ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kantiphong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kantiphong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
 
== พระประวัติ ==
หลังทรงสำเร็จการศึกษา ทรงเข้ารับราชการในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ต่อมาในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงรับราชการในกรมวัง ดูแลภายในพระบรมมหาราชวังและพิจารณาตัดสินคดีความ กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กรมการศาสนา) ถึงปีกุน พ.ศ. 2394 ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามว่า ''สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อิศวราธิราชรวิวงศ์ บรมพงศ์ปฏิพัทธ์ บุรุษรัตน์วโรภโตสุชาติ บริษัทยนาถนรินทราธิบดี'' ให้ตั้งเจ้ากรมเป็น''กรมหมื่นบำราบปรปักษ์''<ref>''จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1'', หน้า 103</ref> ทรงบังคับบัญชากรมพระภูษามาลาคลังวิเศษคลังข้างใน จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2410 มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมผู้ใหญ่ชั้นกรมขุน ทรงศักดินา 50,000<ref>''จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1'', หน้า 156</ref>
 
ต่อมาในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการพร้อมกันสมมติให้เป็น ผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนักและว่าพระคลังทั้งปวง ต่อมาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี ว่าราชการหัวเมืองต่างๆ และเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ ทรงเป็นประธานของพระบรมวงศานุวงศ์ ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2417 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตรวิวัฒนยโสดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมศาสตร โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษฏิสรรพศุภการ สกลรักษฎาธิกิจปรีชาวตโยฬาร์ ยุติธรรมาทวาธยาศรัย ไตรศรีรัตนธาดา มหันตเดชานุภาพถบพิตร'' ทรงศักดิดา 50,000<ref>''จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1'', หน้า 201</ref>

และในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็น ''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตร วิวัฒนยโศดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมศาสตร์ โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษฏิศุภการสกลรักษฎาธิกิจ ปรีชาวตโยฬารสมบูรณคุณสารสุจริตจริยาภิรมย์ ราชพงศานุกรมมุขประดิษฐาสกลนราภิมานิต นริศราธิบดินทร์ ปรมินทรมหาราชวโรประการ ปรัชาชาญยุติธรรมาชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณคุณารักษ์ บรมอรรคมหาบุรุษยรัตนสุขุมาลกระษัตริย์วิสุทธิชาติ ธรรมิกนาถบพิตร'' ทรงศักดินา 60,000<ref>''จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1'', หน้า 265-266</ref>
 
== สิ้นพระชนม์ ==
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ เริ่มประชวรมาตั้งแต่เดือน 8 ปีจอ อัฐศก (พ.ศ. 2429) มีพระอาการเสวยไม่ได้ บรรทมไม่หลับ ถึงวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พระอาการทรุดลง เสวยได้แต่พระกระยาหารต้มไม่เกินหนึ่งฝาเล็ก ได้พระโอสถแล้วพระอาการทรงมาจนถึงวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ก็ทรุดลงอีก เสวยได้แต่น้ำพระกระยาหารต้ม ครึ่งฝาถ้วยเล็ก พระอาการทรุดลงเรื่อย ๆ ถึงวันอังคารที่ 31 สิงหาคม ทรงอ่อนเพลีย ประชวรพระนาภี ทรงหอบเป็นคราว ๆ พระเนตรมัว พระกรรณตึง จนกระทั่งวันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 1 กันยายน<ref>''ราชสกุลวงศ์'', หน้า 35</ref> ทรงหอบและเพลียมากขึ้น สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 4.25 น. สิริพระชันษา {{อายุปีและวัน|2362|4|24|2429|9|1}} ช่วงบ่าย [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จฯ เสด็จฯพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์มาสรงน้ำพระศพ แล้วโปรดให้เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงพระลอง ตั้งบนแว่นฟ้า ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ เครื่องสูง 9 คัน ชุมสาย 4 คัน พระพิธีธรรม 8 รูป สวดพระอภิธรรมทั้งกลางวันกลางคืน<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=3|issue=24|pages=192|title=ข่าวสิ้นพระชนม์|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/024/191.PDF|date=15 ตุลาคม 2429|accessdate=9 พฤศจิกายน 2560|language=ไทย}}</ref> ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ[[ท้องสนามหลวง]] เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2430
 
== พระโอรส-พระธิดา ==
ทรงมีพระโอรสและพระธิดา จำนวน 11 พระองค์ กับพระชายา จำนวน 1 พระองค์ และหม่อม จำนวน 2 คน ดังนี้<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร|ชื่อหนังสือ=พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี|จังหวัด=กรุงเทพ|พิมพ์ที่=สำนักพิมพ์บรรณกิจ|ปี=พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549|ISBN=974-221-818-8|หน้า=หน้าที่|จำนวนหน้า=360}}</ref>
 
; ประสูติแต่[[พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบันเทิง]] พระราชธิดาใน[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ]]
เส้น 109 ⟶ 111:
****นายรุจิภัตต์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ นางนิดา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ตันปัทมดิลก) มีธิดา 1 คนดังนี้
*****เด็กหญิงอิงกายา มาลากุล ณ อยุธยา
****นายรุจิพงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ นางนัธริกา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม คุโณปการ) มีธิดา-บุตร 2 คน ดังนี้
*****เด็กหญิงแพรปัฏธ์ มาลากุล ณ อยุธยา
*****เด็กชายปรานต์ปิติ มาลากุล ณ อยุธยา
****นางสาวมานวิกา มาลากุล ณ อยุธยา
***'''หม่อมหลวงหญิงภาพิมน (อุ่นใจ) มาลากุล''' เกิดจากนางอนงค์
เส้น 308 ⟶ 312:
***'''หม่อมหลวงหญิงปิยา มาลากุล''' เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง
***'''หม่อมหลวงประกุล มาลากุล''' เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ นางชวนพิศ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม นิมิหุต)
***'''หม่อมหลวงหญิงประอร มาลากุล''' นางสนองพระโอษฐ์ใน '''[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] ในรัชกาลที่ 7''' เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ [[หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์]] มีบุตร 2 คน และกับ ร้อยเอก [[หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์]]
****[[หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์]] เกิดกับหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี
****พลตรี หม่อมหลวงเพิ่มวุทธิ์ สวัสดิวัตน์ เกิดกับหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี