ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PanImage (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Adisak007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 21:
 
ผู้ตรวจการแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560]</ref>
 
คำว่า “Ombudsman” หรือ “ออมบุดสแมน” ในภาษาสวีดีช หมายถึง “ผู้แทน” หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการตรวจการ หรือกระทำการต่างๆ ในประเทศอังกฤษ เรียกว่า “Parliamentary Commissioner of Administration” เป็นบุคลากรหรือองค์กรทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครอง สำหรับประเทศไทย “ผู้ตรวจการ” ดัดแปลงมาจากคำว่า “ผู้ตรวจราชการ” (Inspector) ซึ่งในวิชาบริหารถือว่าเป็นผู้ช่วยผู้บริหารชั้นสูง คอยตรวจแนะนำ (ไม่ใช่สืบสวนเพื่อเอาผิด) แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการเอง <ref>ศาสตร์ตราจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์. “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา: การทำงานภายใต้กรอบจำกัดของรัฐธรรมนูญ” วารสารผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 ตุลาคม2546 – มีนาคม 2547</ref>
 
ตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน มีกำเนิดเริ่มต้นมาจากประเทศสวีเดน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1809 โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของฝ่ายรัฐสภา ดูแลควบคุมการปฏิบัติงานของข้าราชการประจำหรือฝ่ายบริหาร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามภาระหน้าที่ของแต่ละฝ่าย รับฟังและตรวจสอบข้อกล่าวหาของพลเรือนที่มีต่อรัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล รวมทั้งมีอำนาจที่จะดำเนินการสอบสวนหรือไกล่เกลี่ย รวบรวมข้อเท็จจริงและเสนอให้รัฐสภาพิจารณา ตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินนี้เรียกเป็นทางการว่า Justitie-Ombudsman หรือผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อความยุติธรรม (Ombudsman for Justice) โดยทั่วไปเรียกเป็นคำย่อว่า JO หมายถึงผู้ตรวจการแผ่นดินฝ่ายตุลาการทำหน้าที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความถูกต้องตามข้อเท็จจริง ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินของสวีเดนคนแรกชื่อ Baron Lars Augustin Mannerheim <ref>เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายรัฐสภา ซึ่งทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ค.ศ. 1809 และถือว่าเป็นผู้นำของพรรครัฐธรรมนูญ (Constitutional Party)</ref> ได้รับการแต่งตั้งเมืองปี ค.ศ. 1810
 
ออมบุดสแมน โดยอำนาจหน้าที่ของตนเองแล้ว จะไม่เข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรง
ออมบุดสแมนจะใช้วิธีการชักชวน โน้มน้าวมติมหาชน เพื่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้นำไปแก้ไขอีกทีหนึ่ง ดังนั้น ข้อเสนอแนะของออมบุดสแมนจึงมักจะมีน้ำหนัก และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เป็นปัญหาและอุปสรรค เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนเป็นสำคัญ
ออมบุดสแมนของสวีเดนได้เป็นแบบอย่างที่ประเทศต่างๆ นำไปใช้อย่างแพร่หลาย เริ่มต้นจากประเทศฟินแลนด์ (ค.ศ. 1919) เดนมาร์ก (ค.ศ.1954) เยอรมดีตะวันตก (ค.ศ.1957) นิวซีแลนด์ (ค.ศ. 1962) นอร์เวย์ (ค.ศ. 1963) สหราชอาณาจักร (ค.ศ.1967) สหรัฐอเมริกาโดยมลรัฐฮาวายเป็นมลรัฐแรกที่จัดตั้งออมบุดสแมน ในปี ค.ศ. 1967 และต่อมาก็มีการจัดตั้งในรัฐโอเรกอน (Oregon) มลรัฐไอโอวา (Iowa)
มลรัฐเนบราสกา (Nebraska) และมลรัฐเซาท์คาโรไลน่า (South Carolina) ในแคนาดาโดยมลรัฐอัลเบอร์ตา (Alberta) เป็นมลรัฐแรกที่จัดตั้งออมบุดสแมน
นอกจากนั้นยังมีองค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับออมบุดสแมน ได้แก่ คณะกรรมาธิการสืบสวนที่ได้รับการแต่งตั้งโดยกฎหมายของมลรัฐยูท่าห์ (Utah) มลรัฐมิชิแกน และมลรัฐโคโรลาโดในสหรัฐอเมริกา ออมบุดสแมนที่ทำหน้าที่เฉพาะในการควบคุมเจ้าหน้าที่ตำรวจในอิสราเอล องค์การเพื่อบริการด้านสุขภาพแห่งชาติในอังกฤษ กระทรวงการตรวจสอบ (Ministry of Supervision) ในสาธารณรัฐประชาชนจีน กระทรวงมหาดไทยและคมนาคม (MIC : Ministry of Internal Affairs and Communication) ในญี่ปุ่น เป็นต้น
 
 
 
== ประวัติ ==