ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาน เซือง เวือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
}}
 
'''อาน เซือง เวือง''' ({{lang-vi|安陽王, ''An Dương Vương''}}) มีชื่อจริงคือ '''ถุก ฟ้าน''' ({{lang|vi|蜀泮, ''Thục Phán''}}) ผู้ปกครองอาณาจักร[[เอิวหลัก]] (ประเทศเวียดนามปัจจุบัน) ตั้งแต่ 257 ถึง 207 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นผู้นำของเผ่า[[เอิวเหวียต]] เขาได้เอาชนะและยึดราชบัลลังก์จาก[[กษัตริย์หุ่ง]]องค์สุดท้าย แห่ง[[ราชวงศ์ห่งบ่าง|อาณาจักรวันลาง]] และได้รวบรวมชนเผ่าที่ยึดมาคือ[[หลักเหวียต]] เข้ากับเอิวเหวียต
 
เขาได้ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ มีเมืองหลวงที่โก๋ลวา สร้างป้อมปราการที่ชื่อ[[ป้อมปราการโก๋ลวา]] จนกระทั่งในช่วง 208 ปีก่อนคริสต์ศักราช กองทัพจีนแห่ง[[ราชวงศ์ฉิน]]นำโดยแม่ทัพจีน [[เจี่ยวด่า]] ได้รุกรานเอิวหลัก เมืองหลวงโก๋ลวาถูกโจมตี พระราชวังถูกปล้นสะดม อาน เซือง เวือง ต้องหลบหนีออกจากเมืองหลวงและตัดสินใจฆ่าตัวตาย
บรรทัด 26:
[[ไฟล์:Bản đồ Văn Lang & Nam Cương.JPG|thumb|left|300px|แผนที่อาณาจักรเวียดนามโบราณ {{color box|#FFE135}} (ดินแดนสีเหลือง) คือ อาณาจักรวันลาง (Văn Lang) ปกครองโดยราชวงศ์ห่งบ่าง
{{color box|#4AFF00}} (ดินแดนสีเขียว) คือ อาณาจักรนามเกือง (Nam Cương) ปกครองโดยอาน เซือง เวือง ซึ่งได้รวมอาณาจักรวันลางเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ต่อมาได้กลายมาเป็นอาณาจักรเอิวหลัก (Âu Lạc) ]]
ตามบันทึกประวัติศาสตร์เวียดนาม ''[[ดั่ยเหวียตสือกี๊ตว่านทือ]]'' ({{lang|vi|大越史記全書, ''Đại Việt sử ký toàn thư''}}) และ ''[[เคิมดิ่ญเหวียตสือทงซ้ามเกืองหมุก]]'' ({{lang|vi|欽定越史通鑑綱目, ''Khâm định Việt sử Thông giám cương mục''}}) ได้ระบุไว้ว่า ถุก ฟ้าน เป็นเจ้าชาย[[ชาวจีนฮั่น]]จาก[[แคว้นฉู่]] ({{Zh-all|c=[[wikt:蜀|蜀]]}}, อ่านออกเสียงว่า '''ถุก''' ในภาษาเวียดนาม)<ref>[https://books.google.com/books?id=rCl_02LnNVIC&pg=PA19&dq=an+duong+vuong+shu&hl=en&sa=X&ei=Kbz2Ud-UN7XF4APh1oG4BQ&ved=0CCwQ6AEwAA#v=onepage&q=an%20duong%20vuong%20shu&f=false Taylor (1983), p. 19]</ref><ref>[https://books.google.com/books?id=qB21AAAAIAAJ&q=In+257+B.C.+An+Duong+Vuong+dethroned+the+last+Hung+king,+and+the+kingdom+of+Van+Lang+ceased+to+exist.+Traditional+Vietnamese+historiography+relates+that+An+Duong+Vuong+came+from+Pa+Shu+(usually+thought+to+be+in+modern+Sichuan).&dq=In+257+B.C.+An+Duong+Vuong+dethroned+the+last+Hung+king,+and+the+kingdom+of+Van+Lang+ceased+to+exist.+Traditional+Vietnamese+historiography+relates+that+An+Duong+Vuong+came+from+Pa+Shu+(usually+thought+to+be+in+modern+Sichuan).&hl=en&sa=X&ei=X7z2Uc7bOtHD4AOo6ICwBA&ved=0CC4Q6AEwAA ''Asian Perspectives'', Volume 28, Issue 1 (1990), p. 36]</ref> ตรงกับในช่วง[[ยุครณรัฐ]]ใน[[ประวัติศาสตร์จีน]] ถุก ฟ้าน ได้ถูกส่งไปเดินทางสำรวจยังดินแดนรัฐต่าง ๆ ของจีนโดยพ่อของเขา เพื่อสำรวจดินแดนทางภาคใต้ของจีนใน[[เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง|กว่างซี]]และ[[มณฑลยูนนาน|ยูนนาน]] ต่อมาถก ฟ้านได้นำผู้คนอพยพและย้ายไปตั้งรัฐใหม่ที่บริเวณตอนเหนือของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเวียด เมื่อบรรดารัฐต่าง ๆ ของจีนถูก[[ราชวงศ์ฉิน]]รวบรวม โดยมี[[จิ๋นซีฮ่องเต้]]เป็นผู้นำ
 
นักประวัติศาสตร์เวียดนามสมัยใหม่บางกลุ่มได้มีความเชื่อกันว่า ถุก ฟ้าน มาถึงดินแดนของชนเผ่า[[เอิวเหวียต]] (บริเวณเวียดนามตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกวางตุ้งและจังหวัดภาคใต้ของกว่างซี ซึ่งมีเมืองหลวงใน[[จังหวัดกาวบั่ง]]ในปัจจุบัน)<ref>[https://books.google.com/books?id=Jskyi00bspcC&pg=PA13 1]</ref> มีการวิเคราะห์กันในหมู่นักประวัติศาสตร์เวียดนามว่า ถุก ฟ้านอาจจะเป็นชาวจีนที่นำกองทัพเข้ามาปกครองชาวเวียดนามและตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งเวียดนามเสียเอง หลังจากนั้นได้รวบรวมกองทัพและได้เอาชนะราชวงศ์ที่ 18 ของกษัตริย์หุ่ง แห่ง[[ราชวงศ์ห่งบ่าง]] หรือ '''[[วันลาง]]''' ประมาณ 257 ปีก่อนคริสตกาล ถุก ฟ้าน ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์มีพระนามว่า '''อาน เซือง เวือง''' และได้เปลี่ยนชื่ออาณาจักรจากวันลาง เป็น '''[[เอิวหลัก]]''' พระองค์ได้สร้างป้อมปราการและเมืองหลวงใหม่ขึ้นเหนือหุบเขา[[แม่น้ำแดง]] ที่ [[ป้อมปราการโก๋ลวา|เมืองโก๋ลวา]] (ในปัจจุบันคือเขตด่งอาน บริเวณเมือง[[ฮานอย]] ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์)<ref>{{Citation |publisher=Lonely Planet |title=Vietnam |last=Ray |first=Nick |author2-last=Balasingamchow |author2-first=Yu-Mei |display-authors=1 |date=2010 |isbn=9781742203898 |url=https://books.google.co.uk/books?id=ZqOLmYD-0l4C&pg=PA123 |contribution=Co Loa Citadel |p=123 |ref={{harvid|Ray|2010}} }}.</ref>