ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัชชาแห่งชาติ (การปฏิวัติฝรั่งเศส)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
 
บรรทัด 22:
[[สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)|สภาฐานันดร]]ถูกเรียกประชุมเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 เพื่อรับมือวิกฤตการคลังของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม การแบ่งโครงสร้างทางการเมืองของสภาทำให้การประชุมไม่สามารถดำเนินได้ เนื่องจากก่อนหน้านั้น มีการกำหนดให้ฐานันดรที่หนึ่ง(พระสงฆ์) ฐานันดรที่สอง(ขุนนาง) และฐานันดรที่สาม(ไพร่) มีสิทธิออกเสียงฝ่ายละหนึ่งเสียงเท่ากัน การกำหนดวิธีลงมติแบบนี้จะทำให้ฝ่ายกษัตริย์ซึ่งมีพระสงฆ์และขุนนางหนุนหลังชนะการลงมติเสมอ ทั้งที่ฐานันดรที่สามมีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในสภา ฐานันดรที่สามจึงมิอาจยอมรับกฎนี้และขอแยกไปจัดประชุมเอง
 
การประนีประนอมระหว่างฐานันดรต่างๆไม่เป็นผลสำเร็จ ฐานันดรที่สามจึงเริ่มจัดการประชุมของตนเองขึ้นในวันที่ 28 พฤษภาคม<ref name="FirstRev">[http://www.wsu.edu/~dee/REV/FIRST.HTM The First Revolution] {{webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070427090710/http://www.wsu.edu/~dee/REV/FIRST.HTM |date=2007-04-27 }}, Revolution and After: Tragedies and Forces, World Civilizations: An Internet Classroom and Anthology, Washington State University. Accessed online 14 March 2007.</ref><ref name="Mignet-1">Mignet, Chapter 1</ref><ref name=Mignet-1>Mignet, Chapter 1</ref> พวกซึ่งเรียกตัวเองว่า "ไพร่" (''Communes'') ได้ร่วมกันประกาศคำยืนยันอำนาจที่เป็นอิสระจากองค์กรอื่นๆ ในวันที่ 13 มิถนุายนถนุยน พวกเขาก็เริ่มเรียกที่ประชุมแห่งนี้ว่าสมัชชาแห่งชาติ สภาอิสระที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ได้รับความสนใจจากพวกนายทุนและสามัญชนอย่างมาก สมัชชาแห่งชาติรวมหนี้สินของชาติและราชสำนักเป็น[[หนี้สาธารณะ]]ก้อนเดียว และประกาศยกเว้นการเก็บภาษีเป็นการชั่วคราว คำประกาศเหล่านี้ทำให้นายทุนเกิดความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนสมัชชาแห่งชาติในการจัดประชุมต่อไป สมัชชาแห่งชาติยังจัดตั้งคณะกรรมาธิการปัจจัยยังชีพเพื่อแก้ไขสถานการณ์ขาดแคลนอาหาร<ref name=Mignet-1 />
 
ขุนคลังเอก [[ฌัก แนแกร์]] พยายามเกลี้ยกล่อมพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ใช้อำนาจพักสมัยการประชุมเพื่อให้ฐานันดรต่างๆไปเจรจาปรองดองกัน ในตอนแรกพระเจ้าหลุยส์ทรงตกลงกับเนแกร์ สุดท้ายแล้วกลับไม่มีฐานันดรใดได้รับแจ้งเรื่องจะทรงพักสมัยการประชุมดังกล่าวเลย<ref>{{cite book|last=von Guttner|first=Darius|title=The French Revolution|year=2015|publisher=Nelson Cengage|pages=70}}</ref> เมื่อเหตุการณ์กลับยิ่งสับสนเกินวิสัยแนแกร์ พระเจ้าหลุยส์ไม่สนใจคำแนะนำของเนแกร์อีกต่อไป และหันไปฟังคำพวกองคมนตรีแทน ในวันที่ 19 มิถุนายน พระองค์บัญชาให้ปิดโถงเดตาต์ (''Salle des États'') สถานที่ใช้ประชุมของสมัชชาแห่งชาติ ทำให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติประกาศ[[คำปฏิญาณสนามเทนนิส]] และในวันที่ 23 มิถุนายน ทรงหารือกับองมนตรีเกี่ยวกับการใช้พระราชอำนาจยุบสมัชชาแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม เหล่านายทุนและประชาชนต่างสนับสนุนสมัชชาแห่งชาติอย่างมาก ทำให้ในที่สุด พระเจ้าหลุยส์เริ่มยอมรับในอำนาจของสมัชชาแห่งชาติในวันที่ 27 มิถุนายน