ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
นำส่วนนี้ออก เนื่องจาก (1) ไม่มีอ้างอิง (2) อาจละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเป็นการก๊อปมาทั้งหมด และงานของผู้เขียนนี้ยังมีลิขสิทธิ์ (3) ไม่เป็นแก่นสารขนาดต้องระบุในบทความ ถ้าอยากระบุ ก็เขียนแบบสรุปได้ (แต่เนื่องจากไม่มีอ้างอิง ก็ต้องเอาออกอยู่ดี)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
นำข้อความเชิงอัตวิสัย (การแสดงความเห็น ความรู้สึก ฯลฯ) ออก เหลือแต่ข้อความเชิงวัตถุวิสัย (ข้อเท็จจริง ฯลฯ)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 49:
* [[หม่อมเจ้าสุขาวดี ไชยันต์]]
 
พระบิดาและหม่อมมารดาของพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ได้สิ้นพระชนม์ และถึงอนิจกรรมเสียแต่เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้เข้าศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงตั้งแต่พระชนม์ได้ 6 ปี และทรงได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนราชวิทยาลัย สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เมื่อพระชนม์เพียง 12 ปี ใน พ.ศ. 2454 ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเป็นนักเรียนส่วนพระองค์ออกไปศึกษาวิทยาการ ณ ประเทศอังกฤษ ได้ทรงเริ่มการศึกษาชั้นประถม ณ โรงเรียน Torquay Preparatory School เป็นเวลา 2 ปี ใน พ.ศ. 2456 จึงได้เลื่อนไปทรงศึกษาชั้นมัธยม ณ วิทยาลัย Cheltenham College อีก 3 ปี ได้ทรงรับประกาศนียบัตรชั้นมัธยมศึกษาชั้นสูงของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และเคมบริดจ์ ใน พ.ศ. 2459 เพื่อทรงศึกษา ณ วิทยาลัยมอดดะเลน (Magdalene College) เมื่อได้ทรงสอบไล่ได้รับปริญญาเกียรตินิยมชั้นสองในวิชาประวัติศาสตร์ (B.A.) ต่อจากนั้นได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2462 ได้เข้าศึกษา ณ วิทยาลัย École des Sciences Politiques แห่งกรุงปารีสอีก 1 ปี จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยใน พ.ศ. 2463
 
เมื่อพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้เสด็จกลับมาถึงประเทศไทยนั้น เป็นรัชสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในตำแหน่งเลขานุการกระทรวงเป็นตำแหน่งแรก และนับตั้งแต่วาระนั้นเป็นต้นมา พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวงนั้นหรือทรงปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของทางราชการอันเกี่ยวข้องกับกระทรวงนั้นโดยตรงมาจนถึงเวลาที่สิ้นพระชนม์ชีพ ใน พ.ศ. 2503 เป็นเวลา 40 ปีบริบูรณ์โดยมิได้ขาดตอนเลย ประโยชน์นานาประการที่ได้ทรงกระทำไว้ให้แก่ราชการคลังและการเงินการภาษีอากรของประเทศนั้นมีอยู่มากมาย ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้
 
ในขณะที่พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัตินั้น [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ]] ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี [[หม่อมเจ้าเณร เกษมศรี]] ผู้ซึ่งภายหลังได้ดำรงพระยศเป็น[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม]] เป็นรองเสนาบดี ส่วนตำแหน่งปลัดทูลฉลองนั้นยังว่างอยู่ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเลขานุการกระทรวง และได้ทรงศึกษาราชการต่าง ๆ แห่งกระทรวงนั้นด้วยพระอุตสาหะวิริยะ และด้วยพระปรีชาสามารถอย่างยอดเยี่ยม เป็นที่พอพระทัยและไว้วางพระทัยแก่ของเสนาบดีและรองเสนาบดีทั้งสองพระองค์ ชรอยท่านผู้บังคับบัญชากระทรวงพระคลังมหาสมบัติในสมัยนั้นจะได้ทรงเห็นพ้องต้องกันว่า พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงอุดมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ควรแก่ตำแหน่งสูงอันมีความรับผิดชอบมาก จึงได้ให้ระงับการแต่งตั้งปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติไว้เป็นเวลาหลายปี
 
[[ไฟล์:พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย002.jpg|thumb|right|300px|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงไปเจรจาทำสัญญาเลิกสถานะสงครามกับประเทศอังกฤษ อินเดีย ออสเตรเลีย]]
 
ใน พ.ศ. 2465 พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง ใน พ.ศ. 2469 ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้รั้งปลัดทูลฉลอง จนถึง พ.ศ. 2470 อันเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ขณะนั้นพระชนมายุได้ 28 ปี นับว่าทรงเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ ชั้นปลัดทูลฉลองที่มีอายุน้อยที่สุดในสมัยนั้น และแม้ในสมัยปัจจุบันก็ยังจะหาเทียบได้ยาก
 
ในสมัยนั้นทางราชการเห็นสมควรบำรุงชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันตกของประเทศไทย จึงได้จัดตั้งสภาขึ้นสภาหนึ่งเพื่อดำเนินการนี้ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยก็ได้ทรงรับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสภาจัดบำรุงชายทะเลทิศตะวันตกเป็นหน้าที่พิเศษอีกตำแหน่งหนึ่ง นอกจากนั้นในสมัยเดียวกันได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ปรับปรุงราชการเกี่ยวกับองคมนตรีขึ้น โดยให้มีกรรมการของสภาองคมนตรี มีหน้าที่ประชุมปรึกษาราชการในข้อที่จะได้ทรงมอบหมายให้พิจารณาเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นในข้อราชการนั้น ๆ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงดำรงตำแหน่งกรรมการองคมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2471
บรรทัด 91:
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ว่าพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยสิ้นพระชนม์ในคืนวันเดียวกัน ขณะประทับอยู่ ณ Queluz Palace กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ด้วยความเศร้าสลดพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่ได้มีพระราชดำรัสสรรเสริญคุณความดีของพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเป็นอเนกประการแล้ว ได้มีพระราชดำรัสว่า
 
{{cquote|''ท่าน (พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย) ได้ช่วยเหลือฉันมากในการที่มาเยี่ยมต่างประเทศคราวนี้ ท่านก็ได้ทรงทราบแล้วว่าการมาเยี่ยมต่างประเทศคราวนี้เป็นผลสำเร็จและมีผลดีเพียงไร และคงพอพระทัย ฉันคิดว่าขณะสิ้นพระชนม์ท่านคงมีความสุข''}}
 
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระศพพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเป็นงานหลวงพิเศษ และได้พระราชทานพระโกศมณฑป เทียบเท่าชั้นเจ้าต่างกรมทรงพระศพเป็นเกียรติยศ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2503 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้เสด็จไปพระราชทานน้ำสรงพระศพและบำเพ็ญพระราชกุศลในงานพระศพ