากทัพพม่าที่เชียงแสนถูกทัพจากเชียงใหม่ตีแตกในปี [[พ.ศ. 2347]] แล้ว ทัพเชียงใหม่ได้ยกขึ้นไปตีเมืองยองก่อนเมืองอื่น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานะของเมืองยองในปี [[พ.ศ. 2348]] ว่าเป็นศูนย์อำนาจย่อยของหัวเมืองบริเวณใกล้เคียง ดังเช่นในสมัย[[พระเจ้าสุทโธธรรมราชา]](พ.ศ. 2148-2191) พม่าได้มอบหมายให้เจ้าฟ้าเมืองยองดูแลหัวเมืองต่าง ๆ ถึง 12 หัวเมืองแถบสิบสองปันนาตอนล่างไปจนสุดน้ำโขงที่ที่เมือง[[เชียงลาบ]]มาก่อน การที่ทัพเชียงใหม่ยกมาครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่เมืองยอง โดยเห็นได้จากภายหลังที่เมืองยองยอมสวามิภักดิ์แล้ว มีผลทำให้หัวเมืองอื่น ๆ ในบริเวณแถบนี้ยอมสวามิภักดิ์ต่อเชียงใหม่เช่นเดียวกัน ทำให้กองทัพเชียงใหม่สามารถขยายอิทธิพลเข้าไปถึงสิบสองพันนาและหัวเมืองอื่น ๆ ที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจและอิทธิพลของพม่าได้สะดวก
 
 
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เป็นเอกสารพื้นเมืองเพียงฉบับเดียวที่ให้รายละเอียดถึงเหตุการณ์ที่กองทัพเชียงใหม่ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองในปี [[พ.ศ. 2348]] ในการที่พระเจ้ากาวิละยกทัพไปตีเมืองยองครั้งนี้ ก็อ้างว่าเป็นการกระทำดังที่กษัตริย์ในราชวงศ์มังรายได้ปฏิบัติมาก่อน แต่จากการที่เมืองยองได้ยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี และยังได้ถวายสิ่งของต่าง ๆ รวมไปถึงนางหน่อแก้วเกี๋ยงคำ น้องต่างมารดาของเจ้าฟ้าหลวงเมืองยองให้กับเจ้าอุปราชธรรมลังกาด้วยพร้อมกับผู้คนอีก 19,999 คน และอาวุธต่าง ๆ เช่น [[ปืนใหญ่]]ถึง 1,999 กระบอกกับช้างม้าเป็นอันมาก แสดงให้เห็นว่าทางเมืองยองก็ได้มีกำลังไพร่พลและอาวุธอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย
เส้น 61 ⟶ 58:
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำนานเมืองยองไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้แต่อย่างใด แต่ในทางตรงกันข้าม กลับกล่าวถึงการสู้รบอย่างหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน กองทัพของเชียงใหม่ที่ยกมา ยังประกอบด้วยกองทัพของเจ้าเชียงตุงและเจ้าจอมหง(เจ้าเชื้อสายเชียงตุง) การรบครั้งนี้ทำให้จอมหงแม่ทัพคนสำคัญคนหนึ่งของฝ่ายเชียงใหม่เสียชีวิต แต่เมืองยองก็แพ้ต่อกองทัพเมืองเชียงใหม่ ดังที่ตำนานเมืองยองกล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า '''..แต่นั้นครั้นรบกัน ได้แพ้(ชนะ)เมืองยองแล้ว ก็เอากันไปหาบ้านเมืองแห่งเขาหั้นและ..''' ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองยองไม่ได้ยอมสวามิภักดิ์ตามที่ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวไว้ และในขณะที่เอกสารที่เขียนโดยชาวอังกฤษชื่อ เจ ยอร์จ สกอตต์ (J.George Scott) ได้กล่าวถึงสงครามครั้งนี้ว่า คนเมืองยองได้ตื่นตระหนกตกใจหนีเข้าป่าไปจำนวนหนึ่ง และอีกจำนวนหนึ่งถูกบังคับและกวาดต้อนไป บ้านเมืองถูกทำลายและได้รับความเสียหายจากกองทัพสยาม
 
