ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นีเบอลุงเงินลีท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหมวดหมู่ + เก็บกวาดด้วยสจห.
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Siegfrieds Tod.jpg|250px|thumb|การตายของซีกวร์ด]]
 
'''''นีเบอลุงเงินลีท''''' ({{lang-de|Das Nibelungenlied}}) หรือ '''''บทเพลงของนีเบอลุง''''' เป็นบทกวีมหากาพย์ซึ่งเขียนขึ้นราว ค.ศ. 1200 เขียนในภาษาเยอรมันเก่าสมัยกลาง ({{lang|de|Mittelhochdeutsch}}) เรียบเรียงจากเรื่องเล่าวีรตำนานเยอรมันแบบปากต่อปาก ซึ้งมีต้นกำเนิดบางส่วนจากเหตุการณ์และบุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 6 ก่อนที่จะแพร่ไปทั่วแผ่นดินยุโรปที่พูดภาษาเยอรมัน ใน[[ไอซ์แลนด์]]มีบทกวีเนื้อเรื่องคล้ายแต่เขียนด้วยสำนวนท้องถิ่นที่ชื่อ[[มหากาพย์เวิลซุงงา]] (Völsunga saga)
 
มหากาพย์นีเบอลุงเงินลีทถูกแต่งเป็นบทประพันธ์ยาวบทละสี่บรรทัด เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็นสองส่วน: ส่วนแรกประกอบด้วยโคลง 1142 บท กล่าวถึงตอนที่ซีกวร์ด (หรือซีคฟรีท) เจ้าชายแห่งนครซันเทิน สามารถสังหารมังกรและได้ครอบครองมหาสมบัตินีเบอลุง และได้แต่งงานกับครีมฮิลด์ เจ้าหญิงแห่งราชวงศ์บัวร์กุน ซีกวร์ดช่วยให้กษัตริย์กุนเทอร์ผู้เป็นพี่เขยได้สมรสกับ[[บรึนฮิลเดอ]] กษัตรีย์ผู้ทรงพลานุภาพแห่งอีสลันด์ แต่ต่อมา ซีกวร์ดถูกสังหารโดยฮาเกิน ทหารเอกของกษัตริย์กุนเทอร์ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างครีมฮิลด์และบรึนฮิลเดอ ทั้งสองแย่งชิงตำแหน่งมหาราชินี นำไปสู่สงครามระหว่างเครือญาติ
บรรทัด 8:
ส่วนที่สองประกอบด้วยโคลง 1236 บท กล่าวถึงการล้างแค้นของพระนางครีมฮิลด์และความหายนะของราชวงศ์บัวร์กุน ครีมฮิลด์สมรสใหม่กับกษัตริย์เอ็ทเซิลแห่งชาวฮั่น แล้วเชิญญาติวงศ์ฝั่งราชวงศ์บัวร์กุนมาร่วมงานเลี้ยง ก่อนที่จะสั่งทหารปิดทางเข้าออกห้องโถงและจุดไฟครอก ทุกคนเสียชีวิต หลังจากนั้น ครีมฮิลด์จึงฆ่ากษัตริย์กุนเทอร์และฮาเกิน อัศวินคนหนึ่งเห็นเหตุการณ์ก็รับไม่ได้จึงชักดาบสังหารครีมฮิลด์ เป็นอันจบบริบูรณ์
 
นีเบอลุงเงินได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในบทกวีเยอรมันที่ทรงอำนาจที่สุดของยุคกลาง<ref>{{cite book|last1=Garland|first1=Henry|last2=Garland|first2=Mary|title=The Oxford Companion to German Literature |edition=3 |date=1997 |location=Oxford and New York |publisher=Oxford University |isbn=9780191727412 |chapter=Nibelungenlied}}</ref> ถือเป็นกวีนิพนธ์ที่สำคัญยิ่งในเยอรมนี ออสเตรีย และยุโรปเหนือ<ref>อำภา โอตระกูล. ''บทวิจารณ์หนังสือ มหากาพย์นิเบิลลุงเงิน นิยายอัศวินจากล่มุแม่น้ำไรน์''. วารสารรามคำแหง ฉบับมนษุยศาสตร์ ปีที่ 38 ฉบับที่ 2</ref> นอกจากนี้ยังถูกนำไปสร้างสรรค์นำเสนอใหม่ในหลายรูปแบบ ที่โด่งดังที่สุดก็คือผลงานโอเปร่าชุด ''[[แดร์ริงเด็สนีเบอลุงเงิน]]'' ของ[[ริชชาร์ท วากเนอร์]] ซึ่งแต่งเสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1874 ต้นฉบับตัวเขียนของนีเบอลุงเงินลีทจำนวนสามฉบับได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น[[ความทรงจำแห่งโลก]]โดย[[ยูเนสโก]]เมื่อ ค.ศ. 2009<ref>{{cite web|last1=UNESCO|title=Song of the Nibelungs, a heroic poem from mediaeval Europe|url=http://www.unesco.org/new/en/communication-and-information/memory-of-the-world/register/full-list-of-registered-heritage/registered-heritage-page-8/song-of-the-nibelungs-a-heroic-poem-from-mediaeval-europe/#c183708|website=Memory of the World Register|date=2009|access-date=3 May 2018}}</ref>
 
นีเบอลุงเงินลีท ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 2020 โดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{โครงวรรณกรรม}}
 
[[หมวดหมู่:มหากาพย์]]
[[หมวดหมู่:ตำนาน]]
[[หมวดหมู่:ความทรงจำแห่งโลก]]