ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
'''จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2''' ({{lang-de|Wilhelm II}}) หรือพระนามเต็มคือ '''ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม วิคทอร์ อัลแบร์ท แห่งปรัสเซีย''' ({{lang-de|Friedrich Wilhelm Viktor Albert von Preußen}}) ทรงเป็น[[จักรพรรดิเยอรมัน]] (''[[ไคเซอร์]]'') และ[[กษัตริย์แห่งปรัสเซีย|พระมหากษัตริย์แห่งปรัสเซีย]]องค์สุดท้าย ขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1888 และทรงสละราชบัลลังก์ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 แม้จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับตำแหน่งของเยอรมนีในฐานะมหาอำนาจด้วยการสร้าง[[บลู-วอเตอร์เนวี]](การสงครามทะเล) และส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ แต่คำแถลงการณ์ต่อสาธารณชนของพระองค์ทำให้เกิดปฏิปักษ์ต่อประชาคมระหว่างประเทศอย่างมากและมีหลายคนมองว่านโยบายการต่างประเทศของพระองค์เป็นสาเหตุหนึ่งของการปะทุของ[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] เมื่อความพยายามในการทำสงครามของเยอรมันได้ล่มสลายลง ภายหลังจากความปราชัยอย่างย่อยยับในแนวรบด้านตะวันตก ในปี ค.ศ. 1918 พระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ จึงเป็นอันสิ้นสุดลงของการปกครองมากว่าสามร้อยปีของ[[ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น]]
 
พระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาองค์ใหญ่ใน[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร]] พระภราดรคนแรกของวิลเฮลม์รวมถึง[[พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร]] และเจ้าหญิงหลายพระองค์ พร้อมกับ[[เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย|เจ้าหญิงโซเฟีย]] พระขนิษฐาของวิลเฮลม์ ได้กลายเป็นพระราชินีแห่งยุโรป ตลอดชีวิตของพระองค์ก่อนที่จะกลายเป็นจักรพรรดิ พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทลำดับที่สองในการสืบทอดตำแหน่งต่อจากพระอัยกา [[จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี|วิลเฮ็ล์มที่ 1]] ในราชบัลลังก์แห่งเยอรมันและปรัสเซีย ต่อจากพระบิดาของพระองค์คือ [[จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี|ฟรีดริชที่ 3]] พระอัยกาและพระบิดาของพระองค์ได้สวรรคตในปี ค.ศ. 1888 ซึ่งเป็นปีแห่งจักรพรรดิสามพระองค์ และวิลเฮล์มได้ขึ้นครองราชย์ในฐานะจักรพรรรดิเยอรมัน และ[[กษัตริย์แห่งปรัสเซีย|พระมหากษัตริย์แห่งปรัสเซีย]] เมื่อ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1888 ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1890 พระองค์ได้ปลดนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจมายาวชองนานของจักรวรรดิเยอรมันอย่าง [[อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค]]
 
ภายหลังจากการจากไปของบิสมาร์ค วิลเฮลมท์ที่ 2 ทรงได้เข้าควบคุมนโยบายประเทศของพระองค์โดยตรง และริเริ่มโครงการ"เส้นทางใหม่" ที่ดูก้าวร้าวเพื่อประสานสถานะในฐานะมหาอำนาจของโลกที่ได้รับการยอมรับนับถือ ต่อมาในช่วงรัชสมัยของพระองค์ เยอรมนีได้ครอบครองดินแดนในจีนและแปซิฟิก (เช่น อ่าว Kiautschou [[หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา]] และ[[หมู่เกาะแคโรไลน์]]) และกลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของยุโรป อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงมักจะทำลายความก้าวหน้าดังกล่าวโดยการกล่าวข่มขู่ต่อประเทศอื่น ๆ และแสดงความคิดเห็นต่อมุมมองของพวกหวาดกลัวชาวต่างชาติโดยไม่ปรึกษารัฐมนตรีของพระองค์ ในทำนองเดียวกัน ระบอบการปกครองของพระองค์ได้สร้างความแปลกแยกจากชาติมหาอำนาจอื่น ๆ ของโลก โดยการริเริ่มสร้างกองทัพเรือขนาดใหญ่ ท้าทายการควบคุมโมร็อกโกของฝรั่งเศส และการสร้างสายรถไฟผ่านกรุงแบกแดด ซึ่งเป็นการคุกคามการปกครองของบริติชใน[[อ่าวเปอร์เซีย]] ดังนั้น ในสองทศวรรษของศตวรรษที่ 20 เยอรมนีสามารถพึ่งพาประเทศที่อ่อนแอกว่าอย่าง[[ออสเตรีย-ฮังการี]] และ[[จักรวรรดิออตโตมัน]]ที่กำลังเสื่อมถอยในฐานะพันธมิตร