ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอซิส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8621168 สร้างโดย 182.232.117.115 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 27:
เทพธอทให้คำแนะนำพร้อมยื่นข้อเสนอแก่เทพีนุตว่า หากพระองค์สามารถมีโอรสธิดาให้เทพราได้ พระนางจะต้องมอบความรักให้แก่เทพธอท เทพีนุตตอบตกลงในคำนั้น เทพธอทจึงได้ไปท้าพนันกับเทพคอนชูผู้เป็นเทพพระจันทร์ซึ่งรักการพนันเป็นชีวิตจิตใจ เทพธอททำทีแสร้งเดินหมากกันกับเทพคอนชูจนหลงลืมวันคืน ซึ่งเทพคอนชูไม่ทันรู้เล่ห์กล จึงเปล่งแสงอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งแสงมีมากพอเท่ากับแสงจากพระอาทิตย์จำนวน 5 วัน เทพธอทจึงยกเลิกการเล่นหมากกับเทพคอนชู
 
หลังจากนั้นเป็นต้นมา แสงจากเทพคอนชูจึงมีไม่มากเพียงพอ ทำให้เทพคอนชูจำเป็นต้องลดแสงลงบ้างในเวลาตอนกลางคืน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของข้างขึ้นข้างแรมในปัจจุบันนั่นเอง ตั้งแต่นั้นมา เทพธอทก็นำแสงที่นอกเหนือจากแสงอาทิตย์ของเทพรา มาสร้างเป็นวันจำนวน 5 วัน ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้เทพีนุตตั้งครรถ์ได้ครรภูได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เทพีนุตให้กำเนิดเหล่าเทพเทพีจำนวน 5 องค์ อันได้แก่
 
1. วันที่หนึ่ง เทพีนุตให้กำเนิด เทพโอซีริส ผู้เป็นเทพกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ทำให้การถือกำเนิดครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งสรวงสวรรค์
บรรทัด 43:
จนกระทั่งในครั้งหนึ่ง เทพีไอซิสคิดอยากจะให้เทพโอซิริสได้ขึ้นครองบัลลังก์ไอยคุปต์ นางจึงใช้สติปัญญาของตนล่อลวงเทพรา จนทำให้เทพราหลงบอกพระนามจริงแก่เทพีไอซิส ซึ่งหากผู้ใดล่วงรู้ จะทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุนี้ พระนางจึงต้องยอมสละบัลลังก์และมอบฤทธิ์ให้แก่เทพโอซิริส
 
เมื่อเทพโอซิริสได้ขึ้นตำแหน่งเป็นเทพราชาแล้ว พระองค์จึงจัดอภิเษกสมรสให้ตนเองและเทพีไอซิส และแต่งตั้งให้เทพีไอซิสเป็นพระราชินีเคียงคู่พระองค์ ซึ่งในสมัยของเทพโอซิริสและเทพีไอซิส เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์รุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ทั้งสองพระองคืรงพระองค์ทรงสั่งสอนประชาชนให้เรียนรู้อารยธรรม และการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆต่าง ๆมากมาย ทำให้เหล่าราษฏรทั้งหลายต่างเคารพนับถือในเทพเทพีทั้งสองเป็นอย่างมาก
 
เรื่องราวความรักและความรุ่งเรืองของเทพทั้งสอง อยู่ในสายตาของเทพเซตผู้มีความอิจฉาริษยาเทพผู้พี่นี้มาตลอด เทพเซตคิดว่าตนจะต้องขึ้นครองราชย์เป็นพระราชาให้ได้ จึงทำการสังหารเทพโอซิริส แล้วใส่โลงลอยตามแม่น้ำไนล์ไป เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เทพีไอซิสกับเทพโอซิริสต้องแยกจากกัน  พระนางจึงเกิดความเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก
บรรทัด 57:
เทพีไอซิสต้องการแก้เผ็ดเทพเซตจึงแปลงกายเป็นเทพีเนฟธิส เพื่อขอคำสาบานจากเทพเซตว่าจะไม่ทำร้ายโอรสของพระนางอีก จนกว่าโอรสของพระนางทำร้ายท่าน ซึ่งจะทำให้เทพโฮรัสสามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้ครั้งอย่างสำเร็จและปลอดภัยจนกว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ด้วยความที่เทพเซตคิดว่าเทพีเนฟธิสเป็นผู้พูด เทพเซตจึงตกปากรับคำสาบานนั้นไป ทันใดนั้นเอง เทพีไอซิสแปลงกายกลับสู่ร่างเดิม ทำให้เทพเซตโกรธแค้นเป็นอย่างมาก
 
หลังจากที่ติดตามหาชิ้นส่วนของเทพโอซิริสมาตลอดหลายปีด้วยความทุกข์ทรมานใจ เทพีไอซิสก็สามารถตามหาชิ้นส่วนได้จนครบ และนำชิ้นส่วนกลับมาประกอบพิธีศพได้อีกครั้ง โดยมีเทพอานูบิส เทพแห่งความตาย (โอรสที่เกิดจากเทพีเนฟธิสผู้หลงรักเทพโอซิริส โดยพระนางได้แปลงกายเป็นเทพีไอซิส และมอมสุราเทพโอซิริสจนเกิดเป็นเทพอานูบิสขึ้นมา แต่บางตำราก็ว่า เทพอานูบิสเป็นโอรสของเทพีเนฟธิสกับเทพเซตนั่นเอง) เป็นผู้ทำพิธีศพให้ โดยพิธีศพมีการพันผ้ารอบศพและลงน้ำยา จนก่อให้เกิดเป็นมัมมี่นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากประกอบพิธีศพแล้ว  เทพโอซิริสก็สามารถไปถึงดินแดนแห่งความตายได้ พระองค์ได้ขึ้นเป็นใหญ่ถึงขนาดเป็นราชาแห่งโลกของคนตาย
 
เมื่อ[[ฮอรัส|เทพโฮรัส]] (พระองค์มีสัญลักษณ์ คือ นกฟีนิกซ์วิหคอมตะ) ได้ฟื้นขึ้นจากตาย เวลาแห่งการล้างแค้นก็มาถึงเสียที เทพทั้งหลายทั้งเทพบิดา เทพมารดา และเหล่าทวยเทพอีกมากมาย ได้พากันสั่งสอนสิ่งต่างๆต่าง ๆ ให้แก่[[ฮอรัส|เทพโฮรัส]] จนพระองค์นั้นเก่งกาจมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งบู๊และบุ๋น และในที่สุด เทพโฮรัสก็สามารถปราบเทพเซตลงได้ตามคำทำนาย จากนั้นจึงขึ้นเป็นเทพกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งไอยคุปต์ เพื่อครอบครองบัลลังก์อย่างชอบธรรม
 
ผู้คนในอียิปต์เชื่อกันว่า หากบูชาเทพองค์ใดองค์หนึ่งในเทพที่กล่าวมานี้ ก็จะต้องบูชาเทพทั้งสององค์ร่วมด้วย  อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์สืบต่อกันมาว่า ฟาโรห์ที่สิ้นพระชนม์ไปแทนเทพโอซิริส ก็คือ องค์รานีคือเทพีไอซิส และฟาโรห์องค์ถัดมา ก็คือ เทพโฮรัส
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไอซิส"