ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kantiphong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
== พระราชประวัติ ==
=== สมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 1 ===
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี มีพระนามเดิมว่า '''พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทบุรี''' เป็นพระราชธิดาใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]กับเจ้าจอมมารดาทองสุก พระราชธิดาพระเจ้าอินทวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ แห่งราชอาณาจักรลาว ประสูติเมื่อ ปีมะเมีย พ.ศ. 2341<ref name="ราชสกุลวงศ์"/> เมื่อพระชันษาได้ 5 ปี เจ้าจอมมารดาทองสุกก็ถึงแก่พิราลัย เมื่อประมาณ ปีกุนเบญจศก พ.ศ. 2346
 
เมื่อพระชันษาได้ 9 ปี มีอุปัทวเหตุเกิดขึ้น คือ เรือพระที่นั่งแตก แต่ทรงรอดพระชนม์มาได้ราวปาฏิหาริย์ แต่พระองค์กลับทรงลอยทุ่นเกาะไว้ไม่ทรงจม พระราชบิดาทรงสงสารและทรงพระกรุณามากขึ้น อีกทั้งประการหนึ่ง คือ เจ้าจอมมารดาเจ้าทองสุกนั้นก็ได้ถึงแก่พิราลัยไปเมื่อเจ้าฟ้าหญิงฯ มีพระชันษาได้เพียง 6 ปีเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นให้เป็น'''สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า''' และได้มีพระราชพิธีโสกันต์เต็มตามอย่างสมเด็จพระเจ้าฟ้าพระราชกุมารีเป็นครั้งแรกของ[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ในครั้งนั้น{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาพระองค์เจ้าจันทบุรีขึ้นเป็นเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เมื่อ พ.ศ. 2347 เพราะเป็นพระนัดดาของพระเจ้านครเวียงจันทน์ ความปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ว่า
บรรทัด 29:
{{คำพูด|ครั้นถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินลงไปทรงลอยพระประทีป พระเจ้าลูกเธอพระองค์หญิงพระองค์หนึ่ง ปรากฏพระนามว่า พระองค์เจ้าจันทบุรี พระชนม์ได้ 6 พรรษา ตามเสด็จลงไปที่พระตำหนักแพ เมื่อเวลาจุดดอกไม้ รับสั่งว่าประชวรพระเนตรอยู่ ให้กลับขึ้นไปพระราชวังเสียก่อน พระองค์เจ้าหญิงนั้นก็เสด็จกลับขึ้นมาถึงเรือบัลลังก์กับตำหนักแพต่อกัน พลาดตกลงน้ำหายไป พี่เลี้ยงนางนมร้องอื้ออึงขึ้น คนทั้งปวงตกใจพากันลงน้ำเที่ยวค้นหา จึงพบพระองค์เจ้าลูกเธอพระองค์นั้นเกาะทุ่นหยวกอยู่ท้ายน้ำ หาได้เป็นอันตรายไม่ เป็นอัศจรรย์ จึงมีพระราชโองการดำรัสว่า พระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ เจ้าจอมมารดาก็เป็นบุตรเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต สิ้นชีพเสียแต่เมื่อปีกุนเบญจศก (2) แต่พระชนม์พระองค์เจ้าได้ 5 พรรษา ไม่มีมารดา ทรงพระกรุณามาก พระองค์เจ้านี้อัยกาก็เป็นเจ้าประเทศราชยังดำรงชีพอยู่ ควรจะสถาปนาให้มีอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า ครั้น ณ วันอาทิตย์ เดือน 12 ขึ้น 2 ค่ำ จึงโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีเฉลิมพระนาม ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันจันทร์ เดือน 12 ขึ้น 3 ค่ำ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี แล้วมีงานสมโภชอีก 3 วัน}}
 
ในปีนั้น [[พระเจ้าอินทวงศ์]] ซึ่งเป็นอัยกาของสมเด็จพระเจ้าลุกเธอลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดียวดี ป่วยถึงแก่พิราลัย ณ เดือน 3 ขึ้น 8 ค่ำ ครองเมืองได้ 10 ปี โปรดให้ข้าหลวงเชิญศุภอักษรและพระราชทานโกศและสิ่งของพระราชทานเพลิงขึ้นไปปลงศพเสร็จแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งเจ้าอนุผู้น้อง ให้ครองนครศรีสัตนาคนหุตล้านช้างต่อไป
 
