ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41:
ภายหลังจากการจากไปของบิสมาร์ค วิลเฮลมท์ที่ 2 ทรงได้เข้าควบคุมนโยบายประเทศของพระองค์โดยตรง และริเริ่มโครงการ"เส้นทางใหม่" ที่ดูก้าวร้าวเพื่อประสานสถานะในฐานะมหาอำนาจของโลกที่ได้รับการยอมรับนับถือ ต่อมาในช่วงรัชสมัยของพระองค์ เยอรมนีได้ครอบครองดินแดนในจีนและแปซิฟิก (เช่น อ่าว Kiautschou [[หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา]] และ[[หมู่เกาะแคโรไลน์]]) และกลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของยุโรป อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงมักจะทำลายความก้าวหน้าดังกล่าวโดยการกล่าวข่มขู่ต่อประเทศอื่น ๆ และแสดงความคิดเห็นต่อมุมมองของพวกหวาดกลัวชาวต่างชาติโดยไม่ปรึกษารัฐมนตรีของพระองค์ ในทำนองเดียวกัน ระบอบการปกครองของพระองค์ได้สร้างความแปลกแยกจากชาติมหาอำนาจอื่น ๆ ของโลก โดยการริเริ่มสร้างกองทัพเรือขนาดใหญ่ ท้าทายการควบคุมโมร็อกโกของฝรั่งเศส และการสร้างสายรถไฟผ่านกรุงแบกแดด ซึ่งเป็นการคุกคามต่อการปกครองของบริติชใน[[อ่าวเปอร์เซีย]] ดังนั้น ในสองทศวรรษของศตวรรษที่ 20 เยอรมนีสามารถพึ่งพาประเทศที่อ่อนแอกว่าอย่าง[[ออสเตรีย-ฮังการี]] และ[[จักรวรรดิออตโตมัน]]ที่กำลังเสื่อมถอยในฐานะพันธมิตร
 
การปกครองที่โกลาหลของวิลเฮลม์ที่ 2 ได้สิ้นสุดลงด้วยการรับประกันของเยอรมนีในการสนับสนุนทางทหารแก่ออสเตรีย-ฮังการีในช่วง[[วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม|วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914]] หนึ่งในสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้นำในยามสงครามที่ดูจะไม่แน่วแน่ พระองค์ได้ละทิ้งการตัดสินพระทัยเกือบทั้งหมดเกี่ยวกับกลยุทธ์และการจัดระเบียบต่อความพยายามในการทำสงครามไปยัง[[คณะเสนาธิการใหญ่ (เยอรมนี)|คณะเสนาธิการใหญ่]]ของ[[กองทัพบกเยอรมัน (จักรวรรดิเยอรมัน)|กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน]] ภายในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1916 การมอบหมายอำนาจอย่างกว้างขวางนี้ส่งผลให้เกิด[[เผด็จการทหาร]]โดยพฤตินัยซึ่งครอบงำนโยบายระดับชาติในช่วงที่เหลือของความขัดแย้ง แม้จะได้รับชัยชนะเหนือรัสเซียและได้รับผลประโยชน์อย่างมากในยุโรปตะวันตก แต่เยอรมนีได้ถูกบังคับให้สละดินแดนที่พิชิตมาได้ทั้งหมด ภายหลังจากความปราชัยอย่างย่อยยับของกองทัพในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ภายหลังจากทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระจักรพรรดิมาเป็นเวลา 30 ปี จาก 47 ปี ของการคงอยู่ของจักรวรรดิเยอรมัน จนในที่สุด วิลเฮลม์ที่ 2 ทรงสูญเสียการสนับสนุนจากทหารและราษฏร์จำนวนมาก จักรวรรดิเยอรมันได้ถูกเปลี่ยนจากระบอบกษัตริย์มาเป็น[[สาธารณรัฐไวมาร์|สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี]] อันเป็นผลมาจาก[[การปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918–1919|การปฏิวัติเยอรมัน]]ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งในขณะนั้น วิลเฮลม์ได้สละราชบัลลังก์และเสด็จลี้ภัยไปยังเนเธอร์แลนด์ พระองค์ยังคงอยู่ที่นั้นในช่วง[[ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทนีเดอร์ลันด์|การยึดครองของเยอรมัน]]ใน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] และสวรรคตในปี ค.ศ. 1941
 
== พระราชประวัติ ==