ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักองค์อี"

เจ้าหญิงกัมพูชา
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{Infobox royalty | name = นักองค์อี | title = บาทบริจาริกาวังหน้า | image = | caption = | succession = | reig...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:22, 17 เมษายน 2564

สมเด็จพระศรีวรวงษ์ราชธิดา บรมบพิตร หรือพระนามเดิม นักองค์อี เป็นพระราชธิดาในพระนารายน์ราชารามาธิบดี หรือนักองค์ตน ประสูติแต่นักนางแป้น หรือแม้น ต่อมาได้ถวายตัวเข้ารับราชการเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

นักองค์อี
บาทบริจาริกาวังหน้า
ประสูติพ.ศ. 2310
สิ้นพระชนม์ไม่ปรากฏ
คู่อภิเษกสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พระราชบุตรพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำพุชฉัตร
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงศ์มาลา
พระบิดาพระนารายน์ราชารามาธิบดี
พระมารดานักนางแม้น
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ

นักองค์อี ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2310 เป็นพระราชธิดาในพระนารายน์ราชารามาธิบดี หรือนักองค์ตน ประสูติแต่นักนางแป้น หรือแม้น น้องสาวออกญาบวรนายก (ซู)[1] หลังพระนารายน์ราชาธิบดีสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2320 เจ้าฟ้าทะละหะ (มู) และออกญากระลาโหม (โสร์) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กรุงกัมพูชา ประกาศถวายพระนามแก่พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่ในพระบรมโกศสองพระองค์ คือ นักองค์เม็ญ พระพี่นางพระองค์ใหญ่ ถวายพระนามเป็นสมเด็จพระมหากระษัตรี และนักองค์อี พระพี่นางพระองค์รอง ถวายพระนามเป็นสมเด็จพระศรีวรวงษ์ราชธิดา บรมบพิตร ใน พ.ศ. 2323[2]

ใน ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา ระบุว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระราชอนุชาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงรับนักองค์เม็ญ นักองค์อี และนักองค์เภาไปเลี้ยงเป็นพระอรรคชายาเมื่อ พ.ศ. 2325[3] แต่ในเอกสารไทยว่านักองค์เม็ญสิ้นพระชนม์ไปเสียก่อนในกรุงเทพมหานคร คงเหลือเพียงนักองค์อีและนักองค์เภาที่รับไปเลี้ยงเป็นพระสนมเอกในกรุงสยาม[4] ส่วนนักนางแม้นที่เข้ามาในกรุงเทพมหานครด้วยกันนั้นก็ได้บวชเป็นชีที่วัดหลวงชี (ต่อมาคือ วัดบวรสถานสุทธาวาส)[5]

นักองค์อีมีพระประสูติการพระธิดาสองพระองค์คือ

  1. พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำพุชฉัตร หรือกัมโพชฉัตร
  2. พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงศ์มาลา หรือวงศ์กษัตริย์

ครั้น พ.ศ. 2350 สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี ตรัสใช้พระองค์แก้ว (ด้วง) และออกญาจักรี (แกบ) นำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่กรุงเทพมหานคร เพื่อขอรับสมเด็จพระปิตุจฉาคือนักองค์อีและนักองค์เภาที่ประทับอยู่กรุงสยามกลับคืนกรุงกัมพูชา เอกสารไทยระบุว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไม่โปรดพระราชทาน เพราะ "มีพระองค์เจ้าอยู่ จะให้ออกไปมิได้มารดากับบุตรจะพลัดกัน"[6] ขณะที่เอกสารเขมรระบุว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าพระราชทานให้ นักองค์เม็ญ นักองค์เภา และพระภัควดีพระเอกกระษัตรีกลับคืนเมืองเขมร เว้นแต่นักองค์อีที่คงให้อยู่กรุงเทพมหานครทั้งมารดาและพระราชบุตร[7]

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 134
  2. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 152
  3. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 160
  4. ไกรฤกษ์ นานา (5 ตุลาคม 2563). "วารสาร "นักล่าอาณานิคม" ตีแผ่สัญญารัชกาลที่ 5 ทำไมสยามสละ "นครวัด" ?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "พระราชวังบวรสถานมงคล". สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 (129. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 181-183
บรรณานุกรม
  • เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563. 336 หน้า. ISBN 978-616-514-668-5