ในจดหมายเหตุความทรงจำซึ่ง [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงสันนิษฐานว่า เป็นจดหมายเหตุความทรงจำของ[[พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี]] มีข้อความกล่าวถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีว่า
 
''"ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีชวดฉศก พระองค์เจ้าพระชันษา 7 ขวบ ตามเสด็จลงที่นั่งบัลลังก์ตกหว่างเรือไม่จมลอยพระองค์ได้ โปรดประทานพระนามใหม่ สมโภชเจ้าฟ้ากุณฑล 3 วัน เฉลิมพระขวัญพร้อมพระญาติวงศ์ข้าราชการสมโภชถ้วนหน้า"''
 
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หัวอยู่หัว]] ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า "พระองค์เจ้าองค์นี้มีนามว่า จันทบุรี ตามชื่อเมืองเวียงจันทน์ ในจดหมายเหตุเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่าตกหลังเรือบัลลังก์ การสมโภชแต่ก่อนมีเฉพาะเจ้าฟ้าทั้งประสูติและโสกันต์"
 
=== พระราชพิธีโสกันต์ ===
บรรทัด 44:
ณ เดือน 4 ขึ้น 15 ค่ำ แรม 1 ค่ำ 2 ค่ำ เวลาบ่ายตั้งกระบวนแห่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เสด็จทรงยานุมาศตั้งแต่เกยในพระราชวัง ออกประตูราชสำราญมาตามถนนริมกำแพงพระราชวัง มาเข้าประตูพิมานไชยศรี แล้วประทับเกยกำแพงแก้วด้านบุรพาทิศพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เสด็งลงจากพระยานุมาศ แล้วเสด็จทางผ้าขาวลากขึ้นบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงสดับพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ 3 วัน แล้ว ณ วันศุกร์ เดือน 4 แรม 3 ค่ำ เวลาเช้าแห่มาโสกันต์ที่พระบรมมหาปราสาท แล้วเสด็จกลับทางประตูท้ายที่ทรงบาตรที่ชาลาพระมหาปราสาทข้างใน แล้วจึงทรงพระเสลี่ยงน้อยขับไม้พราหมณ์นำเสด็จ พระยาศรีธรรมาธิราช พระยาธรรมา พระยาบำเรอภักดิ์ พระยาอนุรักษ์มณเฑียร คู่เคียง 2 คู่เคียงพระเสลี่ยงมาทรงสรงน้ำที่สระอโนดาตที่เชิงเขาไกรลาศ สรงแล้วเสด็จประทับพลับพลาทรงเครื่องเสด็จขึ้นบนเขาไกรลาศ จึงเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์แต่งพระองค์ทรงฉลองพระองค์ครุย ทรงชฎาเดินหน สมมติว่าเป็นพระอิศวรเสด็จลงมาแต่พระมณฑปใหญ่ยอดเขาไกรลาศ ทรงรับพระกรที่ชั้นทักษิณทิศตะวันตกกลางบันไดนาค จูงพระกรขึ้นไปบนเขาไกรลาศประทานพร แล้วนำเสด็จลงมาส่งที่เกยด้านตะวันออก เสด็จพระยานุมาศแห่เวียนประทักษิณเขาไกรลาศ 3 รอบ แล้วแห่กลับมาตามทางออกประตูพิมานไชยศรี ไปเข้าในพระราชวังทางประตูราชสำราญ ครั้นเวลาบ่ายตั้งกระบวนแห่มาสมโภชต่อไปอีก 2 วัน ณ เดือน 4 แรม 6 ค่ำ เป็นวันที่ 7 จึงแห่พระเกศาไปลอยเป็นเสร็จการโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี}}
 
จบข้อความใน[[พระราชพงศาวดาร]]กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับการโสกันต์ สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีแต่เพียงเท่านี้ นอกจากนั้นยังปรากฏข้อความเกี่ยวกับโสกันต์สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้ในหนังสือจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนริทรเทวี พร้อมด้วยพระราชวิจารณ์ใน [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 อีก มีข้อความดังต่อไปนี้
 
