ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมชาย อาสนจินดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Savekmaner (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขชื่อเรื่อง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Savekmaner (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขชื่อเรื่อง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 47:
 
==นักหนังสือพิมพ์==
เริ่มงานเป็นครูสอนหนังสือที่[[โรงเรียนอำนวยศิลป์]] แล้วไปรับราชการที่[[จังหวัดเชียงราย]]เป็นเสมียน[[สหกรณ์]] เวลาว่างตอนกลางคืน เขียนเรื่องสั้นส่งหนังสือ "สุภาพบุรุษ-ประชามิตร" ซึ่งจัดทำโดย [[วิตต์ สุทธเสถียร]] [[กุหลาบ สายประดิษฐ์]] [[มาลัย ชูพินิจ]] และ[[โชติ แพร่พันธุ์]] เรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ "''ชีวิตในภาพวาดอันเลอะเลือนของข้าพเจ้า'' " ได้ตีพิมพ์เป็นเรื่องเอกประจำฉบับ และได้รับการชักชวนให้มาทำงานหนังสือพิมพ์ จึงลาออกจากราชการ และเริ่มงานหนังสือพิมพ์ "บางกอกรายวัน" ร่วมงานกับ [[อิศรา อมันตกุล]] [[เสนีย์ เสาวพงศ์]] [[อุษณา เพลิงธรรม]] [[ประหยัด ศ. นาคะนาท]] แต่ไม่นานก็เลิกกิจการ จึงย้ายไปอยู่หนังสือพิมพ์นวนิยายรายวัน "วันจันทร์" รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา ตีพิมพ์ได้สามเดือนก็ขาดทุนจนเลิกกิจการ
 
เมื่อตกงานได้ไปอาศัย[[วัดมหรรณพาราม]]อยู่ จนกระทั่งเกิด[[รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490]] นำโดย พล.ท.[[ผิน ชุณหะวัณ]] ก็ได้รับการชักชวนให้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน ที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหาร ชื่อ "8 พฤศจิ" จนกระทั่งคณะรัฐประหารได้จับกุมนักหนังสือพิมพ์เกือบ 20 คนไปคุมขัง รวมทั้ง [[อิศรา อมันตกุล]] หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "เอกราช" ที่นับถือเป็นการส่วนตัว จึงใช้บทบรรณาธิการเขียนโจมตี [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง และประกาศลาออก โดยขึ้นหัวข่าวหนังสือพิมพ์ เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมงานต้องเดือดร้อน <ref name="ทระนง">{{อ้างหนังสือ