ในขณะที่กองทัพเชียงใหม่พักไพร่พลอยู่ที่เมืองยองในปี [[พ.ศ. 2348]] นั้น ก็ได้ถือโอกาสยกทัพออกไปปราบปรามและกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับเมืองยอง และดินแดน[[สิบสองพันนา]] ได้แก่ บ้านยู้ เมืองหลวย เมืองกาย เมืองขัน เชียงขาง เมืองวะ เมืองลวง เมืองหน(หุน) เมืองแช่ เมืองราย (ฮาย) เมืองเจื่อง ท่าล้อ [[เมืองพาน]] เมืองม้า เมืองของ เมืองวัง เมืองมาง เมืองขาง เมืองงาด เมืองออ เมืองงิม เมืองเสี้ยว [[เชียงรุ่ง]]
 
ในขณะที่กองทัพเชียงใหม่พักไพร่พลอยู่ที่เมืองยองในปี [[พ.ศ. 2348]] นั้น ก็ได้ถือโอกาสยกทัพออกไปปราบปรามและกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับเมืองยอง และดินแดน[[สิบสองพันนา]] ได้แก่
บ้านยู้ เมืองหลวย เมืองกาย เมืองขัน เชียงขาง เมืองวะ เมืองลวง เมืองหน(หุน) เมืองแช่ เมืองราย (ฮาย) เมืองเจื่อง ท่าล้อ [[เมืองพาน]] เมืองม้า เมืองของ เมืองวัง เมืองมาง เมืองขาง เมืองงาด เมืองออ เมืองงิม เมืองเสี้ยว [[เชียงรุ่ง]]
 
ทำให้อำนาจของเชียงใหม่ขยายกว้างใหญ่ดังที่เป็นมาแล้วในสมัยราชวงศ์มังราย ครั้งนั้น พระเจ้ากาวิละน่าจะได้มอบหมายให้เจ้าเมืองยองและไพร่พลเข้ามาตั้งอยู่ที่เขตเมืองเชียงใหม่ และลำพูน เพราะไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการแบ่งไพร่พลเมืองยองให้กับเมืองต่าง ๆ เพียงแต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าไพร่พลเหล่านั้นของตนไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณใดของเมืองเชียงใหม่หรือลำพูน แต่น่าจะเป็นบริเวณรอบ ๆ ตัวเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนใหญ่ เพราะในปัจจุบันมีชื่อหมู่บ้านและชุมชนกระจายตัวอยู่รอบ ๆ ตัวเมืองเชียงใหม่ เช่น บ้านเมืองวะ บ้านเมืองก๋าย บ้านเมืองเลน บ้านเมืองลวง บ้านวัวลาย บ้านตองกาย บ้านท่าสะต๋อย บ้านเชียงขาง วัดเชียงรุ่ง เป็นต้น จะมีเพียงเจ้าเมืองยองและญาติพี่น้องพร้อมกับไพร่พลเท่านั้นที่ได้รับมอบหมายให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนและมีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองร่วมกับกลุ่มเจ้าเจ็ดตน
เส้น 69 ⟶ 64:
การตั้งถิ่นฐานของชาวยองในเมืองลำพูน ในระหว่างปี พ.ศ. 2325-2347 ก่อนการก่อตั้งเมืองลำพูน พระเจ้ากาวิละยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นเจ้าเมืองลำพูน ด้านการปกครองยังคงมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ จนถึงปี [[พ.ศ. 2348]] [[พระเจ้ากาวิละ]]เห็นความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งและฟื้นฟูเมืองลำพูนอันเป็นนโยบายการเตรียมกำลังคนเพื่อสนับสนุนเชียงใหม่เมื่อมีการสงคราม นอกจากนี้กำลังคนในเมืองลำพูนก็ลดลงไปในครั้งที่พระเจ้ากาวิละพาไปตั้งที่เมืองเชียงใหม่ในปี [[พ.ศ. 2339]] ครั้งหนึ่งแล้ว ยังสูญเสียไปกับความไม่สงบและสงครามหลายครั้ง เมืองลำพูนจึงอยู่ในสภาพที่จะรองรับผู้คนที่มาจากเมืองยองและเมืองต่าง ๆ นอกจากนี้ เมืองลำพูนยังอยู่ติดกับเชียงใหม่ ทำให้สามารถควบคุมดูแลได้ง่าย กับทั้งยังเป็นการปูนบำเหน็จความชอบแก่ญาติพี่น้องที่ได้ช่วยกันทำศึกสงครามมาเป็นเวลานาน และเป็นการขยายตำแหน่งทางการเมืองเพื่อป้องกันการขัดแย้งในการขึ้นดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในหมู่พี่น้องตระกูลเจ้าเจ็ดตนในอนาคตอีกด้วย
 