{{คำพูด|ณ เดือนหก ปีเถาะนพศก ตั้งเขาไกรลาสแห่โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑล ทรงเครื่องต้นประดับพระองค์ทรงพระมหามงกุฎ สมมุติวงศ์อย่างเทพอัปสร สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระอัยกาจูงพระกรเสด็จขึ้นยอดเขาไกรลาส กรมขุนอิศรานุรักษ์เป็นพระอิศวร ทรงพระมหากฐินทรงประดับ (หรือทรงประพาส) เครื่องต้นเป็นพระอิศวรประสาทพร สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระอัยกาจูงพระกรขึ้นไปส่งถึงยอดเขา พระอิศวรรดน้ำสังข์ทักษิณาวัฏแล้วประสาทพระพร เจ้าบุตรแก้วรับพระกรลงจากยานุมาศขึ้นเกยพระมหาปราสาท}}
 
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้ทรงพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุดังกล่าวไว้ว่า
 
{{คำพูด|โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลนี้ คลาดปีกันอยู่กับในพงศาวดารปีหนึ่ง รายการที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเลื่อนลอยมาก ดูเหมือนแลดูตัวอย่างใหม่ๆกล่าวประจบให้เป็นเก่า ที่จนอั้นก็อั้นทีเดียว เช่น ทำเขาไกรลาศที่ไหนไม่รู้ ชี้แผนที่วังไม่ถูก ว่าไปทรงเสลี่ยงทางประตูท้ายที่ทรงบาตรที่ชาลาพระมหาปราสาทข้างในไปที่สระอโนดาต ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ในพงศาวดารไม่ได้กล่าวว่า ใครจูงทีเดียว ในพงศาวดารว่าถึงกรมขุนอิศรานุรักษ์แต่งพระองค์ว่า ทรงชฎาเดินหน ทรงฉลองพระองค์ครุย เห็นจะเห็นกรมพระบำราบปรปักษ์ เมื่อครั้งโกนจุกลูกหญิงศรีวิไลย แต่เชื่อว่าคงจะทรงเครื่องต้นจริงตามที่กล่าวไว้ในหนังสือนี้ เพราะมีตัวอย่างเมืองเครื่องต้นทพแล้วเสร็จ พระราชทานให้เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ทรง เมื่อแห่ผนวชเป็นคราวแรกเพราะพระองค์ของท่านไม่ได้ทอดพระเนตรเห็น อยากทอดพระเนตรกรมขุนเสนานุรักษ์ และกรมขุนอิศรานุรักษ์นี้ว่างามนักทั้งสองพระองค์ เห็นจะโปรดให้ทอดพระเนตรยังมีตัวอย่างต่อมาอีก ในรัชกาลที่ 3 โปรดให้พระองค์เจ้าลักขณานุคุณทรงเมื่อแห่ผนวชรัชกาลที่ 3 นี้ ถ้าไม่มีตัวอย่างท่านคงไม่ทรงริขึ้น ในชั้นต้นที่จะสอบสวนเรื่องโสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลนี้
 
ได้ดูจดหมายเหตุเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ซึ่งกรมหลวงชำระไว้อื่นๆก็ได้ความชัดเจน แต่ข้อที่เขาไกรลาสตั้งแห่งใดไม่ปรากฏ กับมีข้อความที่จะแปลว่ากระไรไม่ได้คือ "ณ วันศุกร์ เดือน 4 แรม 3 ค่ำ เพลาเช้า แห่มาโสกันต์ที่พระมหาปราสาท แล้วเสด็จกลับทางประตูท้ายที่ทรงบาตรที่ชาลาพระมหาปราสาทข้างใน" อีกข้อซึ่งกล่าวว่า "เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์แต่งพระองค์ ทรงฉลองพระองค์ครุย ทรงชฎาเดินหน" ข้อความที่คัดลงในจดหมายเหตุนี้ ปรากฏว่าได้คัดในร่างหมายซึ่งยังมีอยู่โดยมาก เว้นไว้แต่ความ 2 ข้อที่กล่าวมานี้ ผู้อ่านหมายไม่เข้าใจหรือเอาปากไวเอาการใหม่ปนการเก่าก็จะเป็นได้ ในร่างหมายนี้เองมีตัวแก้ไขจากลายมือเดิมหลายแห่ง กลัวจะต้องตำรากระทรวงวัง ถ้าจะมีการอะไร เอาร่างหมายเก่าออกมาตกแทรงวงกา แล้วให้เสมียนคัดขึ้นเป็นหมายใหม่ จึงเลอะเทอะไปก็มี การที่จะอ่านต้องเข้าใจ ในที่นี้จะเก็บข้อความจากหมายเก่าเอาแต่สิ่งที่สำคัญควรสังเกต
บรรทัด 70:
สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีโสกันต์ได้ปีเดียว สมเด็จพระชนกนารถก็เสด็จสวรรคต
 
