ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าบีทีเอส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Copelonian (คุย | ส่วนร่วม)
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 46:
ต่อมา[[กรุงเทพมหานคร]]อนุมัติสัมปทานการก่อสร้างและจัดการเดินรถให้กับ บริษัท บางกอก ทรานซิส ซิสเท็ม จำกัด หรือ ''บีทีเอส'' (ปัจจุบัน คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)) อันเป็นกิจการค้าร่วมระหว่าง [[บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์|บริษัท ธนายง จำกัด]] (ปัจจุบัน คือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)) ของ[[คีรี กาญจนพาสน์]] กับ [[ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น|บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)]] บริษัท ซิโต จำกัด และ ดิคไคโฮฟฟ์ แอนด์ วิดมันน์ (Dyckerhoff & Widmann AG) จากประเทศเยอรมนี<ref name="bts1992">{{cite web|url= http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=6737 |title=โครงการรถไฟฟ้า กทม. ยืดเยื้อ ธนายงเร่งสัญญาหวั่นพิษการเมือง|date= กรกฎาคม 2535 |website= Gotomanager|publisher= นิตยสารผู้จัดการ|access-date=26 มกราคม 2563 }}</ref> ในช่วงแรกมีการวางแผนให้สร้างอู่ซ่อมบำรุงบริเวณพื้นที่[[สวนลุมพินี]] แต่ปรากฏว่าประชาชนที่ออกกำลังกายในสวนลุมพินีเป็นประจำได้รวมตัวกันประท้วงทางบริษัทว่าเป็นการผิดพระราชประสงค์ของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ที่ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไว้จัดสร้างเพื่อเป็นสวนสาธารณะของประชาชน นอกจากนั้นยังมีการประท้วงขอให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างรถไฟฟ้าจากโครงสร้างยกระดับลอยฟ้าเป็นอุโมงค์ใต้ดิน จึงมีการพิจารณาเปลี่ยนสถานที่ตั้งโรงซ่อมบำรุงอยู่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ว่างในซอยรางน้ำของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณย่านช่องนนทรี หรือบริเวณโรงสูบน้ำพระโขนง ซอยสุขุมวิท 50 แต่แล้วที่สุดกรุงเทพมหานครได้มีการย้ายสถานที่ก่อสร้างอู่ซ่อมบำรุงไปใช้ที่ราชพัสดุของ[[กรมธนารักษ์]] ซึ่งเป็นที่ทำการของ[[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต)|สถานีขนส่งสายเหนือเดิม (สถานีหมอชิต)]] ใกล้กับ[[สวนจตุจักร]] โดยในช่วงแรกก่อนเปิดทำการ รถไฟฟ้าสายนี้ใช้ชื่อว่า '''รถไฟฟ้าธนายง'''<ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=5004 จุดวิกฤตก่อสร้าง บีทีเอส ปี 2541 หมดวาสนาเห็นรถไพฟ้า] นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538 </ref> ตามชื่อบริษัทที่ได้รับสัมปทาน <ref name="bts1992" />
 
รถไฟฟ้าธนายงได้รับการพระราชทานนามอย่างเป็นทางการว่า '''"เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา"''' อันเป็นนามที่ [[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้าธนายงช่วงแรก ได้แก่ช่วงอ่อนนุช-หมอชิต และช่วงสะพานตากสิน-สนามกีฬาแห่งชาติ และยังทรงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ[[ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ|ตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ งานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542]] มาประดิษฐาน ณ จุดสิ้นสุดโครงการทั้งสี่ช่วง จุดกึ่งกลางของโครงการอันได้แก่[[สถานีสยาม]] และที่อาคารสำนักงานใหญ่ของบีทีเอสซี เพื่อให้โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542]] อันเป็นพระราชพิธีมหามงคลยิ่งในปีที่เปิดทำการ โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการเดินรถ และกดปุ่มเปิดระบบรถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25422543 ณ [[สถานีสยาม|สถานีรถไฟฟ้าสยาม]]<ref>นิทรรศการการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถานีหัวลำโพง โครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล</ref> ภายหลังรถไฟฟ้าสายนี้ได้รับการเรียกชื่อจากประชาชนทั่วไปว่า '''รถไฟฟ้าบีทีเอส''' ตามชื่อย่อของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี
 
ต่อมารถไฟฟ้าบีทีเอสได้มีการก่อสร้างส่วนต่อขยายออกไปเพิ่มเติมอีก 5 ระยะ สามระยะแรกเป็นส่วนต่อขยายที่ดำเนินการก่อสร้างโดยกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงตากสิน - เพชรเกษม ระยะที่ 1 จาก[[สถานีสะพานตากสิน]] ถึง[[สถานีวงเวียนใหญ่ (รถไฟฟ้าบีทีเอส)|สถานีวงเวียนใหญ่]] ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้าง[[สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ที่เดิมได้มีการเตรียมพื้นที่พร้อมเสาเข็มไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินที่ถูกยกเลิกสัมปทาน และทางยกระดับช่วงแยกเจริญนคร - วุฒากาศที่เตรียมไว้สำหรับโครงการรถโดยสารลอยฟ้าที่ถูกยุบให้เป็นประโยชน์สูงสุด เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ทำให้เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]สายแรกของประเทศไทย ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ระยะที่ 1 ช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง (ลาซาล) จาก[[สถานีอ่อนนุช]] ถึง[[สถานีแบริ่ง]] ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554<ref>[https://hilight.kapook.com/view/61727 BTS อ่อนนุช-แบริ่ง เปิดวันแม่ฟรีถึงปีใหม่]</ref> และส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงตากสิน - เพชรเกษม ระยะที่ 2 จากสถานี[[วงเวียนใหญ่]] ถึง[[สถานีบางหว้า]] ระยะทาง 5.3 กิโลเมตร เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556 ([[สถานีโพธิ์นิมิตร]]) และ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ([[สถานีตลาดพลู]]) โดยใช้รถไฟฟ้า EMU-A1 จำนวน 2 ขบวนต่อพ่วงเป็นรถ 6 ตู้ ให้บริการแบบ Shuttle Train ที่ชานชาลาที่ 3 เพียงชานชาลาเดียว ก่อนเปิดให้บริการครบทั้งเส้นทางเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556<ref>[https://thinkofliving.com/article/bts-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2-5-%E0%B8%98-%E0%B8%84-55-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-12-%E0%B8%AA-%E0%B8%84-56-15036-%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%86/ BTS ส่วนต่อขยาย ตากสิน-บางหว้า 5 ธ.ค. 55 มาแค่ครึ่งเดียว เปิดเต็มสาย 12 ส.ค. 56]</ref>