เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aj.nattap (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: <h1 align=center style='text-align:center'><span lang=TH style='font-size:20.0pt; line-height:107%'>การจัดการเรียนรู้</span></h1> <p c...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:09, 5 พฤษภาคม 2564

การจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้เป็นศาสตร์และศิลป์ของผู้สอนที่ต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้แก่ผู้เรียน ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนต้องเรียนรู้และเข้าใจ ส่งผลให้ไปสู่การปฏิบัติอย่างถูกต้องและเกิดสัมฤทธิ์ผล ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าและนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ได้แก่

·         ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้

o   ความหมายของการจัดการเรียนรู้

o   ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้

o   ประเภทของการจัดการเรียนรู้

o   ลักษณะของการจัดการเรียนรู้ที่ดี

o   องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้

·         ทฤษฎีการเรียนรู้

o   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist)

o   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist)

o   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist)

·         การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

o   ความหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

o   หลักการพื้นฐานของแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

o   บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

o   บทบาทของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

o   รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

·         วิธีการจัดการเรียนรู้

·         กระบวนการจัดการเรียนรู้

o   กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats)

o   การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT

o   มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

 

 

1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้         

1.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้

ฮู และ ดันแคน (Hough and Duncan 1970: 144)[1]ฮู และ ดันแคน (Hough and Duncan 1970: 144) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้ว่า หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลได้ใช้ความรู้ของตนเองอย่างสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้ และมีความผาสุก ดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมในแง่มุมต่าง ๆ 4 ด้าน ดังนี้

1) การจัดการหลักสูตร (Curriculum)

2) การจัดการเรียนการสอน (Instruction)

3) การวัดผล (Measuring)

4) การประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation) หลังการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 8)[2]มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 8)ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้ ว่าเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนดไว้

ชัยรัตน์ บุมี (2557)[3] ชัยรัตน์ บุมี (2557) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้นั้นเป็นกระบวนการของการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยอาศัยรูปแบบการเรียนรู้ ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ที่ดีและบรรลุผลตามจุดประสงค์ของการสอน

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ครูกับนักเรียนเกิดกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันโดยอาศัยรูปแบบการเรียนรู้ กิจกรรม รวมทั้งทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

 

1.2 ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 8)[4] มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 8) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ปรียบเสมือนเครื่องมือที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักการเรียน ตั้งใจเรียนและเกิด
การเรียนรู้ขึ้นการเรียนของผู้เรียนจะไปสู่จุดหมายปลายทาง คือ ความสำเร็จในชีวิตหรือไม่เพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการจัดการเรียนรู้ที่ดีของผู้สอน หรือผู้สอนด้วยเช่นกัน หากผู้สอนรู้จักเลือกใช้วิธีการจัการเรียนรู้ที่ดีและเหมาะสมแล้ว ย่อมจะมีผลตีต่อการเรียนของผู้เรียน ดังนี้

1. มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาวิชา หรือกิจกรรมที่เรียนรู้

2. เกิดทักษะหรือมีความชำนาญใน เนื้อหาวิชา หรือกิจกรรมที่เรียนรู้

3. เกิดทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่เรียน

4. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกติใช้ในชีวิตประจำวันได้

5. สามารถนำความรู้ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปอีกได้

อนึ่ง การที่ผู้สอนจะส่งเสริมให้ผู้เรียนความเจริญงอกงามในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างทาย อารมณ์

สังคม และสติปัญญานั้น การส่งเสริมที่ดีที่สุดก็คือการให้การศึกษา ซึ่งจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญในการให้การศึกษาแก่ผู้เรียนเป็นอย่างมาก

 

1.3 ประเภทของการจัดการเรียนรู้

การจัดประเภทของการจัดการเรียนรู้จําแนกได้หลายแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาว่าจะใช้เกณฑ์ใดมาเป็นตัวแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังเช่น บุญชม ศรีสะอาด (2537 อ้างใน ชัยรัตน์ บุมี, 2557)[5] บุญชม ศรีสะอาด (2537 อ้างใน ชัยรัตน์ บุมี, 2557) ได้จําแนกไว้ดังนี้

1. จําแนกโดยใช้จํานวนนักเรียนและปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นเกณฑ์ สามารถจําแนกได้ 3 ประเภท คือ การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย การจัดการเรียนรู้แบบรายบุคคล

1.1 การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ มีนักเรียนจํานวนมาก ดังนั้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
ครูกับนักเรียนเป็นแบบทางเดียว (
One way) ซึ่งการจัดการเรียนแบบกลุ่มใหญ่ครูมีบทบาทในการเรียน
การสอนเกือบทั้งหมด ตัวอย่าง ได้แก่การสอนแบบบรรยาย เป็นต้น

1.2 การสอนแบบกลุ่มย่อย การสอนแบบนี้มุ่งให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนเข้าร่วม กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนมีความใกล้ชิดกับนักเรียนมากขึ้น ตัวอย่าง ได้แก่ การสอนแบบอภิปราย การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมุติ การสอนแบบตัวอย่าง เป็นต้น

1.3 การสอนเป็นรายบุคคล เป็นการจัดการเรียนการสอนที่นักเรียนสามารถเลือก
วิธีเรียนที่เหมาะสมกับความสนใจของตน นักเรียนเรียนไปตามความสามารถของตนและขณะเดียวกัน นักเรียนจะทราบความก้าวหน้าในการเรียนของตนเองอยู่เสมอ โดยหลักการจัดการเรียนรู้ของวิธีนี้ ครูจะมีวิธีการเฉพาะแต่ละบุคคลซึ่งประกอบด้วย วัตถุประสงค์ วิธีการจัดการเรียนรู้ การประเมินผล การเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบนี้ ได้แก่ การสอนแบบสัญญาการเรียนการสอนเฉพาะบุคคล

2. การจําแนกโดยใช้ปริมาณของบทบาทครูกับบทบาทนักเรียนเป็นเกณฑ์ ซึ่งจําแนกได้
4 ประเภท ดังนี้

2.1 การสอนที่ครูเป็นเกณฑ์หรือเป็นศูนย์กลาง เป็นการสอนที่เน้นบทบาทของครู
เป็นหลัก เช่น การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบสาธิต การสอนโดยทั่วไปจะต้องมีบทบาทของ นักเรียนและครู ในการสอนแบบบรรยาย ขณะที่ครูบรรยายนักเรียนจะมีบทบาทในการฟัง ติดตาม ตีความหมาย จดจําเนื้อหาสาระ จดบันทึก นักเรียนอาจจะทําบทบาทเหล่านี้ตลอดเวลาเช่นเดียวกับการบรรยายของครู การที่จะจัดว่าครูเป็นแกนหรือเป็นศูนย์กลาง พิจารณาได้จากกิจกรรมของครูว่า สามารถทําให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าครูไม่บรรยาย ไม่สาธิตให้ดู ก็ไม่เกิดการเรียนรู้ ในเรื่องนั้น ๆ และบทบาทของนักเรียนจะเป็นแบบเฉื่อยชา (
Passive)

2.2 การสอนที่นักเรียนเป็นแกนหรือเป็นศูนย์กลางการสอนแบบนี้เน้นบทบาท
การทํากิจกรรมของนักเรียนให้นักเรียนเป็นผู้ลงมือกระทําด้วยตนเองให้มากที่สุดเพื่อประสบการณ์ตรง
ของนักเรียน ตัวอย่างได้แก่ วิธีการสอนแบบปฏิบัติการ วิธีการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมุติ วิธีการสอนแบบเป็นคู่ วิธีการสอนแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการสอนเหล่านี้นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการกระทํากิจกรรมของนักเรียนเป็นสําคัญ

2.3 การสอนที่เน้นนักเรียนและครูมีกิจกรรมร่วมกัน การสอนแบบนี้ ได้แก่ การสอน แบบสัมมนา การสอนแบบอภิปราย

2.4 การสอนที่ใช้อุปกรณ์พิเศษ เป็นการสอนที่บทบาทของการสอนเกือบทั้งหมดอยู่ที่
สื่ออุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ที่ใช้ เป็นไปตามบทเรียนที่ครูสร้างไว้แล้วในการสอนของครู ครูควรพิจารณาเลือกประเภทของการสอนมาใช้ โดยพิจารณาถึง ความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของเนื้อหาสาระที่สอน
และสภาพความแตกต่างของนักเรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมนักเรียนให้เกิดศักยภาพการเรียนรู้ที่แท้จริง
ตามศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน

 

1.4 ลักษณะของการจัดการเรียนรู้ที่ดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 12-13)[6]มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 12-13) ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน มีจุดประสงค์ในการจัดการเรียนรู้และ
การจัดการเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จได้ดี ผู้สอนต้องมีทั้งความรู้และเทคนิคการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ดี ดังนี้

1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ โดยการชักถามหรือให้แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับปัญหา

ง่าย ๆ สำหรับผู้เรียนในระดับต่าง ๆ เพื่อจะได้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล คิดเปรียบเทียบ และคิดพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงให้มากที่สุดด้วยการเรียนโดยการกระทำด้วยตนเอง (Learning by Doing)

3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม (Group Working) โดยมีการปรึกษาหารือกันในกลุ่ม แบ่งงานกันทำด้วยความร่วมมือกันและประเมินผลรวมกัน

4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเองตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์

5. มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้นั้นเกิดความ ยืดหยุ่น น่าสนใจ และไม่น่าเบื่อ

6. มีการเตรียมกรจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า เพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าจะสอนอย่างไรบ้าง ตามลำดับขั้นและยังช่วยให้ผู้สอนพร้อมที่จะสอนด้วยความมั่นใจ

7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม และคิดหาเหตุผลความเป็นมาของสิ่งที่เรียน และมีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

8. มีการประเมินผลอยู่ตลอดเวลา เน้นการประเมินตามสภาพจริง ประเมินตามความรู้ ความสามารถของผู้เรียนอย่างแท้จริง เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดการเรียนรู้ได้ผลตรงตามจุดประสงค์ที่วางไว้ หรือไม่ เพียงใด

9. มีสื่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสนใจและเข้าใจบทเรียน เช่น ของจริงรูปภาพ หุ่นจำลอง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิดีทัศน์ ฐานข้อมูลการเรียนรู้ เว็บไซต์ และโสตทัศนูปกรณ์อื่นๆ

10. การจูงใจในระหว่างการจัดการเรียนรู้ เช่น การให้รางวัล การชมเชย การให้คำแนะนำ การให้คะแนน การสอบ การแข่งขัน การปรบมือให้เกียรติ ฯลฯ

11. มีกิจกรรมให้ผู้เรียนทำหลายอย่างเพื่อเราความสนใจของผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนสนุกสนานใน
การเรียน

12. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในทุกด้านทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

13. ส่งเสริมความสัมพันธ์หรือการบูรณาการระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตร เช่น
สอนภาษไทยก็สอนให้สัมพันธ์กับสังคมศึกษา ศิลปศึกษา ดนตรี และนาฏศิลป์

14. มีการสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะแก่การเรียนรู้ตามบทเรียนที่สอน ทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อมและอารมณ์ของผู้เรียน

15. สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center) ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของสอนจะเป็นเพียงผู้คอยให้ความช่วยเหลือแนะนำ

16. สอนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้มากที่สุด

17. สอนตามกฎแห่งการเรียนรู้โดยจัดบทเรียนให้เหมาะสมกับวัย ความสามารถและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน

18. สอนโดยส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย โดยสามารถแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ
และฝึกให้ผู้เรียนรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการวางแผนงานร่วมกับผู้สอน

 

1.5 องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้

กรัณย์พล วิวรรธมงคล (2553) และ ชัยรัตน์ บุมี (2557) [7]กรัณย์พล วิวรรธมงคล (2553) และ ชัยรัตน์ บุมี (2557) กล่าวถึง องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนประกอบด้วย

1. มาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ครูสอนได้ตามสิ่งที่หลักสูตรกําหนดไว้

2. สาระการเรียนรู้ที่เป็นไปตามหลักสูตร

3. นักเรียนโดยพิจารณาพื้นความรู้เพิ่มและรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียน 

4. กิจกรรมการเรียนเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ประสบการณ์สู่นักเรียน 

5. สื่อการสอนเป็นสิ่งที่ ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เข้าใจได้เร็วขึ้น 

6. การวัดผลและประเมินผลเพื่อหาข้อดีข้อด้อย ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน 

7. เวลา เพื่อกําหนดรูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม 

8. บรรยากาศและสถานที่ เป็นแหล่งที่ช่วยให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนและเสริมสร้าง ระเบียบวินัยแก่นักเรียน 

9. จํานวนนักเรียนเพื่อประโยชน์ในการกําหนดรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสม

10. ครูเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 12-13), ศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 25-26) และวิทยา พัฒนเมธาดา (2560: ออนไลน์) [8] มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 12-13), ศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 25-26) และวิทยา พัฒนเมธาดา (2560: ออนไลน์) กล่าวว่า ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็นตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม นำสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว ควรมีการดัดแปลงและ เลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังนั้น ในการสอนแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิชาใดก็ตาม ควรจะมีองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 3 ประการ ดังนี้

1. ผู้เรียน ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เกี่ยวกับความสามารถทางสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ความต้องการพื้นฐานเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึง และจะละเลยไม่ได้

2. บรยากาศทางจิตวิทยา บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ผู้สอนเป็นส่วนที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่จะกำหนดบรยากาศในชั้นเรียนให้เป็นไปในรูปแบบที่ต้องการ ความเป็นประชาธิปไตย
ความเคร่งเครียด ความชื่นบานของผู้เรียน สิ่งเหล่นี้จะเกิดขึ้นได้โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนด แต่ถึงกระนั้นก็ตามบรรยากาศในชั้นเรียนยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกนอกเหนือไปจากตัวผู้สอน คือ ผู้เรียน เข้าชั้นเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า หรืออาหารกลางวัน ผู้เรียนเริ่มเรียนชั่วโมงแรกด้วยความรู้สึกหิวหรือบางครั้งผู้เรียนได้รับสิ่งกระทบกระเทือนใจติดตามมาเนื่องจากความไม่ปรองดองในครอบครัว เป็นต้น ส่วนทางด้านตัวผู้สอนนั้นอาจจะมีความกดดันจากฝ่ายบริหารหรือจากครอบครัว เศรษฐกิจ อาหารเช้าก่อนมาสถานศึกษาของผู้สอนมีเพียงน้ำแก้วเดียวเท่านั้น สิ่งที่นำมาก่อนเหล่านี้เกิดขึ้น ก่อนที่ผู้สอนและผู้เรียนจะมาพบกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะบ่งชี้ได้ว่าบรรยากาศทางจิตวิทยาชั้นเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้จะปรากฏออกมาในรูปแบบใดฃ

3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเงื่อนไขหรือสถานการณ์ว่าผู้เรียนจะประสบความสำเร็จหรือความลัมเหลวต่อกรเรียนรู้ ผู้สอนควรจะคิดถึงผู้เรียนในฐานะเป็นบุคคลหนึ่ง ผู้เรียนมีสิทธิที่จะได้รับความต้องการพื้นฐาน และผู้สอนจะต้องหากลวิธีที่จะตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และผู้สอนควรจะฝึกให้มีความรู้สึกไวต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนเพื่อความสำเร็จแห่งการเรียนรู้ และ
การเจริญเติบโตเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ต่อไป

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบอยู่ 10 ประการ ได้แก่ 1) มาตรฐานการเรียนรู้ 2) สาระการเรียนรู้ 3) นักเรียน 4) กิจกรรมการเรียนรู้ 5) สื่อการเรียนรู้ 6) การวัดผลและประเมินผล 7) เวลา
8) บรรยากาศและสถานที่ 9) จํานวนนักเรียน และ 10) ครู ทั้งนี้จะต้องมีดำเนินอย่างเป็นกระบวนการ
ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นั้น ประกอบด้วย 3 ประการ ได้แก่ 1) ผู้เรียน 2) บรยากาศทางจิตวิทยา และ 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจจะทำให้ไม่มีประสิทธิภาพ
ในการจัดการเรียนรู้


 

2. ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถ เรียนได้จาก
การได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียน
ในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอน
นำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้ เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้าง เงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน นักจิตวิทยาในปัจจุบันทั้งอดีตและปัจจุบันได้นำเรื่องการเรียนรู้มาทำการศึกษากันอย่างกว้างขวาง จากมุมมองของนักจิตวิทยาในเรื่องการเรียนรู้แต่ง ต่างกัน จึงทำให้ทฤษฎีการเรียนรู้ขึ้นมาหลายทฤษฎี ซึ่งในแต่ละทฤษฎีจะมีแนวคิดและกระบวนการเรียนรู้แตกต่างกันไป (ศุภลักษณ์ ทองจีน, 2558: 8)
[9](ศุภลักษณ์ ทองจีน, 2558: 8) ทั้งนี้ผู้เขียนขอนำเสนอทฤษฎีการเรียนรู้ 3 กลุ่ม คือ 1) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม 2) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม และ 3) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม

2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist)

2.1.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory of Learning) 

ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 209)[10]ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 209) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไแบบคลาสสิก
เป็นแนวคิดของพาฟลอฟ (
Ivan Pavlop) นักสรีระวิทยชาวรัสเซียที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมที่เกิดจากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกได้มักเป็นพฤติกรรม หรือการตอบสนองที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนอันมีพื้นฐานมาจกการทำงนของระบบประสาทอัตในมัติ เช่น การเห็นมะม่วงแล้วเกิดมีการหลั่งของน้ำลาย หรือมีน้ำลายสอ การทำงานของต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย การทำงานของระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามรรรมชาติเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนองหรือพฤติกรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ พาฟลอฟเชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากกรวางเงื่อนไข (Conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองชนนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระติ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข (เพราะโดยปกติเสียงกระดิ่งไม่มีผลทำให้สุนัขลายไหล แต่คนต้องการให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง) พาฟลอฟเรียกว่า
สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (
Conditioned Stimulus) และปฏิกิริยาน้ำลายไหลเป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนอง
ที่มีเงื่อนไข (Conditioned Response)

 

ทั้งนี้ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้
เป็นอย่างดี ดังที่ ชาติชาย ม่วงปฐม (2557
: 30)[11] ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 30) กล่าวไว้ว่า ผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กับสิ่งผู้เรียนชอบ สนใจเขาสามารถจะสมารถเรียนรู้ได้ดี เช่น ผู้เรียนไม่ชอบคณิตศาสตร์ แต่ชอบเกม
ชอบคอมพิวเตอร์ เมื่อเรานำคณิตศาสตร์ไปสอนโดยเกม โดยคอมพิวเตอร์จะทำให้ผู้เรียนสนใจคณิตศาสตร์ และเรียนรู้ได้ดีขึ้น ซึ่งสรุปการนำไปใช้ได้ดังนี้

1. การนำความต้องการทางรรมชาติของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้าช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

2. การจัดการเรียนการสอนโดยนำเสนอบทเรียนต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงสิ่งที่ผู้เรียนชอบและสนใจ
เช่น การเล่นเกม การแข่งขัน คอมพิวเตอร์ การศึกษานอกสถานที่ จะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจและเกิดการเรียนรู้ได้ดี

3. การจัดการเรียนการสอนโดยจัดวางบทเรียนหรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกันอย่างต่อเนื่องกัน จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมีการถ่ายโยงประสบการณ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน

4. การเสนอสิ่งเร้าที่ชัดเจนสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และตอบสนองได้ดี

2.1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning)

ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 34) กล่าวว่า สกินเนอร์ (Skinner)[12]ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 34) กล่าวว่า สกินเนอร์ (Skinner) เป็นผู้ทดลองและอธิบายทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) โดยนำหนูที่หิวใส่กรงทดลอง เมื่อหนูกดกระดานจะมีอาหารหล่นออกมาเม็ดหนึ่ง ถ้ากดอีกก็จะหล่นมาอีกครั้งครั้งละเม็ด เม็ดอหารซึ่งกลายเป็นตัวแรงเสริมกำลัง (Reinforcer) สกินเนอร์ให้ความเห็นว่าพฤติกรรมของคนนั้น จะมี 2 แบบคือ พฤติกรรมซึ่งเกิดเนื่องจากถูกสิ่งเร้าดึงออกมา (Response Behavior) เช่น การตอบสนองของสุนัขในการทดลองของฟาฟลอฟ และพฤติกรรมที่อินทรีย์ส่งออกมาเอง (Operant Behavior) เป็นอาการกระทำของอินทรีย์ต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การพูด
การกิน การทำงาน เป็นตัน โดยสรุปการเรียนรู้ตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำไว้ ดังนี้ฃ

1) การกระทำใดๆ เมื่อได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงจะมีแนวโน้มลดลง และหายไปในที่สุด

2) การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยน ไม่ซ้ำเดิมตลอดเวลาทำให้การตอบสนอง คงทนกว่าการเสริมแรงแบบตายตัว

3) การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว

4) เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรมที่ต้องการแล้วได้รับแรงเสริมหรือรางวัลทำให้สามารถปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้

แนวคิดสำคัญตามทฤษฎีของสกินเนอร์คือการเสริมแรง เมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำกิจกรรม
ต่าง ๆ การเสริมแรงจะก่อให้เกิดพลัง แรงจูงใจในการแสดงพฤติกรรม แนวคิดนี้ได้นำมาฝึกสัตว์ต่าง ๆ เช่น
การฝึกสุนัข ฝึกปลาโลมา ฝึกม้า เป็นต้น และนำมาใช้พัฒนาการเรียนรู้ของคนเราได้อย่างดี เมื่อได้รับแรงสริมจากผลการแสดงพฤติกรรม คนเราจะเกิดแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้อีก การนำทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ดังที่ ชาติชาย ม่วงปฐม (2557
: 34) [13]ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 34) กล่าวไว้ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. การจัดการเรียนการสอนควรให้การเสริมแรงหลักการตอบสนองที่เหมาะสมของผู้เรียนจะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองที่เหมาะสมนั้น ๆ

2. การเปลี่ยนรูปการเสริมแรง หรือการเสริมแรงที่เว้นระยะอย่างไม่เป็นระบบจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวรขึ้น

3. การเสริมแรงมี 2 ชนิด คือ ตัวเสริมแรงทางบวก เช่น คำชมเชย อาหาร การยอมรับ และ
ตัวเสริมแรงทางลบ เช่น คำตำหนิ กรลงโทษ ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน เชื่อว่าตัวเสริมแรงทางบวกได้ผลดีกว่าการเสริมแรงทางลบ จึงควรงดใช้วิธีการเสริมแรงทางลบที่รุนแรง

รวมถึง ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 211)[14] ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 211) ได้กล่าวถึง การนำทฤษฎีการวางเงื่อนไขมาประยุกต์
ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

1. มีการดูแลอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและสร้างนิสัยที่ดีให้แก่เด็กเพื่อการสร้างคุณภาพแห่งชีวิต

2. ต้องลบนิสัยที่ไม่ดีออกจากตัวเด็กโดยวิธีการปรับพฤติกรรม (Shaping Behavior)

3. มีการอบรมสั่งสอนและปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานให้แก่เด็ก

4. ต้องให้คำยกย่องชมเชย หรือให้รางวัลแก่เด็กที่กระทำความดี

5. จัดให้มีการประกวดเด็กดีเด่นในด้านต่าง ๆ และให้รางวัลตามความ

6. ประยุกต์ใช้ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป

2.1.3 ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง

ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 211-212) และ ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 30-31)[15]ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 211-212) และ ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 30-31) กล่าวว่า ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของ ธอร์นไดค์ (Thom dike) ลักษณะสำคัญของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่องโยงของธอร์นไดด์ มีดังนี้

1. ลักษณะการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error)

2. กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ได้คิดกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ 3 กฎด้วยกัน คือ กฎแห่ง
ความพร้อม (
Law of Readiness) กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) และกฎแห่งผล (Law of Effect)
ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1) กฎแห่งความพร้อม กฎนี้มีความสำคัญสรุปได้ว่าเมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วได้ทำเขาย่อมเกิดความพอใจ แต่ถ้าบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วไม่ได้ทำเขาย่อมเกิดความไม่พึงพอใจในขณะเดียวกันเมื่อบุคคลไม่พร้อมที่จะทำแต่เขาต้องทำเขาย่อมเกิดความไม่พอใจ

2) กฎแห่งการฝึกหัด แบ่งเป็น 2 กฎย่อย คือ

2.1) กฎแห่งการได้ใช้ (Law of Use) หมายถึง พันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะเข้มแข็งขึ้นเมื่อได้ลงมือทำบ่อย ๆ

2.2) กฎแห่งการไม่ได้ใช้ (Law of Disuse) หมายถึง พันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะอ่อนกำลังลเมื่อไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง มีการขาดตอนหรือไม่ได้ทำบ่อย ๆ

3) กฎแห่งผล กฎนี้นับว่าเป็นกฎที่สำคัญและได้รับความสนใจจาก ธอนไดค์มาที่สุด
กฎนี้หมายความว่าพันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง จะเข้มแข็งหรืออ่อนกำลังย่อมขึ้นอยู่กับผลต่อเนื่องหลังจากที่ได้ตอบสนองไปแล้วรางวัลจะมีผลพันระส่งเร้าและการตอบสนองเข้มแข็งขึ้น ส่วนการทำโทษนั้นจะไม่มีผลใด ๆ ต่อความเข้มแข็งหรือการอ่อนกำลังของพันธะระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง

3. การถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of Learning) จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อการเรียนรู้หรือกิจกรรมในสถานการณ์หนึ่ง ส่งผลต่อการเรียนรู้หรือกิจกรรมในอีกสถานการณ์หนึ่ง การส่งผลนั้นอาจจะอยู่ในรูปของ
การสนับสนุนหรือส่งเสริมให้สามารถเรียนได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการถ่ายโอนทางบวก หรืออาจเป็นการขัดขวางทำให้เรียนรู้หรือประกอบกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งได้ยากหรือช้าลง เป็นการถ่ายโอนทางลบก็ได้ การถ่ายโอนการเรียนรู้นับว่าเป็นพื้นฐานของการเรียนการสอน

ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 212)[16]ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 212) ได้กล่าวถึง การนำหลักการทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของ
ธอร์นไดค์ ไปใช้ในการเรียนการสอนนั้น ธอร์นไดค์เน้นอยู่เสมอว่าการสอนในชั้นเรียนต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย
ให้ชัดเจน การตั้งจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนก็หมายถึง การตั้งจุดมุ่งหมายที่สังเกตการตอบสนองได้ และครูจะต้องจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วย ๆ ให้เขาเรียนทีละหน่วย เพื่อที่ผู้เรียนจะได้เกิดความรู้สึกพอใจในผลที่เขาเรียน
ในแต่ละหน่วยนั้น ธอร์นไดค์ย้ำว่าการสอนแต่ละหน่วย ก็ต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากเสมอ การสร้างแรงจูงใจนับว่าสำคัญมากเพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความพอใจเมื่อได้รับสิ่งที่ต้องการหรือรางวัล รางวัลจึงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรมของผู้เรียน นั่นก็คือในขั้นแรกครูจึงต้องสร้างแรงจูงใจภายนอกให้กับผู้เรียน ครูจะต้องรู้ผลการกระทำหรือผลการเรียน เพราะการรู้ผลจะทำให้ผู้รียนทราบว่าการกระทำนั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี พอใจหรือไม่พอใจ ถ้าการกระทำนั้นผิดหรือไม่เป็นที่พอใจเขาก็จะได้รับการแก้ไข ปรับปรุงให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้รับสิ่งที่เขาพอใจต่อไป


 

2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist)

2.2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลต์

ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 35-36) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 12-13)[17]ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 35-36) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 12-13) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเกสตัลต์ (Gestalt Theory) มีนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงคือ เวอร์ไรเมอร์ (Wertheimer) เลวิน (Lewn)
โคเลอร์ (Kohler) และคอฟกา (Koffka) ได้เสนอแนวคิด หลักว่าการเรียนรู้ที่ดีย่อมเกิดจกการจัดสิ่งเราต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการรับรู้ (Perception) ในส่วนรวมก่อน แล้วจึงแยกวิเคราะห์เพื่อการเรียนรู้ส่วนย่อยที่ละส่วน โดยส่วนรวมไม่ใช่เป็นเพียงผลรวมของส่วนย่อยแต่ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มีมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย (The Whole is more than the sum of the part) และการเรียนรู้ของคนจะเป็นแบบการหยั่งเห็น (Insight) คือการค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในการแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันทีอันเนื่องมาจากผลการรับรู้ในภาพรวม และใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาเพื่อหาคำตอบ การเรียนรู้จึงเป็นการแก้ปัญหาชนิดหนึ่ง ความสามารถในการแก้ปัญหานี้ขึ้นอยู่กับความสามารถหยั่งเห็น (Insight) ของบุคคล ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1) การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิด ที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์

2) บุคคลจะเรียนรู้จกสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

3) บุคคลมีความสามารถในการรับรู้ต่างกัน การรับรู้นี้อาจเกิดการรับรู้ ตามสภาพความเป็นจริงหสภาพของสิ่งเร้าต่าง ๆ ก็ได้ แต่การรับรู้นั้น ๆ จะต้องมีความสัมพันธ์กัน การรับรู้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งจะไม่ทำให้เข้าใจในอีกส่วนหนึ่งได้ โดยเฉพาะการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความข้าใจทั้งหมดนั้น จะต้องรับรู้เป็นส่วนรวมทั้งหมดเสียก่อน แล้วจึงมาพิจารณาส่วนย่อยเป็นส่วน ๆ การรับรู้ในลักษณะเช่นนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง

4) ประสบการณ์เดิมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ของบุคคลต่อสิ่งเร้าเดียวกันอาจแตกต่างกันได้ เพราะการใช้ประสบการณ์เดิมมารับรู้สิ่งเร้าส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน เรียกว่ากฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pregnant)

5) สิ่งเราใดที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน เรียกว่า
กฎแห่ความคล้ายคลึง (
Law of Similarity)

6) สิ่งเราใดที่มีความใกล้เคียงกันบุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกันเรียกว่ากฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity)

7. สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้แม้จะยังไสมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ ถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับสิ่งเร้านั้น เรียกว่ากฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure)

8) สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกัน หรือมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกันเรียกว่ากฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Contiguity)

9) บุคคลรับรู้สิ่งเร้าในภาพรวมแล้วจะมีความคงที่ในการรับรู้สิ่งนั้นในลักษณะเป็นภาพรวม
แม้สิ่งเร้านั้นจะได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อรับรู้ในแง่มุมอื่น

10) การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาดบิดเบือนจากความเป็นจริงได้เนื่องมาจากลักษณะของการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดภาพลวงตา

ซึ่งการนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลต์ ไปใช้ในการเรียนการสอนนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้ ในการนำทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเกสตัลต์ไปประยุกต์ใช้ สรุปได้ดังนี้

1) การจัดการเรียนการสอนให้นำเสนอส่วนรวมให้ผู้เรียนเห็นรับรู้และทำความเข้าใจก่อนเสนอส่วนย่อยจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี

2) การจัดเนื้อหาทเรียนควรจัดให้มีความต่อเนื่องกัน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว

3) จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริเริ่มได้มากขึ้น และเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นมากยิ่งขึ้น

2.2.2 ทฤษฎีสนามของเลวิน

ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 37) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 14) [18]ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 37) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 14) กล่าวว่า ทฤษฎีสนามของเลวิน (Lewin) นำแนวคิดของเกสตัลต์พัฒนาเป็นทฤษฎีสนาม (Field Theory) โดยอธิบายว่าแต่ละบุคคลมีสนามชีวิตซึ่งเป็นโลกของชีวิต สถานการณ์ที่เกิดขึ้นประกอบด้วยตัวบุคคล (Person) และสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา (Psychological Environment) โดยมีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมทาสัดมอยู่รอบตัว บุคคลจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อสภาพแวดล้อมมีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการ หมาะสมกับความสามารถ และความสนใจ การที่บุคคลมีสนามชีวิตที่จดจ่อกับบทเรียนโดยมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมย่อมเกิดการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งสามารถสรุปการเรียนรู้ของทฤษฎีสนามของเลวิน ได้ดังนี้

1. พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งที่สนใจและเป็นความต้องการจะเป็นพลังทางบวก
สิ่งที่อยู่ภายนอกความสนใจและความต้องการจะเป็นพลังทางลบ ในชีวิตคนเราขณะใดขณะหนึ่งจะมีอวกาศชีวิต (
Life Space) โดยอวกาศชีวิตจะประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทย
การที่ผู้เรียนอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และทางจิตวิทยาที่เหมาะสมจะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

2. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ

3. บุคคลจะเกิดการเรียนรู้เมื่อมีสมาธิจดจ่อกับบทเรียน สิ่งที่เรียนรู้

ซึ่งการนำทฤษฎีสนามของเลวิน ไปประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้นั้น สามารถดำเนินการได้ ดังนี้

1. ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จำเป็นต้องทำความเข้าใจ "อวกาศชีวิต" ของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความสนใจ มีความต้องการ ซึ่งเป็นพลังทางบวกอะไรบ้าง มีอะไรเป็นพลังหาลบของผู้เรียน ทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนและสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางจิตวิทยที่เหมาะสมกับผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี

2. การสร้างแรงจูงใจ การเร้าความสนใจให้ผู้เรียนมีสมาธิจดจ่อกับการเรียน กับบทเรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้

2.2.3 ทฤษฎีปัญญาของเพียเจต์

ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 39) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 15) [19]ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 39) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 15) กล่าวว่า ทฤษฎีปัญญาของเพียเจต์ อธิบายการเรียนรู้ของคนว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นโดย การกระทำตามแนวคิดของ ดิวอี้และค้นพบว่า ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการด้านสติปัญญาและ ความคิดนั้น คือ การที่บุคคลได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมาแต่แรกเกิด และผลจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้ ทำให้เด็กรู้จัก "ตน" ซึ่งแต่เดิมที่เด็กไม่สามารถแยก "ตน" ออกจากสิ่งแวดล้อมได้ระดับสติปัญญาและความคิดของเด็กพัฒนาจากการปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสิ่งแวดล้อม การปฏิสัมพันธ์นี้ หมายถึง กระบวนการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก และการจัดแจงรวบรวมภายใน (Inward Mental Organization) ป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (Adaptation) เพื่อให้สมดุลกับสิ่งแวดล้อม การปฏิสัมพันธ์ และการปรับปรุงนี้ประกอบด้วย กระบวนการสำคัญ 2 กระบวนการ ได้แก่

1. การกลมกลืนหรือการดูดซึมสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ตน (Assimilation) หมายถึง กระบวนการที่อินทรีย์ได้ดูดซึมภาพต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง และขึ้นอยู่กับความสามารถของอินทรีย์จะรับรู้ได้มากน้อยเพียงไร

2. การปรับความแตกต่างเพื่อให้เข้ากับความเข้าใจ ระหว่างความรู้เดิม และประสบการณ์ใหม่จากสิ่งแวดล้อม (Accommodation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความสามารถสูงกว่า กระบวนการดูดซึม เกิดจากบุคคลได้รับสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากสิ่งที่เคยประสบ จะมีวิธีการรวบรวมจัดแจงสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และความคิดให้ตรงกับสภาพที่เป็นจริงของสิ่งแวดล้อม เช่น เมื่อถามเด็กอายุ 5-6 ขวบ มีเข้าใจความแตกต่างระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยสามารถบอกได้เฉพาะสิ่งที่ปรากฎภายนอกได้ เช่น ผู้ชายผมสั้น ผู้หญิงผมยาว ผู้ชายสวมกางเกง ผู้หญิงสวกระโปรง เป็นต้น แต่ถ้าหากเรานำตุ๊กตาที่มีผมยาว และนุ่งกางเกง แล้วถามเด็ก ว่าเป็นเพศใด เด็กก็จะบอกได้ว่าเป็นตุ๊กตาผู้หญิง นี่แสดงว่าเด็กสามารถปรับความแตกต่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ และนอกจากนี้แล้ว เด็กคนนั้นก็ยังมีความคิดอีกว่า เด็กผู้หญิงสามารถ
นุ่งกางเกงได้ ซึ่งเป็นกระบวนการปรับสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นความรู้ใหม่ โดยการเปลี่ยนความเข้าใจเดิมนั่นเอง

ซึ่งการนำทฤษฎีปัญญาของเพียเจต์ ไปประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้ สามารถดำเนินการ ดังนี้

1. การจัดการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมาก ๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่โครงสร้างทางสติปัญญา

2. การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น ควรจัดประสบการณ์ที่เป็นความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับความเดิม

3. การส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียนควรให้ผู้เรียนเกิดความขัดแย้งทางปัญญา เกิดความสงสัย ต้องการศึกษา ค้นคว้า ทดลองเพื่อหาคำตอบ

 

2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist)

2.3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิด โรเจอร์ส (Rogers)

ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 42-43) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 17-18)[20]ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 42-43) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 17-18) ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิด โรเจอร์ส (Rogers) เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎี ให้ความสำคัญของลักษณะตัวบุคคลมากกว่าสิ่งแวดล้อม
โรเจอร์ส มีแนวคิดในเรื่องบูรณาการและศักยภาพของคน ถ้าศักยภาพของคนได้รับการบูรณาการหรือพัฒนาสมบูรณ์อย่างเต็มที่แล้ว คนก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างสมบูรณ์ โรเจอร์สเสนอว่าผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ช่วยให้การงอกงามและพัฒนาการเป็นไปได้ง่ายขึ้น นั้นเปรียบเสมือนกับผู้สอนเป็นผู้ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นง่ายโดยใช้วิธีการทางอ้อม (
Nondirective) หรือผู้รับบริการเป็นจุดศูนย์กลาง (Client Centered) โดยมีหลักการ ดังนี้

1. มนุษย์มีศักยภาพตามธรรมชาติสำหรับเรียนรู้

2. การเรียนรู้ที่สำคัญจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนเห็นว่าสิ่งที่เรียนมีความสัมพันธ์ กับวัตถุประสงค์สำหรับการเรียนการสอน

3. การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบตัวเองเมื่อมโนภาพ ของตัวเองดูน่ากลัวผู้เรียนจะต่อต้าน

4. ถ้าใช้การขู่บังคับภายนอกให้น้อยที่สุดการเรียนรู้จะเป็นไปด้วยดีผู้เรียนจะยอมรับ และดูดซึมเข้าไปได้ง่าย

5. ถ้าความน่ากลัวของผู้เรียนต่ำ ผู้เรียนจะรับประสบการณ์ด้วยวิธีต่าง ๆ และการเรียนรู้ก็ดำเนินไปได้

6. การเรียนรู้ที่สำคัญส่วนมากได้มาจากการลงมือทำ

7. การเรียนรู้จะง่ายขึ้น ถ้าผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบในกระบวนการเรียน

8. การเรียนรู้ด้วยตนเองของบุคคล เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความคงทน ถาวร ทั้งด้านความรู้สึกและสติปัญญา

9. การพึ่งตนเอง ความคิดริเริ่ม ความเชื่อตนเอง จะได้รับการพัฒนาง่าย ขึ้นเมื่อเน้นการวิจารณ์ตนเอง และการประเมินตนเองเป็นสำคัญ และการประเมินโดยคนอื่นถือ เป็นรอง

10. การเรียนรู้ที่มีประโยชน์ทางสังคมมากที่สุดในโลกปัจจุบัน คือ การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การเปิดรับประสบการณ์อยู่เสมอ การเรียนรู้ด้วยเอง

ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 43) [21]ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 43) กล่าวว่าการนำทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดโรเจอร์ส (Rogers)
ไปประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้ สามารถดำเนินการ ดังนี้

1. การจัดสภาพการเรียนการสอนที่มีบรรยากาศที่อบอุ่น ปลอดภัย น่าไว้วางใจ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

2. ผู้เรียนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะเรียนรู้อยู่ในตน ผู้สอนเป็นผู้อำนวย ความสะดวก ชี้แนะ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

3. การจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเป็นสำคัญ

4. การจัดการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้รับผิดชอบในการทำงานในการสร้างงานด้วยตนเอง รวมทั้งให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประเมินผลงานของตนเอง ประเมินการเรียนรู้ด้วยเอง

2.3.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดนีล

ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 44) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 19) นีล (Neil) [22]ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 44) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 19) นีล (Neil) ให้ความสำคัญว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ไปด้วยความรัก
มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์พัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม การเรียนการสอนตามแนวคิดของนีล เน้นให้การสร้างบรรยากาศแห่งความรักและความอบอุ่น เน้นอิสรภาพเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ และทัศนะต่าง ๆ ด้วยตนเอง แนวคิดของกลุ่มมนุษยนิยม อธิบายเกี่ยวกับการเรียนการสอน พอสรุปได้ดังนี้

1. การเรียนที่ดีจะเกิดขึ้นในบรรยากาศที่อบอุ่น เป็นกันเอง มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนตั้งอยู่บนรากฐานของการยอมรับซึ่งกันและกัน

2. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันก าหนดจุดมุ่งหมายและกิจกรรมการเรียนการสอน

3. ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนการสอน ผู้สอนเป็นเพียงผู้สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการเรียนการสอนที่ดี บทบาทของผู้สอนเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำ

4. วิธีการเรียนรู้มีหลายรูปหลายแบบและหลายกิจกรรม แต่ละคนก็เลือกเรียนตามความสนใจ ผู้สอนไม่ควรกำหนดกิจกรรมไว้อย่างแน่นอน เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นของตนเองได้อย่างเสรี และตามระดับพัฒนาการของตน

5. สมรรถภาพของแต่ละบุคคล ตลอดจนการแสดงออกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เรียนมีความแตกต่างกัน การจัดการเรียนการสอนต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล

6. สนับสนุนให้มีการประเมินผลด้วยตนเองเพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

7. กระบวนการเรียนการสอนยึดประสบการณ์เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

          สรุป การจัดการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ผู้สอนควรศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อเกิดความเข้าใจในลักษณะธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อเลือกใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาของตนเอง เพราะว่าทฤษฎีการเรียนรู้มีข้อดี ข้อเสีย เฉพาะตัว ผู้สอนจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอมในการนำทฤษฎีมาใช้

 

3. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือผู้เรียนมีบทบาทที่สำคัญในการเรียนรู้ จะต้องมีแนวคิดพื้นฐานและหลักการในการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้ยังต้องอาศัยครูผู้สอนในการกำหนดแนวทางและคอยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับตนเอง โดยในบทนี้ผู้เขียนขอนำเสนอ ความหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักการพื้นฐานของแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข้อควรคำนึงของครูในการสอน บทบาทของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระวิวรรณ  ศรีคร้ามครัน (2553)[23] ระวิวรรณ  ศรีคร้ามครัน (2553)ได้กล่าวว่า การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือที่รู้จักในชื่อเดิมว่า การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student centered หรือ Child Centered) เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการคิดค้น แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมรวมทั้งกำหนดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บูรณาการกับความรู้และเนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ซึ่งการกำหนดสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมดังกล่าวจะกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นการเพิ่มพูนทักษะในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน เช่น ทักษะในด้านการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้ การปรึกษาหารือและการร่วมตัดสินใจ  ซึ่งสอดคล้องกับ ชนาธิป พรกุล (2555) [24]ชนาธิป พรกุล (2555) ที่กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง ผู้เรียนเป็นคนสําคัญที่สุด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือการให้มีผู้เรียน มีบทบาทในการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิดค้น เรียนรู้ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยครูผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดสถานการณ์รวมทั้งสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้จะทำให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านต่าง ๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้น