[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เสด็จสวรรคตเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2352 เวลาสิ้นรัชกาลที่ 1 นั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีมีพระชนม์ได้ 11 พรรษา [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ 2 เมื่อพระชนมพรรษาได้ 42 พรรษา
 
ไม่มีพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยาวดีที่จะดูได้ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการฉายภาพในประเทศไทยและก็ไม่มีภาพเขียนอันเป็นฉายาลักษณ์ของพระองค์จะดูพระรูปโฉมโนมพรรณของพระองค์ว่า ทรงพระสิริรูปโฉมงามโสภาคย์เพียงใด แต่เมื่อเปรียบสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีว่า เป็นนางบุษบา ความงามของนางบุษบานั้น มีปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ไว้เองว่า
บรรทัด 89:
 
=== พระมเหสีในรัชกาลที่ 2 ===
ต่อมาในรัชกาลที่ 2 ได้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระ[[มเหสี]] ที่ '''สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี''' เมื่อก่อน พ.ศ. 2359 พระชนมายุได้ประมาณ 17 หรือ 18 พรรษา ที่กล่าวว่าก่อน พ.ศ. 2359 นั้น เพราะเหตุว่าเจ้าฟ้าอาภรณ์พระโอรสพระองค์แรกประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 5 แรม 7ค่ำ ตรงกับวันที่ 19 เมษายน ปีชวด พ.ศ. 2359 จึงพอสันนิษฐานได้ว่า พระองค์ได้เป็นพระมเหสีใน [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] เมื่อพระชนมายุได้ 17 หรือ 18 พรรษา ดังได้กล่าวมาแล้ว
 
กล่าวกันว่า เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีนั้นเปรียบเหมือนนางบุษบาวตีวตี ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ส่วน[[สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี|สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์]] พระอัครชายาเดิม คือ เจ้าฟ้าบุญรอด นั้นเปรียบเหมือนนางจินตหรา ดังปรากฏข้อความอยู่ในหนังสือพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ พ.ศ. 2509 ตอนหนึ่งว่า
 
{{คำพูด|เจ้านายชั้นผู้ใหญ่พระองค์หนึ่งทรงเล่าว่า กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์นั้นทรงอยู่ในฐานะแม้นละม้ายคล้ายจินตหราในเรื่องอิเหนา เพราะเหตุที่เป็นพระประยูรญาติเรียงพี่เรียงน้อง หากแต่เป็นพระมเหสีดั้งเดิมจึงได้อยู่ฝ่ายขวา ส่วนเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีเป็นพระน้องนางเธอร่วมพระชนกเดียวกัน ได้เป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 จึงต้องอยู่ฝ่ายซ้าย คล้ายบุษบาขององค์อิเหนาหรือระเด่นมนตรี ซึ่งที่แท้ก็คือ พระองค์ผู้ทรงพระนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั่นเอง เมื่อองค์ระเด่นมนตรีทรงมีทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาดังนี้ ก็เป็นธรรมดาที่ฝ่ายขวาจะต้องขึ้งโกรธและทรงระทมตรมตรอม นัยเดียวกันกับพระราชนิพนธ์ที่ว่า " เมื่อนั้น จินตหราวาตีมีศักดิ์ ฟังตรัสขัดแค้นฤทัยนัก สบัดพักตร์ผินหลังไม่บังคม " เหตุการณ์เป็นเช่นนี้เรื่อยๆมา ในที่สุดกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ก็เสด็จหนีไปประทับ ณ พระราชวังเดิม กรงธนบุรี มีเจ้าฟ้าพระองค์น้อย คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวติดต้อยตามเสด็จไปเป็น "ลูกแม่" คอยปลอบประโลมพระทัยให้คลายเศร้า แต่เจ้าฟ้าพระองค์น้อยหรือฟ้าน้อยก็ยังคงวิ่งไปวิ่งมาระหว่างพระชนกกับชนนีระหว่างกรุงเทพฯกับธนบุรี จนกระทั่งพระชนม์ได้ 12 ปี 6 เดือน ได้รับพระราชพิธีเต็มตามพิธีใหม่ชั้นเจ้าฟ้า}}
บรรทัด 102:
 
