ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
นำส่วนนี้ออก เนื่องจาก (1) ไม่มีอ้างอิง (2) อาจละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเป็นการก๊อปมาทั้งหมด และงานของผู้เขียนนี้ยังมีลิขสิทธิ์ (3) ไม่เป็นแก่นสารขนาดต้องระบุในบทความ ถ้าอยากระบุ ก็เขียนแบบสรุปได้ (แต่เนื่องจากไม่มีอ้างอิง ก็ต้องเอาออกอยู่ดี)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 48:
* [[หม่อมเจ้ามหาฤกษ์ ไชยันต์]]
* [[หม่อมเจ้าสุขาวดี ไชยันต์]]
 
พระประวัติของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยในวัยเยาว์นั้น [[หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล]] ได้ทรงจดประทานมาเพื่อรวบรวมไว้ในพระประวัติ มีเนื้อหาความดังต่อไปนี้
 
{{cquote|''เมื่อพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ชันษาได้ 2 ขวบ หม่อมมารดาได้พาเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ที่ตำหนัก[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน]] ซึ่งเป็นเสด็จป้า และมีเจ้าพี่อีก 3 องค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงสุภาภรณ์ หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม หม่อมเจ้าหญิงภิรมย์สงวนอยู่ร่วมกันด้วย พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยมีพระนิสัยชอบหนังสือและมีความจำดีมาแต่เยาว์ ตั้งแต่ชันษาราว 3 ขวบ หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สมได้สอนให้รู้จักตัวอักษรไทยจากหนังสือพิมพ์ โดยมิได้ตั้งใจจะสอนอย่างจริงจังเพราะยังเล็กนัก แต่พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยก็จำได้แม่นยำ หม่อมมารดาจึงได้ไปซื้อหนังสือแบบเรียนเร็วมาให้อ่าน ก็ยิ่งขยันอ่านจนในไม่ช้าก็อ่านหนังสือได้แตกฉาน นอกจากนี้ยังสามารถท่องพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ตลอด ในขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันพระราชทานน้ำพระมหาสังข์พระบรมวงศานุวงศ์ ในปีนี้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในพร้อมกันไปคอยเฝ้า ณ ที่ประทับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ บนพระที่นั่งวิมานเมฆ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ตามเสด็จเสด็จป้าขึ้นเฝ้า และได้รับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ในวันนี้ ได้ท่องพระปรมาภิไธยถวายเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก มีพระราชดำรัสขอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยจากเสด็จป้าและโปรดให้ขึ้นเฝ้าเวลาเสวยกลางวันที่ห้องเสวยแปดเหลี่ยมพระที่นั่งวิมานเมฆ ขณะประทับเสวย โปรดให้พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยนั่งบนพระเพลา และบางทีก็ทรงป้อนของเสวยพระราชทานด้วย''
 
''วันหนึ่งมีพระราชดำรัสถามว่า เรียกพระองค์ท่านว่าอย่างไร พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยกราบทูลว่า เรียกว่า "พระเจ้าอยู่หัว" รับสั่งว่า "ข้าเป็นลุงจะเรียกว่ากระไร" พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยกราบทูลว่า จะเรียกว่า "พระเจ้าลุง" ก็เป็นที่สบพระราชหฤทัย พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยจึงได้เรียกพระองค์เช่นนั้นเสมอ
''
 
''ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2439 ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้ทำเสมาพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ประดับเพชรขึ้น เพื่อพระราชทานพระราชนัดดา ก็ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเป็นพิเศษ แม้พระราชนัดดาก็มิได้พระราชทานทั่วทุกพระองค์''
 
''เมื่อพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยชันษาสมควรจะเข้าโรงเรียน จึงโปรดเกล้าฯ ให้เข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และโปรดให้ตามเสด็จออกข้างหน้าพร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอ
''}}
 
พระบิดาและหม่อมมารดาของพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ได้สิ้นพระชนม์ และถึงอนิจกรรมเสียแต่เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้เข้าศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงตั้งแต่พระชนม์ได้ 6 ปี และทรงได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนราชวิทยาลัย สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เมื่อพระชนม์เพียง 12 ปี ใน พ.ศ. 2454 ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเป็นนักเรียนส่วนพระองค์ออกไปศึกษาวิทยาการ ณ ประเทศอังกฤษ ได้ทรงเริ่มการศึกษาชั้นประถม ณ โรงเรียน Torquay Preparatory School เป็นเวลา 2 ปี ใน พ.ศ. 2456 จึงได้เลื่อนไปทรงศึกษาชั้นมัธยม ณ วิทยาลัย Cheltenham College อีก 3 ปี ได้ทรงรับประกาศนียบัตรชั้นมัธยมศึกษาชั้นสูงของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และเคมบริดจ์ ใน พ.ศ. 2459 เพื่อทรงศึกษา ณ วิทยาลัยมอดดะเลน (Magdalene College) เมื่อได้ทรงสอบไล่ได้รับปริญญาเกียรตินิยมชั้นสองในวิชาประวัติศาสตร์ (B.A.) ต่อจากนั้นได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2462 ได้เข้าศึกษา ณ วิทยาลัย École des Sciences Politiques แห่งกรุงปารีสอีก 1 ปี จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยใน พ.ศ. 2463