ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Adisak007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
Adisak007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 29:
ออมบุดสแมนจะใช้วิธีการชักชวน โน้มน้าวมติมหาชน เพื่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้นำไปแก้ไขอีกทีหนึ่ง ดังนั้น ข้อเสนอแนะของออมบุดสแมนจึงมักจะมีน้ำหนัก และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เป็นปัญหาและอุปสรรค เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนเป็นสำคัญ
ออมบุดสแมนของสวีเดนได้เป็นแบบอย่างที่ประเทศต่างๆ นำไปใช้อย่างแพร่หลาย เริ่มต้นจากประเทศฟินแลนด์ (ค.ศ. 1919) เดนมาร์ก (ค.ศ.1954) เยอรมดีตะวันตก (ค.ศ.1957) นิวซีแลนด์ (ค.ศ. 1962) นอร์เวย์ (ค.ศ. 1963) สหราชอาณาจักร (ค.ศ.1967) สหรัฐอเมริกาโดยมลรัฐฮาวายเป็นมลรัฐแรกที่จัดตั้งออมบุดสแมน ในปี ค.ศ. 1967 และต่อมาก็มีการจัดตั้งในรัฐโอเรกอน (Oregon) มลรัฐไอโอวา (Iowa)
มลรัฐเนบราสกา (Nebraska) และมลรัฐเซาท์คาโรไลน่า (South Carolina) ในแคนาดาโดยมลรัฐอัลเบอร์ตา (Alberta) เป็นมลรัฐแรกที่จัดตั้งออมบุดสแมน <ref>ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. แนวคิดผู้ตรวจการรัฐสภาเพื่อการพัฒนาทางการเมืองในระบอบรัฐสภา. วิทยานิพนธ์ หน้า1-2. 2534</ref>
นอกจากนั้นยังมีองค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับออมบุดสแมน ได้แก่ คณะกรรมาธิการสืบสวนที่ได้รับการแต่งตั้งโดยกฎหมายของมลรัฐยูท่าห์ (Utah) มลรัฐมิชิแกน และมลรัฐโคโรลาโดในสหรัฐอเมริกา ออมบุดสแมนที่ทำหน้าที่เฉพาะในการควบคุมเจ้าหน้าที่ตำรวจในอิสราเอล องค์การเพื่อบริการด้านสุขภาพแห่งชาติในอังกฤษ <ref>ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. แนวคิดผู้ตรวจการรัฐสภาเพื่อการพัฒนาทางการเมืองในระบอบรัฐสภา. วิทยานิพนธ์ หน้า 2. 2534</ref> กระทรวงการตรวจสอบ (Ministry of Supervision) ในสาธารณรัฐประชาชนจีน กระทรวงมหาดไทยและคมนาคม (MIC : Ministry of Internal Affairs and Communication) ในญี่ปุ่น เป็นต้น