=== พระชนมชีพในรัชกาลที่ 3 ===
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]เสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อมา เป็นรัชกาลที่ 3 มีพระปรมาภิไธยย่อว่า [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสวยราชสมบัติอยู่เป็นเวลา 27 ปีจึงเสด็จสวรรคต
 
เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 2 [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] เสด็จสวรรคตนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีมีพระชนมายุได้ 26 พรรษา ได้ทรงทำนุบำรุงเลี้ยงเจ้าฟ้าพระราชโอรส 3 พระองค์ต่อมาด้วยความลำบากอย่างยิ่ง ในเรื่องการศึกษาของเจ้าฟ้าพระโอรสนั้นปรากฏว่า ได้ทรงมอบให้[[สุนทรภู่]]เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรมาแต่ปลายรัชกาลที่ 2 กล่าวคือ ในปลายรัชกาลที่ 2 โปรดให้ท่านสุนทรภู่เป็นครูสอนหนังสือถวายพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอาภรณ์ เป็นผลให้ชาติไทยได้มีกลอนอมตะอยู่ ณ ทุกวันนี้ คือ "สวัสดิรักษา" ซึ่งสุนทรภู่แต่งถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์และเพลงยาวถวายโอวาทซึ่งแต่งถวายเจ้าฟ้ากลาง เรื่องสวัสดิรักษานั้นขึ้นต้นว่า
 
<center>"สุนทรทำคำสวัสดิรักษา
บรรทัด 127:
 
 
เรื่อง "สวัสดิรักษา" นี้สันนิษฐานกันว่า คงจะแต่งขึ้นถวายระหว่าง พ.ศ. 2364 - 2367 ก่อน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]เสด็จสวรรคต นอกจากนั้นสันนิษฐานกันว่า ท่านสุนทรภู่จะได้เริ่มแต่งเรื่อง[[สิงหไตรภพ]]ตอนต้น ๆ ถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ในตอนนี้ด้วย เพราะมีคำกล่าวไว้ในเรื่องรำพันพิลาปของสุนทรภู่เอง เมื่อพูดถึงเจ้าฟ้าอาภรณ์ สุนทรภู่เรียกพระนามแฝงว่า "พระสิงหไตรภพ"
 
แต่ต่อมาในรัชกาลที่ 3 นี้ เนื่องจาก[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ไม่โปรดท่านสุนทรภู่ เจ้านายและผู้มีบรรดาศักดิ์ก็ไม่มีพระองค์ใดกล้าชุบเลี้ยงเกื้อหนุนโดยเปิดเผย ด้วยเกรงจะเป็นฝ่าฝืนพระราชนิยมใน[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] แม้เจ้าฟ้าอาภรณ์ซึ่งเป็นศิษย์ก็ต้องทำเพิกเฉยมึนตึง ท่านสุนทรภู่จึงได้กล่าวความข้อนี้ไว้ในเพลงยาวถวายโอวาทเจ้าฟ้ากลางด้วยความน้อยใจ คือ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์]] และเจ้าฟ้าปิ๋วตอนหนึ่งว่า
 
<center>"สิ้นแผ่นดินสิ้นบุญของสุนทร ฟ้าอาภรณ์แปลกพักตร์อาลักษณ์เดิม"</center>
บรรทัด 151:
พระยอดฟ้าสององค์จงเจริญ"</center>
 
อนึ่ง ในจดหมายเหตุเก่าเรื่อง "ว่าด้วยคำพูดของคนชั้นเก่า" มีว่า [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รับสั่งเรียกเจ้าฟ้าอาภรณ์ว่า "หนูอาภรณ์" รับสั่งเรียกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ว่า "เจ้าหนูกลาง" และรับสั่งเรียกองค์ปิ๋วว่า "เจ้าหนูปิ๋ว" ดังนี้
 
