ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิงเงอบอร์ก มักนุสด็อทเทอร์แห่งสวีเดน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 38:
สมเด็จพระราชินีอิงเงอร์บอร์กทรงได้รับการบรรยายว่า ทรงมีพระสิริโฉมงดงามและอ่อนโยน มีบทเพลงบรรยายถึงการที่พระนางทรงขอให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษในวันอภิเษกสมรสของพระนาง และเพลงร่วมสมัยทั้งในเดนมาร์กและสวีเดนต่างสรรเสริญในพระเมตตาและความยุติธรรมของพระนาง<ref name="Jorgensen, Ellen & Skovgaard, Johanne">Jorgensen, Ellen & Skovgaard, Johanne, ''[https://archive.org/stream/danskedronnigerf00jorg/danskedronnigerf00jorg_djvu.txt Danske dronniger; fortaellinger og karakteristikker af Ellen Jorgensen og Johanne Skovgaard]'', Kobenhavn H. Hagerup, 1910</ref> พระนางทรงเป็นสมเด็จพระราชินีที่ได้รับความนิยมในเดนมาร์ก พระนางมักจะทรงถูกเรียกว่า "gode Frue" (กอเดอ ฟรูเออ หรือ 'the Good Lady' แปลว่า ท่านหญิงคนดี)<ref name="Jorgensen, Ellen & Skovgaard, Johanne"/>
 
ไม่มีหลักฐานบันทึกว่าพระนางทรงเกี่ยวข้องใดๆ ในทางการเมืองหรือไม่ พระสวามีของพระนางเป็นพันธมิตรกับกษัตริย์บีร์เกอร์แห่งสวีเดน พระอนุชาของพระนาง และมาร์ธาแห่งเดนมาร์ก พระขนิษฐาในพระสวามี ก็ได้เป็นสมเด็จพระราชินีสวีเดนจากการเสกสมรสกับพระอนุชาของพระนาง ซึ่งช่วยเหลือกันในความขัดแย้งการช่วงชิงราชบัลลังก์สวีเดน ในเหตุการณ์[[กลเกมฮาตูนา]] กษัตริย์บีร์เกอร์และพระราชินีมาร์ธา ถูกเหล่าพระอนุชาจับกุม พระโอรสของทั้งสองพระองค์คือ เจ้าชายมักนุส บีร์เกอร์สันแห่งสวีเดนได้หลบหนีออกมาได้ในปีค.ศ. 1306 ซึ่งกษัตริย์อีริคที่ 6 และพระราชินีอิงเงอร์บอร์กจึงทรงช่วยเหลือไว้ในราชสำนักเดนมาร์ก และหลังจากนั้นกษัตริย์บีร์เกอร์และพระราชินีมาร์ธาได้เสด็จลี้ภัยจากการรัฐประหาร หลังจากพพระองค์ทรงก่อเหตุการณ์[[งานเลี้ยงที่นีเคอปิงนูเชอปิง]]ในปีค.ศ. 1318 ซึ่งกษัตริย์บีร์เกอร์ทรงล้างแค้นเหล่าพระอนุชาโดยจับกุมให้อดอาหารสิ้นพระชนม์ในที่คุมขัง ฝ่ายทายาทของพระอนุชาได้ยึดอำนาจและเจ้าชายมักนุส บีร์เกอร์สันแห่งสวีเดนพยายามกลับเข้าไปชิงอำนาจคืนในสวีเดน แต่ถูกจับกุมและตัดพระเศียรในปีค.ศ. 1320 โดยกลุ่มการเมืองของ[[อิงเงอร์บอร์กแห่งนอร์เวย์|เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งนอร์เวย์]]
 
สมเด็จพระราชินีอิงเงอร์บอร์กทรงมีพระประสูติกาลพระโอรส 8 พระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระนางทรงแท้งพระบุตร 6 ครั้ง แม้ว่าบางแหล่งข้อมูลกล่าวว่าทรงแท้งพระบุตรในช่วงระหว่าง 8 - 14 ครั้ง การทรงพระครรภ์หลายครั้งนำมาซึ่งการแท้ง หรือมีพระประสูติกาลแต่พระบุตรสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์