ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล)''' เป็นสมุหนายกในสมัยพ...
 
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล)''' เป็น[[สมุหนายก]]ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] เป็นต้นสกุล รัตนกุล
 
นามเดิม คือ กุน เป็นบุตรจีนกุ๋ย (จีนแต้จิ๋ว แซ่อึ้ง ชาวเมือง[[ราชบุรี]]) ได้รับราชการตั้งแต่สมัยในแผ่นดิน[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]จนถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก่อนที่จะรับราชการเคยเป็นพ่อค้าสำเภามาก่อน ได้ทำการค้าจนร่ำรวยเป็นเจ้าสัว มีสำเภาหลายลำ ซึ่งมักนำสำเภามาจอดรับสินค้าหรือซ่อมบำรุงบริเวณด่านขนอนอยู่เป็นประจำและได้สร้างศาลาขึ้นมาอยู่ชายน้ำ ศาลานี้เรียกว่า ''ศาลาเจ้าสัวกุน'' หรือ ''ศาลาเจ้าคุณกุน'' เรียกชุมชนบริเวณนั้นว่า บ้านศาลากุน จนได้นำชื่อชุมชนมาเรียกชื่อเกาะ คือ ''เกาะศาลากุน'' ซึ่งต่อมาคือ [[เกาะเกร็ด]]<ref>{{cite web |title=เกาะศาลากุน |url=https://oer.learn.in.th/search_detail/result/219658#oer_data |publisher=คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด}}</ref>
 
ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นพระราชประสิทธิ์ ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ได้เลื่อนยศเป็นพระยาศรีพิพัฒน์<ref>{{cite web |title=การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก |url=https://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%92/%E0%B9%97-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%81}}</ref> ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 2 ระบุว่าได้เป็นพระยาพระคลัง หรือเรียกว่า ''ท่านท่าเรือจ้าง'' เพราะท่านเป็นผู้ชำนาญในการแต่งสำเภาออกไปค้าขายที่เมืองจีน จนได้ชื่อว่าเศรษฐีสำเภา ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายวัด อาทิ [[วัดใหญ่ (จังหวัดสมุทรสงคราม)|วัดใหญ่]] [[จังหวัดสมุทรสงคราม]] ซึ่งเคยอยู่ใกล้กับบ้านเรือนของท่าน และวัดในจังหวัดนนทบุรี อย่าง วัดหัวเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) วัดกลางเมือง ([[วัดกลางบางซื่อ]]) และ[[วัดท้ายเมือง]]<ref>''กรมพระราชวังหลัง'' (กรุงเทพฯ : อมรโปรดักส์, 2534. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี ม.ล. จวง เสนีวงศ์ 30 ก.ค. 2534). หน้า 151.</ref>