เมื่อท่านสุนทรภู่ออกบวชแล้ว ต่อมาในปีฉลู พ.ศ. 2372 สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีก็ทรงฝากเจ้าฟ้ากลาง คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ กับเจ้าฟ้าปิ๋ว ซึ่งเวลานั้นพระชันษาได้ 11 ปีพระองค์หนึ่ง 8 ปีพระองค์หนึ่ง ให้เป็นศิษย์ท่านสุนทรภู่ เหมือนอย่างเจ้าฟ้าอาภรณ์ได้เคยเป็นศิษย์มาในรัชกาลที่ 2 แล้วสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีก็ทรงส่งเสียอุปการะท่านสุนทรภู่ต่อมาในชั้นนั้น นอกจากนั้นสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑทิพยวดียังได้ทรงฝากเจ้าฟ้าพระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ให้เป็นศิษย์สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ คือ [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะนั้นผนวชอยู่วัดบวรนิเวศวรวิหารอีกด้วย
บรรทัด 157:
ในรัชกาลที่ 3 นี้ พระโอรสพระองค์ใหญ่ คือ เจ้าฟ้าอาภรณ์ได้เริ่มรับราชการ คือ ได้ทรงช่วยกำกับกรมพระคชบาล เจ้าฟ้ากลาง (เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์) ได้รับราชการในกรมวัง ส่วนเจ้าฟ้าชายปิ๋วนั้นไม่ปรากฏว่าได้ทรงรับราชการแต่อย่างใด เพราะยังทรงพระเยาว์
 
อนึ่ง ในรัชกาลที่ 3 นั้น เจ้านายชั้นเจ้าฟ้าชายซึ่งเป็นพระราชโอรสรัชกาลที่ 2 พระองค์สำคัญมีเพียง 5 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เวลานั้นผนวชอยู่ตลอดรัชกาลที่ 3 พระองค์หนึ่ง สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งในรัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ได้ว่ากรมทหารปืนใหญ่พระองค์หนึ่ง เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นี้ เป็นเจ้าฟ้าพระโอรสในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี และมีพระชันษาแก่กว่าเจ้าฟ้า 3 พระองค์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
 
=== สิ้นพระชนม์ ===
บรรทัด 171:
 
== ชีวิตส่วนพระองค์ ==
สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีมีเจ้าฟ้าด้วยกันกับ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รวมด้วยกัน 4 พระองค์ สิ้นพระชนม์เสียในรัชกาลสมเด็จพระชนกนารถพระองค์หนึ่ง คงพระชนม์ชีพต่อมา 3 พระองค์ เป็นเจ้าฟ้าชาย เจ้าฟ้าทั้ง 3 พระองค์นี้ ในรัชกาลที่ 2 เรียกกันว่าพระองค์ใหญ่ พระองค์กลาง และพระองค์ปิ๋วทั้งสิ้น เพิ่งมาเรียกพระองค์ใหญ่ว่า เจ้าฟ้าอาภรณ์ กันในรัชกาลที่ 3
 
สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีได้ทรงร่วมสุขร่วมทุกข์ ด้วยกันมาด้วย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] จนกระทั่ง[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]พระราชสวามี เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม ปีวอก พ.ศ. 2367 การเสด็จสวรรคตของพระราชสวามีย่อมนำความวิปโยคโศกเศร้าสลดรันทดพระทัยมาสู่พระองค์เป็นอย่างยิ่ง
 
เวลาสิ้นรัชกาลที่ 2 นั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระมเหสีฝ่ายซ้ายพระชนมายุได้ 26 พรรษา วัยเบญจเพสพอดี เจ้าฟ้าพระราชโอรสพระองค์แรกคือเจ้าฟ้าอาภรณ์มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา พระองค์ที่สองคือ เจ้าฟ้ากลาง คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ มีพระชนมายุได้ 5 พรรษา พระองค์ที่สามคือ เจ้าฟ้าปิ๋ว พระชนมายุได้ 2 พรรษา พระองค์ย่อมทรงได้รับความลำบากอย่างแสนสาหัส เพราะพระโอรสยังทรงพระเยาว์มากทั้งสิ้น