ดังนั้นเมื่อเดือน 7 (ราวเดือนเมษายน) ขึ้น 5 ค่ำ ตรงกับวันจันทร์ พ.ศ. 2348 พระเจ้ากาวิละได้มอบหมายให้เจ้าฅำฝั้นและบริวารจากเมืองเชียงใหม่และเจ้าบุญมา น้องคนสุดท้องและบริวารจากเมืองลำปาง เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง 4 ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยองนับ 19,999 คน เข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ จนถึงวันพุธขึ้น 8 ค่ำ จึงเข้ามาตั้งเมืองลำพูนได้ พระสงฆ์จำนวน 198 รูป สวดมงคลพระปริตในที่ไชยยะมงคล 9 แห่งในเมืองลำพูน เจ้าเมืองยอง บุตรภรรยา ญาติพี่น้อง ขุนนางและพระสงฆ์ระดับสูงได้ตั้งเข้าอยู่บริเวณเวียงยองทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง ส่วนไพร่พลอื่น ๆ ได้แยกย้ายกันออกไปตั้งในพื้นที่ต่าง ๆ ของ[[ลำพูน]]
 
การที่ชาวยองเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นจำนวนมาก ในระยะแรก กลุ่มเจ้าเจ็ดตนที่ปกครองเมืองลำพูนได้ยินยอมให้เจ้าเมืองยองและญาติพั้น้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งแตกต่างจากเจ้าเมืองอื่น ๆ ที่อพยพมาในคราวเดียวกัน ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2444-2445 ได้มีการสำมะโนประชากรในเมืองลำพูนเป็นครั้งแรกในสมัยของของ[[เจ้าอินทยงยศโชติ]] เจ้าผู้ครองนครลำพูนลำดับที่ 9 พบว่ามีประชากรทั้งหมด 199,934 คน ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองยองและเมืองอื่นที่อยู่ใกล้เคียง
 
ซึ่งสอดคล้องกับที่ ร้อยโท ดับเบิ้ลยู ซี แมคเคลาน์ (W.C. McCloed) ข้าราชการชาวอังกฤษ ได้รายงานไว้ในช่วงระยะเวลาที่เดินทางเข้ามาในเมืองลำพูนในปี [[พ.ศ. 2389]] ฅนยอง หรือ [[ชาวยอง]] จึงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมืองลำพูน ประชากรมากกว่าร้อยละ 89 สืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองยู้ เมืองหลวย ในแถบหัวเมืองทางตอนบน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่าและสิบสองพันนาของจีน องค์ประกอบด้านประชากรจึงแตกต่างไปจากหัวเมืองอื่น ๆ ในล้านนา การผสมผสานและการปรับตัวของฅนยองในเมืองลำพูนจึงไม่ใช่เป็นลักษณะของคนส่วนน้อยในสังคม (Minority Group) ดังเช่นกลุ่มชาว[[ไทยไทเขิน]] [[ไทยไทลื้อ]] [[ลัวะ]] [[กะเหรี่ยง]] [[ยางแดง]] [[ไทใหญ่]]หรือเงี้ยว [[จีน]] หรือ[[ฮ่อ]] ที่อพยพเข้ามาในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ คนยองในเมืองลำพูนจึงยังคงรักษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมบางอย่าง เช่นภาษาไว้ได้ค่อนข้างยาวนานจนถึงปัจจุบัน
 
<br><br>
==ดูเพิ่ม==
{{เขตการปกครองพม่า/รัฐฉาน}}
 
[[หมวดหมู่:รัฐฉาน]]
[[หมวดหมู่:เมืองในประเทศพม่า|ยอง]]