ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Bigdas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
อนุสาวรีย์ก่อสร้างและออกแบบโดย[[หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล]] และมี[[ศิลป์ พีระศรี]]ร่วมกับ[[สิทธิเดช แสงหิรัญ]] เป็นศิลปินผู้ปั้นอนุสาวรีย์<ref name= "TAT" /> อนุสาวรีย์ประกอบด้วย “ปีก” จำนวน 4 ปีก รายล้อมประติมากรรมแสดง[[พานแว่นฟ้า]]วาง[[รัฐธรรมนูญไทย|รัฐธรรมนูญ]]ที่ซึ่งจำลองจากขณะการทูลเกล้าฯ ถวาย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ลงพระปรมาภิไธยเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรไทย องค์ประกอบต่าง ๆ ของอนุสาวรีย์เป็นตัวแทนทางสัญลักษณ์ถึงหลักการและอุมการณ์[[ประชาธิปไตย]]ของ[[คณะราษฎร]]และถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง<ref name= "V">{{cite web |url= https://www.voicetv.co.th/read/223335|title= ความหมายที่ซ่อนอยู่ 'อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย' |author=กองบรรณาธิการ |date=2015-6-24 |website= |publisher= [[วอยซ์ทีวี]] |access-date= 2021-4-9|quote=}}</ref> อนุสาวรีย์ประกอบพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 8 ปี[[การปฏิวัติสยาม]] การก่อสร้างใช้งบประมาณรวม 250,000 บาท<ref name= "R" />
 
เนื่องด้วยชื่อ “ประชาธิปไตย” ของอนุสาวรีย์ วงเวียนนี้จึงมักถูกใช้เป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยหลายครั้ง<ref name= "Nithi">{{cite book |last= เอียวศรีวงศ์ |first= นิธิ|author-link= นิธิ เอียวศรีวงศ์ |date= 2014|title= ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก |url= |location=กรุงเทพมหานคร |publisher= ศิลปวัฒนธรรม|page= |isbn= 9789740213505 }}</ref> เช่น ระหว่าง[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]], [[เหตุการณ์ 6 ตุลา]], [[พฤษภาทมิฬ]], [[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553|วิกฤตการเมือง พ.ศ. 2553]] และ [[การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564|การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย พ.ศ. 2563-2563–64]] เป็นต้น
 
== ประวัติ ==
{{ต้องการอ้างอิง-ส่วน}}
ในสมัย[[แปลก พิบูลสงคราม|แปลก พิบุลสงคราม]]ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีความคิดที่จะจัดสร้างอนุสรณ์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในชาติ และพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญของชาติ ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนี้นำมาซึ่งความสถาพรแก่ชาติ รัฐบาลจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างอนุสาวรีย์ เมื่อพิจารณาที่เหมาะสมนั้น จึงเห็นว่าบริเวณ[[ถนนราชดำเนิน]]ที่กำลังมีการปรับปรุงอยู่ในขณะนั้น เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม ประกอบกับขณะนั้นกำลังมีการก่อสร้าง[[สะพานเฉลิมวันชาติ]]ในบริเวณเดียวกัน การสร้างอนุสาวรีย์จะยิ่งสร้างความสง่างามแก่บ้านเมือง รัฐบาลได้จัดการประกวดการออกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนี้ โดยแบบที่ได้รับรางวัลและนำมาจัดสร้างคือแบบของ[[หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล]]