3.2 หลักการพื้นฐานของแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ชนาธิป พรกุล (2555)[25]ชนาธิป พรกุล (2555) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดตามแนวทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive theories) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในสมอง เกิดจากกระบวนการจัดกระทํากับข้อมูล มีการบันทึกข้อมูล และดึงข้อมูลออกมาใช้วิธีเรียนรู้มีผลต่อ การจํา การลืม และการถ่ายโอน (Transfer) ความรู้ แรงจูงใจระหว่างการเรียนรู้มีความสําคัญต่อการชี้นําความสนใจ มีอิทธิพลต่อ กระบวนการ
จัดข้อมูล และส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ปัจจุบันแนวคิด การสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism) ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่ามีความสอดคล้องกับการ จัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แนวคิดนี้มีความเชื่อว่า ความรู้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยตนเอง สามารถเปลี่ยนแปลงและ พัฒนาให้งอกงามขึ้นได้เรื่อย ๆ โดยอาศัยการพัฒนาโครงสร้างความรู้ภายในบุคคล และการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โครงสร้างของ ความรู้มีองค์ประกอบที่สําคัญ 3 ประการ คือ

1) ความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่

2) ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้รับเป็นข้อมูล ความรู้ ความรู้สึก และประสบการณ์

3) กระบวนการทางสติปัญญา เป็นกระบวนการทางสมอง ที่ผู้เรียนใช้ทําความเข้าใจกับความรู้ใหม่ และใช้เชื่อมโยงปรับความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ดังนั้น ครูที่จัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจึงมีความเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้สอนไม่จําเป็นต้องถ่ายทอดความรู้เนื้อหาสาระแบบเดิม ซึ่งสอดคล้องกับศศิธร เวียงวะลัย (2556) ที่ได้นำเสนอแนวคิดที่สําคัญในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญและหลักการที่สําคัญของการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ดังนี้

1) แนวคิดที่สําคัญในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

    แนวคิดในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เป็นแนวคิดในการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากที่สุด และให้ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุดตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการ ของผู้เรียนแต่ละวัย ดังนั้นสภาพการเรียนการสอนจึงมีลักษณะผสมผสานด้วยวิธีการสอน ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้า การคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยบทบาทของครูเปลี่ยนจากผู้สอนอบรม หรือบอกเล่ามาเป็นให้การสนับสนุน ชี้แนะแนวทางในการหาแหล่งความรู้ ให้คำปรึกษา และให้กําลังใจแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด

2) หลักการที่สําคัญของการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

    แนวคิดของหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญได้ดังนี้

1. กระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
การสอน และรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง

2. มีการเรียนรู้หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น

3. เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง

4. เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี

5. เป็นกระบวนการที่มีความสําคัญต่อการเรียนของผู้เรียน

6. ผู้เรียนสามารถนําความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละ บุคคล จากหลักการดังกล่าวจะนําไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข โดยครูผู้สอนต้อง ลดบทบาทและปรับเปลี่ยนกระบวนการของตนจากการเป็นผู้บอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนมาเป็น ผู้สนับสนุน ผู้ชี้แนะ ที่ปรึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนมากที่สุดตามศักยภาพของแต่ละบุคคล จัดประสบการณ์ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียน ค้นพบคําตอบด้วยตนเอง โดยมีครูและนักเรียน ร่วมกันบอกแหล่งความรู้

สรุปได้ว่า หลักการพื้นฐานของแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการจัดตามแนวทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive theories) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในสมอง เกิดจากกระบวนการจัดกระทํากับข้อมูล บันทึกข้อมูล และดึงข้อมูลออกมาใช้ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากครูสู่ผู้เรียน ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการฝึกทักษะ ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยตนเอง จนนำไปสู่การใช้ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

3.2 บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ครูที่ดีสำหรับคนยุคใหม่นั้น ไม่เหมือนการศึกษาเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้ว การศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิงและบทบาทของครูอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
ครูที่รักศิษย์ เอาใจใส่ต่อศิษย์ แต่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม  จะไม่ใช่ครูที่ทำประโยชน์แก่ศิษย์อย่างแท้จริง กล่าวคือ ครูที่มีใจแก่ศิษย์ยังไม่พอ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอนไปเป็นเน้นที่การเรียน (ทั้งของศิษย์ และของตนเอง) ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก “ครูสอน” (
Teacher) ไปเป็น “ครูฝึก” (Coach) หรือ “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้” (Learning Facilitator) (วิจารณ์ พานิช, 2555) (วิจารณ์ พานิช, 2555) [26]

ผู้สอนในยุคปัจจุบันต้องฝึกฝนผู้เรียนใน 3 เรื่อง ดังนี้  ฝึกคิด คือ ฝึกให้ผู้เรียนคิดเองเป็น ฝึกให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า ศึกษาให้ลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และมีการวิจัยค้นคว้า และฝึกให้ผู้เรียนบริการสังคม คือ สิ่งที่เรียนจะมีคุณค่าเมื่อได้ใช้ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม (พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, 2551)(พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, 2551) [27] ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ บทบาทผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้

1. จัดการเรียนการสอนโดยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย

2. สร้างและพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมและสนองตอบกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

3. กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะกระบวนการ (Process Skill) คือ กระบวนการคิด (Thinking Process) กระบวนการทำงานกลุ่ม (Group Process) และกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construction Process)

4. ต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน (Participation) คือ มีส่วนร่วมด้านปัญญา กาย อารมณ์ และสังคม รวมทั้งให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับสื่อการสอนและนวัตกรรมที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย

5. ผู้สอนต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
อย่างมีความสุข

6. ผู้สอนต้องทำการวัดและประเมินผลทั้งทักษะกระบวนการ ขีดความสามารถ ศักยภาพของผู้เรียน และผลผลิตที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)

7. ผู้สอนต้องเป็นผู้กระตุ้น และสนับสนุนให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

8. ผู้สอนต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) คือ ต้องเป็นผู้ที่จัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รวมทั้งสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นแนวทางในการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยผู้สอนสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนได้ดังนี้ เป็นผู้นำเสนอ เป็นผู้สังเกต เป็นผู้ถาม เป็นผู้กระตุ้นความสนใจ เป็นผู้ให้การเสริมแรงทั้งทางบวกและทางลบ เป็นผู้แนะนำ เป็นผู้สะท้อนความคิด เป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้
เป็นผู้จัดระเบียบ เป็นผู้ตรวจสอบ และเป็นผู้ประเมิน

นอกจากนั้น เสกสรรค์ แย้มพินิจ (2556)[28] เสกสรรค์ แย้มพินิจ (2556) ได้เสนอบทบาทผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้

1. จัดบรรยากาศการเรียนรู้ให้เหมาะสม โดยควบคุมกระบวนการการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้และคอยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น

2. แสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนตามโอกาสที่เหมาะสม (ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนและบรรยากาศการเรียนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา)

3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของหลักการ Constructionismโดยเน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นผู้จุดประกายความคิดและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนโดยทั่วถึงกันตลอดจนรับฟังและสนับสนุนส่งเสริมให้กำลังใจแก่ผู้เรียน ที่จะเรียนรู้เพื่อประจักษ์แก่ใจด้วยตนเอง

4. ช่วยเชื่อมโยงความคิดเห็นของผู้เรียนและสรุปผลการเรียนรู้ตลอดจนส่งเสริมและนำทางให้ผู้เรียนได้รู้วิธีวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

สรุปได้ว่า บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นต้องเปลี่ยนจากครูผู้สอน
มาเป็นผู้ชี้แนะ คอยฝึกให้ผู้เรียนได้คิด ได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และฝึกการบริหารสังคม ต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนตามความเหมาะสม

 

 

ภาพที่ 1.3 แสดงบทบาทของผู้สอนที่เปลี่ยนจาก “ครูสอน” (Teacher) ไปเป็น “ครูฝึก” (Coach)

ที่มา : ณัฐพงษ์ โตมั่น, 2563

              

   ผู้สอนที่ดีควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน เน้นวิธีสอนที่หลากหลายให้แก่ผู้เรียนเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง วิธีสอนที่ผู้สอนสามารถนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน แสดงดังภาพที่ 1.4

 

 

แสดงตัวอย่างวิธีสอนที่ผู้สอนสามารถนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน ที่มา : ณัฐพงษ์ โตมั่น, 2563

ภาพที่ 1.4 แสดงตัวอย่างวิธีสอนที่ผู้สอนสามารถนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน

ที่มา : ณัฐพงษ์ โตมั่น, 2563


 

3.3 บทบาทของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว และอดิศักดิ์ กำแพงแก้ว (2556) [29]กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว และอดิศักดิ์ กำแพงแก้ว (2556) กล่าวว่า ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติและสร้างความรู้ด้วยตัวของเขาเอง (ทำไปและเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน) บทบาทของผู้เรียนในกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1. ผู้เรียนต้องสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construction)

2. ผู้เรียนต้องเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ด้วยตนเอง รวมทั้งเก็บสะสมความรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเอง

3. ผู้เรียนใช้ทักษะกระบวนการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Process Skill) คือ ทักษะกระบวน
การคิด (
Thinking Process) ทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม (Group Process) และทักษะกระบวนการ
สร้างความรู้ด้วยตนเอง (
Construction Process)

4. ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการเรียน และมีปฏิสัมพันธ์ต่อสื่อการสอนต่อเพื่อนและ
ต่อครูผู้สอน

5. ผู้เรียนต้องตัดสินปัญหาต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล

6. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข ต้องมีความพร้อมในการเรียน

7. ผู้เรียนต้องเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และรู้วิธีที่จะเรียนรู้

8. ผู้เรียนต้องให้ความช่วยเหลือกันและกัน รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง

9. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ

นอกจากนั้น  สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ (2553)[30]สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ (2553) กล่าวว่า ในโลกยุคปัจจุบันและอนาคตมี
การแข่งขันสูงขึ้น ๆ และก็มีภาวะโลกาภิวัตน์มากขึ้น ๆ บัณฑิตที่จบการศึกษาเข้าสู่แวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือเรียกง่าย ๆ ว่าตลาดแรงงานนั้นก็ถูกคาดหวังสูงว่าจะมีความรู้ความสามารถ เพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้ทันที
แต่ในความเป็นจริง บัณฑิตจำนวนไม่น้อยถูกประเมินว่ายังมีความรู้ความสามารถไม่พอเพียง ซึ่งก็คงจะเกิดจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือโลกของความรู้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมนั้นมีการปรับตัว และสามารถทำได้อย่างรวดเร็วเพื่อการแข่งขันในตลาดเชิงธุรกิจ ในขณะที่ภาคการศึกษาขยับตัวช้าและขาดการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมเหล่านั้น ทำให้บัณฑิตที่จบการศึกษาแล้วต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ เรียนรู้เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนเริ่มปฏิบัติงาน รวมถึงต้องมีศักยภาพที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รับข้อมูล ความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปตลอดชีวิตการทำงาน ความสามารถ ในการใช้ภาษาต่างประเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นคุณสมบัติที่ต้องมีและต้องใช้สำหรับบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 จึงต้องใฝ่รู้
สู้งาน ประสานสัมพันธ์ มุ่งมั่นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมถึงการมีอิสระทางความคิดและมีจิตวิจัย คือ รู้และรักที่จะค้นหาความรู้ใหม่ ๆ

           สรุปได้ว่า ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ผู้เรียนต้องมีความพร้อมในการเรียน และสร้างความรู้ด้วยตนเอง  สามารถตัดสินปัญหาต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองรวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ

 

 

 

ภาพที่ 1.5 แสดงตัวอย่างบทบาทผู้เรียนจาก “ผู้รับรู้” มาเป็น “ผู้ใฝ่เรียนรู้”

ที่มา : ณัฐพงษ์ โตมั่น, 2563

 

3.4 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญซึ่งมุ่งพัฒนาความรู้และ ทักษะทางวิชาชีพ ทักษะชีวิต และทักษะสังคม ปรากฏในวงการศึกษาไทยหลายรูปแบบ (กรมวิชาการ, 2544)[31](กรมวิชาการ, 2544) ตัวอย่างเช่น

1. การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-Based Learning : PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนคิดและดําเนินการเรียนรู้ กําหนด วัตถุประสงค์ และเลือกแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นผู้ให้คําแนะนํา เป็นการส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหามากกว่าการจําเนื้อหาข้อเท็จจริง เป็นการส่งเสริมการทํางานเป็นกลุ่มและพัฒนาทักษะทางสังคม ซึ่งวิธีการนี้จะทําได้ดีในการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา เพราะผู้เรียนมีระดับความสามารถทางการคิดและการดําเนินการด้วยตนเองได้ดี

    เงื่อนไขที่ทําให้เกิดการเรียนรู้ประกอบด้วย ความรู้เดิมของผู้เรียน ทําให้เกิดความ เข้าใจข้อมูลใหม่ได้ การจัดสถานการณ์ที่เหมือนจริง ส่งเสริมการแสดงออกและการนําไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ การให้โอกาสผู้เรียนได้ไตร่ตรองข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ทําให้ผู้เรียนตอบ คําถาม จดบันทึก สอนเพื่อน สรุป วิพากษ์วิจารณ์สมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ได้ดี

2. การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individual Study) เนื่องจากผู้เรียนแต่ละบุคคลมี ความสามารถในการเรียนรู้และความสนใจในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจําเป็นที่จะ ต้องมีเทคนิคหลายวิธีเพื่อช่วยให้การจัดการเรียนในกลุ่มใหญ่สามารถตอบสนองผู้เรียนแต่ละ คนที่แตกต่างกันได้ด้วย เช่น

2.1 เทคนิคการใช้ Concept Mapping ที่มีหลักการใช้ตรวจสอบความคิดของผู้เรียน
ว่าคิดอะไร เข้าใจสิ่งที่เรียนอย่างไรแล้วแสดงออกมาเป็นกราฟฟิก

2.2 เทคนิค Learning Contracts คือ สัญญาที่ผู้เรียนกับผู้สอนร่วมกันกําหนด เพื่อใช้เป็นหลักยึดในการเรียนว่าจะเรียนอะไร อย่างไร เวลาใด ใช้เกณฑ์อะไรประเมิน

2.3 เทคนิค Know-Want-Learned ใช้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ผสมผสานกับการใช้ Mapping ความรู้เดิม เทคนิคการรายงานหน้าชั้นที่ให้ผู้เรียนไปศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเองมานําเสนอหน้าชั้นซึ่งอาจมีกิจกรรมทดสอบผู้ฟังด้วย

2.4 เทคนิคกระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นการเรียนที่ทําให้ผู้เรียนได้ ร่วมมือกันแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาให้สําเร็จตามวัตถุประสงค์

3. การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) การเรียนรู้แบบนี้มีความเชื่อพื้นฐานว่าผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้โดยการอาศัยประสบการณ์แห่งชีวิตที่ได้รับเพื่อค้นหาความจริง โดยมีรากฐานจากทฤษฎีจิตวิทยาและปรัชญาการศึกษาที่หลากหลาย ซึ่งนักทฤษฎี สร้างสรรค์นิยมได้ประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยาและปรัชญาการศึกษาดังกล่าวในรูปแบบและ มุมมองใหม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

3.1 กลุ่มที่เน้นกระบวนการรู้คิดในตัวบุคคล (Radical Constructivism or Personal Constructivism or Cognitive Oriented Constructivist Theories) เป็นกลุ่มที่เน้น การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นรายบุคคล โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนรู้วิธีเรียนและรู้วิธีคิด เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

3.2 กลุ่มที่เน้นการสร้างความรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Constructivism or Socially Oriented Constructivist Theories) เป็นกลุ่มที่เน้นว่าความรู้คือ ผลผลิตทางสังคมโดยมีข้อตกลงเบื้องต้นสองประการ คือ ความรู้ต้องสัมพันธ์กับชุมชน และ ปัจจัยทางวัฒนธรรมสังคมและประวัติศาสตร์มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูจึงมีบทบาทเป็นผู้ อํานวยความสะดวกในการเรียนรู้

4. การเรียนรู้จากการสอนแบบเอส ไอ พี (SIP) การสอนแบบเอส ไอ พี เป็น รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะทางการสอนให้กับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา สาขา วิชาการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถเกี่ยวกับทักษะการสอน โดยผลที่ เกิดกับผู้เรียนมีผลทางตรง คือ การมีทักษะการสอน การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะทางการสอนและผลทางอ้อม คือ การสร้างความรู้ด้วยตนเอง ความร่วมมือในการเรียนรู้ และ ความพึงพอใจในการเรียนรู้

วิธีการที่ใช้ในการสอน คือ การทดลองฝึกปฏิบัติจริงอย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง และเป็น ระบบ โดยการสอนแบบจุลภาคที่ให้ผู้เรียนทุกคนมีบทบาทในการฝึกทดลองตั้งแต่เริ่มต้นจน สิ้นสุดการฝึก ขั้นตอนการสอน คือขั้นความรู้ความเข้าใจ ขั้นสํารวจ วิเคราะห์ และออกแบบ

การฝึกทักษะ ขั้นฝึกทักษะ ขั้นประเมินผล โครงสร้างทางสังคมของรูปแบบการสอน อยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ ในขณะที่ผู้เรียนฝึกทดลองทักษะการสอนนั้นผู้สอนต้องให้การ ช่วยเหลือสนับสนุนอย่างใกล้ชิด สิ่งที่จะทําให้การฝึกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล คือความพร้อมของระบบสนับสนุน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการสอน ห้องสื่อเอกสาร หลักสูตรและการสอน และเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study) การเรียนรู้แบบนี้เป็นการให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การจัดการเรียนการสอนแบบ สืบค้น (Inquiry Instruction) การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนแบบแก้ ปัญหา (Problem Solving) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) ซึ่งการเรียนการ สอนแบบแสวงหาความรู้ด้วยตนเองนี้ใช้ในการเรียนรู้ทั้งที่เป็นรายบุคคลและกระบวนการกลุ่ม

6. การเรียนรู้จากการทํางาน (Work-Based Learning) การเรียนรู้แบบนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหา สาระการฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ การพัฒนาทักษะการ คิดขั้นสูง โดยสถาบันการศึกษามักร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชนรับผิดชอบการจัดการเรียน การสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกําหนดวัตถุประสงค์ การกําหนดเนื้อหากิจกรรม และวิธีการประเมิน

7. การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research-Based Learning)
การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยถือได้ว่าเป็นหัวใจของบัณฑิตศึกษา เพราะเป็นการเรียนที่เน้นการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนโดยตรง เป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้ และการทดสอบความสามารถทางการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน โดยรูปแบบการเรียน การสอนอาจแบ่งได้เป็น
4 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่การสอนโดยใช้วิธีวิจัยเป็นวิธีสอนการสอนโดย ผู้เรียนร่วมทําโครงการวิจัยกับอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยโครงการวิจัยของอาจารย์ การสอนโดย ผู้เรียนศึกษางานวิจัยของอาจารย์และของนักวิจัยชั้นนําในศาสตร์ที่ศึกษาและการสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน

8. การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-Based Approach) การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ความรู้ ความคิดด้วยตนเองด้วยการรวบรวมทําความเข้าใจ สรุปวิเคราะห์และสังเคราะห์จากการศึกษา ด้วยตนเอง เหมาะสําหรับบัณฑิตศึกษาเพราะผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ มีประสบการณ์เกี่ยวกับ ศาสตร์ที่ศึกษามาในระดับหนึ่งแล้ว

วิธีการเรียนรู้เริ่มจากการทําความเข้าใจกับผู้เรียนให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
ตามแนวนี้ จากนั้นทําความเข้าใจในเนื้อหาและประเด็นหลัก ๆ ของรายวิชา มอบหมายให้ ผู้เรียนไปศึกษาวิเคราะห์เอกสาร แนวคิดตามประเด็นที่กําหนดแล้วให้ผู้เรียนพัฒนาแนวคิดใน ประเด็นต่าง ๆ แยกที่ละประเด็น โดยให้ผู้เรียนเขียนประเด็นเหล่านั้นเป็นผลงานในลักษณะที่ เป็นแนวคิดของตนเองที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์เจาะลึกจนตกผลึกทางความคิดเป็นของ ตนเอง จากนั้นจึงนําเสนอให้กลุ่มเพื่อนได้ช่วยวิเคราะห์วิจารณ์อีกครั้ง

 

4. วิธีการจัดการเรียนรู้

ธเนศ เจริญทรัพย์ (2556 อ้างถึงใน เกษทิพย์  ศิริชัยศิลป์, 2557)[32] ธเนศ เจริญทรัพย์ (2556 อ้างถึงใน เกษทิพย์  ศิริชัยศิลป์, 2557) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้จำเป็นต้องจัดให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและพัฒนาการของผู้เรียน เน้นฝึกทักษะกระบวนการคิด การเผชิญสถานการณ์ การประยุกต์ความรู้เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน  การเรียนการสอนที่ดีนั้นควรมีความเป็นพลวัตร คือ
มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ รูปแบบเทคนิค วิธีการ เป็นต้น ซึ่งหลักในการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้

ประเด็นที่ 1 ครูมีหน้าที่ในการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีความเข้าใจอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากหลักสูตรนั้นเปรียบเสมือนแสงเทียนนำทางสำหรับครูในการจัดการเรียนรู้ ในหลักสูตรแกนกลางฉบับปัจจุบันนั้นประกอบไปด้วยรายละเอียดที่มีความจำเป็นและสำคัญ อาทิ ตัวชี้วัด สาระ
การเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะที่สำคัญ เป็นต้น การที่ครูเข้าใจและรู้รายละเอียดดังกล่าวทั้งหมดอย่างเข้าใจจะส่งผลให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้ให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่หลักสูตรวางไว้ได้และ
การจัดการเรียนรู้นั้นจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม

ประเด็นที่ 2 ครูควรวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบและตามลำดับขั้นอย่างชัดเจน ดร.สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา[33] ดร.สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา ได้กล่าวไว้ในหนังสือการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ว่า ครูที่ดีต้องมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องมีการนำไปปฏิบัติ การปฏิบัติที่ดีต้องเป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้ ซึ่งสามารถเข้าใจได้ว่า การวางแผนการจัดการเรียนรู้นั้นถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในบรรดากระบวนการทั้งหมด ครูจำเป็นต้องลำดับขั้นให้ชัดเจนว่าจะสอนอะไรก่อน สอนอะไรหลัง แต่ถึงกระนั้นแผนการจัดการเรียนรู้ควรมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสและสถานการณ์จริง ครูจึงควรมีความมั่นใจที่จะเผชิญกับสถานการณ์ในชั้นเรียนได้ทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นนอกเหนือความคาดหวัง

ประเด็นที่ 3 ครูควรเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นครูควรใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไปในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งและควรสอนให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ในชั้นเรียนกับชีวิตประจำวันเข้าด้วยกันได้อย่างสมดุล และฝึกให้นักเรียนพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทุกรูปแบบ ตามแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของ ดร.วิชัย ตันศิริ กล่าวไว้ว่า กระบวนการเรียนการสอนควรมุ่งเน้นการแสดงความคิด การฝึกให้ผู้เรียนได้มองกว้างและมองไกล มีความเข้าใจในระดับมหัพภาคและสามารถวิเคราะห์แยกแยะได้ในระดับจุลภาค ยิ่งไปกว่านั้นครูให้ผู้เรียนเข้าใจว่าความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะหนังสือหรือในชั้นเรียนเพียงเท่านั้น ดังนั้นครูควรเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ ทำให้นักเรียนเกิดความชำนาญในเรื่องที่นักเรียนสนใจ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิต สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนต้องได้รับโอกาสในการเรียนรู้จากการได้ปฏิบัติจริง ลงมือทำจริงด้วยตนเอง ดังนั้น ครูผู้สอนจึงมีหน้าที่สร้างความกระตือรือร้น และแรงจูงใจในการเรียนรู้ คอยกระตุ้น แนะนำในสิ่งที่นักเรียนสงสัย ต้องสร้างความใฝ่รู้ใฝ่เรียน พร้อมกันนั้นก็ฝึกฝนนักเรียนให้มีสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร อันได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ประเด็นที่ 4 ครูควรใช้หลักจิตวิทยาแรงจูงใจให้เป็นและมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากแรงจูงใจนั้นจะนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน สิ่งที่ครูจะต้องทำในฐานะผู้นำแนวทางการเรียนการสอน คือ การกระตุ้นให้เด็ก ๆ รู้สึกถึงความต้องการของตน เพราะความต้องการจะนำให้นักเรียนนั้นสนใจและใส่ใจกับบทเรียน จึงสามารถกล่าวได้ว่าแรงจูงใจที่เหมาะสมจึงเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับครูประถมศึกษานั้นการสร้างแรงจูงใจถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะด้วยพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ของนักเรียนในระดับนี้นั้นยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ การที่นักเรียนจะจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานาน ๆ นั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นปัญหาของครูผู้สอนทุกคน แนวทางที่ดีทางหนึ่งคือให้ผู้เรียนจะสร้างเป้าหมายใหม่ ๆ ร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงให้เขาเห็นความสำคัญของสิ่งที่เขาจะได้เรียนรู้ การสร้างแรงจูงใจในการเรียนที่ดี  อีกวิธีการหนึ่งคือ อารมณ์ขัน ในชั้นเรียนนั้นครูควรเล่าเรื่องตลกให้นักเรียนฟังบ้าง การมีอารมณ์ขันจะช่วยทลายกำแพงระหว่างครูกับนักเรียนได้และเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ดีอีกด้วย

ประเด็นที่ 5 ครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศทางกายภาพ (Physical Atmosphere) และบรรยากาศทางจิตวิทยา(Psychological Atmosphere) ซึ่งบรรยากาศทางกายภาพ คือ การจัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในห้องเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสะอาด น่าอยู่ มีสื่อการเรียนรู้ที่ครบครัน พร้อมที่จะส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน การอาศัยความร่วมมือในการสร้างบรรยากาศทางกายภาพจากผู้เรียนถือเป็นอีกหนทางหนึ่งในการทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบและต้องการจะอยู่ในชั้นเรียนเพราะเขานั้นได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์รูปแบบของชั้นเรียนของเขาเอง ด้านบรรยากาศ ทางจิตวิทยา คือ บรรยากาศทางด้านจิตใจที่นักเรียนรู้สึกอบอุ่น มีความสบายใจ มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มีความเป็นกันเอง สำหรับการสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองในชั้นเรียนระหว่างครูและนักเรียนนั้นครูควรทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมการสอน ไม่ใช่บรรยากาศที่ครูยืนอยู่หน้าชั้นตลอดทั้งชั่วโมงการเรียนหรือนักเรียนต้องจับจ้องสายตาไปที่กระดานดำเพียงอย่างเดียว

ประเด็นที่ 6 ครูควรมีการประเมินการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ซึ่งการประเมินผลนั้นถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้ รายละเอียดในการประเมินต้องมีให้ครบทุกปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นการประเมินตัวครู การประเมินตัวนักเรียน
การประเมินสื่อสำหรับการจัดการเรียนรู้ การประเมินทั้งสามประการนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการทุกด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านร่างกายและพัฒนาการด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน สิ่งที่ครูต้องประเมินตนเองนั้นควรประกอบไปด้วยการประเมินวิธี ขั้นตอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพราะตัวครูนั้นอาจสอนไม่ชัดเจน ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และ  อาจขาดความต่อเนื่องของเนื้อหา นอกจากนี้ครูอาจขาดความชำนาญในการสอน ไม่มีความสามารถในการโน้มน้าวความสนใจของนักเรียนให้มีต่อบทเรียนได้ รวมไปถึงครูต้องประเมินความสามารถในการจัดชั้นเรียน การควบคุมชั้นเรียนเพราะครูอาจยังไม่เข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของนักเรียนเท่าที่ควร

ไฟล์:6bbb.png

ภาพที่ 1.6 ทฤษฎีหมวก 6 ใบกับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียน

ที่มา : https://www.eduzones.com/

2020/02/29/six-hats-theory/

 

5. กระบวนการจัดการเรียนรู้

 ณัฐพงษ์ โตมั่น (2563: 18-33)[34] ณัฐพงษ์ โตมั่น (2563: 18-33) กล่าวว่า การเรียนรู้ที่มีคุณภาพนั้นต้องมีกระบวนจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องไว้ได้ โดยผู้เขียนขอนำเสนอเทคนิคกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้

1. กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats) ของเดอ โบโน
(
De Bono, 1992)[35] เทคนิคหมวกหกใบ เป็นการใช้สีของหมวกแต่ละใบที่มีสีต่างกันแทนความคิดแต่ละด้านโดยให้วิธีคิดแต่ละอย่างกำหนดจากสีของหมวก ซึ่งสีของหมวกแต่ละใบจะสอดคล้องกับแนวคิดของหมวกใบนั้น ๆ
เป็นการบอกให้ทราบว่าต้องการให้คิดไปในทิศทางใด ในการคิดนักคิดจะใช้หมวกครั้งละหนึ่งใบแทนแต่ละความคิด สีของหมวกนี้จะเป็นกรอบที่เป็นรูปธรรมที่สำคัญต่อการรับรู้ช่วยให้เข้าใจและจดจำง่ายขึ้นเพราะเป็นการสอนด้วยสัญลักษณ์

1. หมวกสีขาว สีขาวแสดงถึงความเป็นกลางและวัตถุนิสัย หมวกสีขาวจึงเป็นตัวแทนของข้อมูลตัวเลข ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับ ไม่มีการโต้แย้ง

2. หมวกสีแดง สีแดงแสดงถึงความเกรี้ยวกราด อารมณ์ หมวกสีแดงจึงเป็นการมองทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ความหยั่งรู้ และสัญชาติญาณ

3. หมวกสีดำ สีดำแสดงถึงความมืดครึ้ม หมวกสีดำจึงเป็นการมองในด้านลบ ข้อเสีย เหตุผลในการปฏิเสธ จุดด้อย และข้อผิดพลาด

4. หมวกสีเหลือง สีเหลืองแสดงถึงความสดใส สว่าง หมวกสีเหลืองจึงเป็นการมองในด้านบวก แง่ดี ความเป็นไปได้ ความหวัง ความมั่นใจว่าทำได้ และคุณประโยชน์ รวมทั้งเหตุผลในการยอมรับ

5. หมวกสีเขียว สีเขียวแสดงถึงการมีชีวิต ความเจริญ งอกงาม และความอุดมสมบูรณ์ หมวกสีเขียวจึงเป็นการมองด้วยความคิดใหม่ ๆ สร้างสรรค์

6. หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงินแสดงถึงการควบคุม เปรียบท้องฟ้าที่ปกคลุมอยู่เหนือทุกสิ่ง หมวกสีน้ำเงินจึงเป็นการควบคุม การจัดระเบียบ การประเมิน และการสรุปแนวทางการจัดการเรียนรู้

การสวมหมวก คือ การคิด โดยผู้สวมหมวกก็คือ ทุก ๆ บุคคล เพื่อเป็นสัญลักษณ์หรือสิ่งแทนให้
ผู้สวมหมวกคิดตามสีของหมวกที่สวมอยู่ขณะนั้น เมื่อต้องการให้บุคคลใดคิดไปในทางใดก็ให้บุคคลนั้น
สวมหมวกสีนั้น ซึ่งโดยปกติผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่มจะเป็นผู้สวมหมวกสีน้ำเงิน ซึ่งจะเป็นผู้ควบคุมหรือจัดระเบียบในการคิด เพื่อให้ผู้ร่วมงานหรือสมาชิกในกลุ่มคิดไปในทางเดียวกัน
<จัดการเรียนรู้%20(1)_files/image016.png" alt="ภาพที่ 1.6 ทฤษฎีหมวก 6 ใบกับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียน&#13;&#10;ที่มา : https://www.eduzones.com/&#13;&#10;2020/02/29/six-hats-theory/&#13;&#10;">

2. การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอน ที่คำนึงถึงแบบการเรียนของผู้เรียน 4 แบบกับการพัฒนาสมองซีกซ้ายและซีกขวาอย่างสมดุล เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามแบบและความต้องการของตนเองอย่างเหมาะสม และสามารถพัฒนาตนเองอย่างเต็มตามศักยภาพ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2553)
ในปี ค.ศ. 1980
McCarthy ได้สรุปแนวคิดเป็นรูปแบบ

การเรียนการสอนแบบใหม่ที่ตอบสนองการเรียนรู้ผู้เรียน 4 แบบ (4 Types of Students) ซึ่งลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก ๆ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับโครงสร้างทางสมองและระบบการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวา โดยนำแนวความคิดจาก Kolb มาประยุกต์ โดยมีหลักการดังนี้

1. มนุษย์ได้รับประสบการณ์และความรู้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีและมีกระบวนการการจัดการกับประสบการณ์และความรู้นั้นหลายวิธีต่างกัน ตลอดจนสามารถผสมผสานเทคนิคการรับรู้และปรับแต่งให้เกิดเป็นรูปแบบการเรียนรู้เฉพาะตนที่ไม่เหมือนใคร

2. รูปแบบการเรียนรู้ที่สำคัญมีอยู่ 4 รูปแบบ ซึ่งมีคุณค่าเท่าเทียมกัน และผู้เรียนต้องการที่จะมีความสุขและสะดวกสบายในวิธีการเรียนรู้ของตน

3. รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้ง 4 แบบ ประกอบด้วย

ไฟล์:17m4.png

 

 

ภาพที่ 1.7 รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแบบ 4 MAT

ที่มา : ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2554

4. ผู้เรียนทุกคนจำเป็นต้องมีครูที่สอนด้วยวิธีการครบ 4 แบบ เพื่อที่เรียนได้อย่างสะดวกสบายและประสบผลสำเร็จ ต่อจากนั้นสามารถพัฒนาสมรรถภาพการเรียนรู้ในด้านอื่น ๆ ต่อไป

5. ระบบการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT จะดำเนินไปตามวัฏจักรการเรียนรู้เป็นไปตามขั้นตอนทั้ง 4 แบบ และผสมผสานกับลักษณะพิเศษซึ่งเป้นความก้าวหน้าการเรียนรู้ตามธรรมชาติ

6. วิธีการเรียนรู้ทั้ง 4 แบบนี้ จำเป็นต้องสอนโดยใช้เทคนิคกระบวนการสมองซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งผู้เรียนที่มีความถนัดทางสมองซีกขวาจะเรียนรู้ได้เพียงครึ่งเวลา และปรับครึ่งเวลาที่เหลือนั้นให้เหมาะสม ส่วนผู้เรียนที่มีความถนัดทางสมองซีกซ้าย จะเรียนรู้ได้เพียงครึ่งเวลาและเรียนรู้ดัดแปลงครึ่งเวลาที่เหลือนั้นให้เหมาะสมเช่นกัน

7. เป้าหมายหลักของการศึกษา คือ การพัฒนาและบูรณาการการเรียนรู้ทั้ง 4 แบบให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมถึงการพัฒนาและการบูรณาการสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

8. ผู้เรียนจะกลายเป็นที่ยอมรับว่าตนมีความเข้มแข็ง และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพของตน เพื่อเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ

9. การเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งผู้เรียนมีความสนใจและมีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ก็จะเรียนรู้จากผู้อื่นได้มากขึ้นเท่านั้น

3. มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี (2560) กล่าวว่า การศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดมีทั้งหมด 6 ด้าน คือ

มิติที่ 1 มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด การคิดของบุคคลจะ เกิดขึ้นได้จําเป็นต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วน คือ เนื้อหาที่ใช้ในการคิดและกระบวนการคิด คือต้องมีการคิดอะไร ควบคู่ไปกับการคิดอย่างไร ซึ่งเรื่องหรือข้อมูลที่คิดนั้น มีจํานวนมากเกินกว่าที่จะกําหนดได้ อย่างไรก็ตาม อาจจัดกลุ่มใหญ่ ๆ ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับ สังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลวิชาการ

มิติที่ 2 มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออํานวยต่อการคิด ได้แก่ คุณสมบัติส่วนตัว ของบุคคล ซึ่งมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการคิดและคุณภาพของการคิด เช่น ความใจกว้าง ความใฝ่รู้ ความกระตือรือร้น ความกล้าเสี่ยง เป็นต้น

มิติที่ 3 มิติด้านทักษะการคิด หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอนที่บุคคล ใช้ในการคิด ซึ่งจัดได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน (basic thinking skills) ประกอบด้วยทักษะที่ใช้ในการสื่อสาร
เช่น ทักษะการอ่าน การพูด การเขียน ฯลฯ ทักษะการคิดที่เป็นแกน (
core thinking skills) เช่น ทักษะการสังเกต
การเปรียบเทียบ เชื่อมโยง ฯลฯ และทักษะการคิดขั้นสูง (
higher order thinking skills) เช่น ทักษะการนิยาม การสร้าง การสังเคราะห์ การจัดระบบ ฯลฯ ทักษะการคิดขั้นสูงมักประกอบด้วย กระบวนการหรือขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าทักษะการคิดขั้นที่ต่ำกว่า

มิติที่ 4 มิติด้านลักษณะการคิด เป็นประเภทของการคิดที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีความเป็นนามธรรมสูง จําเป็นต้องมีการตีความให้เห็นเป็นรูปธรรม จึงจะสามารถเห็นกระบวนการหรือขั้นตอนการคิดชัดเจนขึ้น เช่น การคิดกว้าง การ คิดลึกซึ้ง การคิดละเอียด เป็นต้น

มิติที่ 5 มิติด้านกระบวนคิด เป็นการคิดที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักหลายขั้นตอน ซึ่งจะนําผู้คิดไปสู่เป้าหมายเฉพาะของการคิดนั้น โดยขั้นตอนหลักเหล่านั้นจําเป็นต้องอาศัยทักษะการคิดย่อย ๆ จํานวนมากบ้างน้อยบ้าง เช่น กระบวนการคิดแก้ปัญหา กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณกระบวนการวิจัย เป็นต้น

มิติที่ 6 มิติด้านการควบคุมและประเมินการคิดของตน (metacognition) เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ในการควบคุมกํากับการรู้คิดของตนเอง มีผู้เรียกการคิดในลักษณะนี้ว่า เป็นการคิดอย่างมียุทธศาสตร์ (Strategic thinking) ซึ่งครอบคลุมการวางแผน การควบคุมกํากับการกระทําของตนเอง การตรวจสอบความก้าวหน้า และการประเมินผล

กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จุดมุ่งหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้ได้ความคิดที่รอบคอบสมเหตุสมผลผ่านการพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และผ่านการพิจารณากลั่นกรอง ไตร่ตรอง ทั้งทาง ด้านคุณ - โทษ และคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นมาแล้ว

เกณฑ์ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณ จะมีความสามารถดังนี้

1) สามารถกําหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง

2) สามารถระบุประเด็นในการคิดอย่างชัดเจน ไม่มาก

3) สามารถประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง และความคิดเห็น เกี่ยวกับประเด็นที่คิด
ทั้งทางกว้าง ทางลึก และไกล

4) สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้

5) สามารถประเมินข้อมูลได้

6) สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลและเสนอคําตอบหรือทางเลือกที่สมเหตุสมผลได้

7) สามารถเลือกทางเลือก/ลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้

 

 

วิธีการหรือขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

1) ตั้งเป้าหมายในการคิด

2) ระบุประเด็นในการคิด

3) ประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง และความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิด

4) วิเคราะห์ จําแนกแยกแยะข้อมูล จัดหมวดหมู่ของข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะนํามาใช้

5) ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง ความเพียงพอ และความน่าเชื่อถือ

6) ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลเพื่อแสวงหาทางเลือกคําตอบที่สมเหตุสมผลตามข้อมูลที่มี

7) เลือกทางเลือกที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงผลที่จะตามมา และคุณค่าหรือความหมาย
ที่แท้จริงของสิ่งนั้น

8) ชั่งน้ำหนัก ผลได้ ผลเสีย คุณ - โทษ ในระยะสั้นและระยะยาว

9) ไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปมาให้รอบคอบ

10) ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด

สรุปได้ว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้นั้น มีวิธีการหรือเทคนิคการสอนที่หลากหลายมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน โดยผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา เหมาะสมกับผู้เรียน สอดคล้องกับตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากกิจกรรมนั้นและเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง



  1. ฮู และ ดันแคน (Hough and Duncan 1970: 144)
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 8)
  3. ชัยรัตน์ บุมี (2557)
  4. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 8)
  5. บุญชม ศรีสะอาด (2537 อ้างใน ชัยรัตน์ บุมี, 2557)
  6. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 12-13)
  7. กรัณย์พล วิวรรธมงคล (2553) และ ชัยรัตน์ บุมี (2557)
  8. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 12-13), ศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 25-26) และวิทยา พัฒนเมธาดา (2560: ออนไลน์)
  9. (ศุภลักษณ์ ทองจีน, 2558: 8)
  10. ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 209)
  11. ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 30)
  12. ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 34) กล่าวว่า สกินเนอร์ (Skinner)
  13. ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 34)
  14. ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 211)
  15. ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 211-212) และ ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 30-31)
  16. ศศิธร เวียงวะลัย (2556: 212)
  17. ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 35-36) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 12-13)
  18. ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 37) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 14)
  19. ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 39) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 15)
  20. ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 42-43) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 17-18)
  21. ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 43)
  22. ชาติชาย ม่วงปฐม (2557: 44) และศุภลักษณ์ ทองจีน (2558: 19) นีล (Neil)
  23. ระวิวรรณ  ศรีคร้ามครัน (2553)
  24. ชนาธิป พรกุล (2555)
  25. ชนาธิป พรกุล (2555)
  26. (วิจารณ์ พานิช, 2555)
  27. (พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, 2551)
  28. เสกสรรค์ แย้มพินิจ (2556)
  29. กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว และอดิศักดิ์ กำแพงแก้ว (2556)
  30. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ (2553)
  31. กรมวิชาการ, 2544)
  32. ธเนศ เจริญทรัพย์ (2556 อ้างถึงใน เกษทิพย์  ศิริชัยศิลป์, 2557)
  33. ดร.สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา
  34.  ณัฐพงษ์ โตมั่น (2563: 18-33)
  35. (De Bono, 1992)