ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Portalian (คุย | ส่วนร่วม)
Portalian ย้ายหน้า เทศบาล ไปยัง เทศบาลในประเทศไทย: ตามหน้าพูดคุย
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{เขตการปกครองของประเทศไทย}}
[[ไฟล์:Surat Thani town hall.jpg|thumb|200px|สำนักงาน[[เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี]]]]
'''เทศบาล''' เป็นรูปแบบ[[การปกครองส่วนท้องถิ่น]]รูปแบบหนึ่งที่ใช้ใน[[ประเทศไทย]]ปัจจุบัน การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเองตามระบอบ[[ประชาธิปไตย]] เกิดขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 ([[พ.ศ. 2440]]) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ [[ร.ศ. 116]] ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล[[สุขาภิบาลท่าฉลอม]] [[ร.ศ. 124]] ([[พ.ศ. 2448]]) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปี [[พ.ศ. 2475]] ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการกระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
 
โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี [[พ.ศ. 2476]] โดยมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลหลายแห่ง ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล [[พ.ศ. 2496]] ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ทั้งหมดขณะนี้ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) [[พ.ศ. 2543]] ในปัจจุบันเทศบาลทั่วประเทศมีจำนวนประมาณสองพันแห่ง
 
[[4 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2532]] กระทรวงมหาดไทยได้มีการประกาศ กำหนดให้ [[24 เมษายน]] เป็น[[วันเทศบาล]]
 
การปกครองท้องถิ่นได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การปกครองท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นรูปใดก็ยังไม่เข้มแข็งพอแต่พอจะเป็นหลักได้บ้างก็คือการปกครองท้องถิ่นรูปแบบของ[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]และเทศบาลเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลหลายรัฐบาลได้พยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่หลายครั้ง โดยมีการทดลองรูปแบบ[[เมืองพัทยา]]แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงกลับมาดำเนินการในรูปแบบเทศบาล โดยให้เมืองพัทยาบริหารตามรูปแบบของ[[เทศบาลนคร]] ในปัจจุบันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้สามารถรวมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดให้เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดได้ดังนี้