ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวสักกะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ= เทพในศาสนาพุทธ|สำหรับ= เทพองค์เดียวกันในศาสนาฮินดู|ดูที่= พระอินทร์}} {{พุทธศาสนา}} thumb|left|เมื่อครั้งที่[[พระโคดมพุทธเจ้า|พระสิทธัตถะยังบำเพ็ญทุกรกิริยาก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามพุทธประวัติกล่าวว่า ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณสามสายเพื่อเตือนสติไม่ให้พระสิทธัตถะทรมานตนจนเกินไป ทำให้พระสิทธัตถะทรงได้พระสติรำลึกขึ้นว่า การดำเนินตามทางสายกลางน่าจะเป็นทางที่จะทำให้ต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{พุทธศาสนา}}
[[ไฟล์:Ascetic Bodhisatta Gotama with the Group of Five.jpg|thumb|left|เมื่อครั้งที่[[พระโคดมพุทธเจ้า|พระสิทธัตถะ]]ยังบำเพ็ญทุกรกิริยาก่อนจะตรัสรู้เป็น[[พระสัมมาสัมพุทธเจ้า]] ตามพุทธประวัติกล่าวว่า ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณสามสายเพื่อเตือนสติไม่ให้พระสิทธัตถะทรมานตนจนเกินไป ทำให้พระสิทธัตถะทรงได้พระสติรำลึกขึ้นว่า [[มัชฌิมาปฏิปทา|การดำเนินตามทางสายกลาง]]น่าจะเป็นทางที่จะทำให้ตรัสรู้ได้มากกว่าการทรมานตนเอง]]
'''สักกะ''' ({{lang-pi|''सक्क, สกฺก''}}) หรือ '''ศักระ''' ({{lang-sa|शक्र}} ''ศกฺร''; ความหมาย: ผู้องอาจ ผู้สามารถ) เป็นชื่อของ[[เทพ]]ผู้ปกครองสวรรค์ชั้น[[ดาวดึงส์]]ใน[[จักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ]] ปรากฏนามในภาษาบาลีว่า ''สกฺโก เทวานํ อินฺโท'' ({{lang-sa|शक्रो देवानं इन्द्रः}} ''ศกฺโร เทวานํ อินฺทฺรห์'') หมายถึง "สักกะผู้เป็นใหญ่เหนือทวยเทพทั้งหลาย"<ref name=autogenerated1>[http://www.palikanon.com/english/pali_names/sa/sakka.htm Sakka<!-- Bot generated title -->]</ref> ในคัมภีร์ทาง[[ศาสนาพุทธ]] คำว่า "สักกะ" ถือเป็น[[วิสามานยนาม]] ไม่อาจใช้เรียกเทพองค์อื่นได้ ในทางตรงกันข้าม คำว่า ''อินฺท'' (ภาษาบาลี) หรือ ''อินฺทฺร'' (ภาษาสันสกฤต) ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่" ใช้หมายถึงท้าวสักกะอยู่บ่อยครั้ง เทพสักกะมักเรียกขานว่า "ท้าวสักกเทวราช" หรือย่อว่า "ท้าวสักกะ"{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
 
ในวัฒนธรรม[[เอเชียตะวันออก]] ท้าวสักกะเป็นที่รู้จักในนาม "ตี้ซื่อเทียน" (帝釋天) หรือ "ซื่อถีหฺวันอิน" <!--ห ว ควบกล้ำ--> (釋提桓因) ใน[[ภาษาจีน]] และ "ไทชะกุเท็น" (帝釈天) ใน[[ภาษาญี่ปุ่น]] สำหรับใน[[ประเทศจีน]]แล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบว่าท้าวสักกะคือ[[เง็กเซียนฮ่องเต้]] (玉皇大帝) หรือจักรพรรดิหยกใน[[ลัทธิเต๋า]] ด้วยถือว่าเทพทั้งสององค์นี้มีวันประสูติเป็นวันเดียวกัน คือ ในวันที่ 9 เดือนที่ 1 ตาม[[ปฏิทินจันทรคติจีน]] (โดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตาม[[ปฏิทินสุริยคติ]])