ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หอยมือเสือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fridolin freudenfett (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 60:
 
==การใช้ประโยชน์==
[[ภาพ:Tridacna gigasderasa.1001 - Aquarium Finisterrae.JPGjpg|thumb|left|ลูกหอยเสือขนาดเล็กในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ]]
หอยมือเสือ เป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว เนื้อของหอยมือเสือโดยเฉพาะกล้ามเนื้อยึดเปลือก เป็นอาหารซึ่งมีราคาแพง เป็นที่นิยมบริโภคในหลายประเทศ เปลือกใช้ทำเครื่องใช้, เครื่องประดับ รวมทั้ง[[ไข่มุก]] ซึ่งหอยมือเสือก็สามารถให้ได้เหมือนกัน และเป็นไข่มุกที่มีราคาแพงกว่าไข่มุกปกติธรรมดา เนื่องจากมีขนาดใหญ่และหาได้ยากมาก<ref name="แฟน"/> ส่วนหอยมือเสือขนาดเล็กนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลาทะเลสวยงาม จึงทำให้หอยมือเสือถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์มากจนเกินกำลังธรรมชาติจะทดแทนได้ทันในทุกแหล่งการแพร่กระจายจนกระทั่งอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ หรือบางชนิดถูกทำลายจนหมดไปจากบางแหล่ง จึงเป็นหนึ่งในจำนวนสัตว์น้ำที่ได้รับการขึ้นบัญชีในรายชื่อสัตว์และพืชที่ใกล้สูญพันธุ์หรือหายากในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือ CITES และจัดอยู่ในบัญชีสัตว์สงวนและคุ้มครองประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ของกฎหมายไทย
ในน่านน้ำไทยพบหอยมือเสืออยู่ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบทั้งหมด 5 ชนิด<ref>''เปิดโผสัตว์ป่ายอดนิยม ' นางอาย ' อันดับหนึ่ง !'', คมชัดลึก ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน 2546</ref> จำนวนประชากรหอยมือเสือในน่านน้ำไทยในปัจจุบันมีเหลืออยู่ไม่มาก เนื่องจากหอยมือเสือมีแหล่งอาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีระดับน้ำไม่ลึกเพราะต้องอาศัยแสงสว่างในการดำรงชีพเพื่อให้สาหร่ายซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อสามารถสังเคราะห์แสงได้จึงทำให้หอยมือเสือถูกจับขึ้นมาได้ง่าย ปัจจุบัน หอยมือเสือทุกชนิดได้มีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในประเทศไทย โดยชนิดแรกที่เพาะขยายพันธุ์ได้ คือ [[หอยมือเสือเล็บยาว]] (''T. squamosa'')<ref>[http://siamoceanworld.co.th/doc/GiantClam.pdf หอยมือเสือจากสยามโอเชียลเวิลด์]</ref> ส่วนชนิด [[หอยมือเสือยักษ์]] (''T. gigas'') ที่เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดนั้นไม่สามารถเพาะได้เนื่องจากหาพ่อแม่พันธุ์ไม่ได้<ref name="แฟน">''แฟนพันธุ์แท้'', "แฟนพันธุ์แท้แห่งปี 2008 รอบชิงชนะเลิศ" เกมโชว์ทางช่อง 5: วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2552</ref>