ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัทศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พอแล้ว
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 9333276 โดย EZBELLAด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 2:
{{ภาษาศาสตร์}}
 
'''สัทศาสตร์''' ({{lang-en|phonetics}}) เป็นสาขาย่อยของ[[ภาษาศาสตร์]]ที่ประกอบด้วยการศึกษาเสียงพูดของมนุษย์ หรือลักษณะที่เทียบเท่ากันของสัญลักษณ์มือในกรณีที่พูดถึง[[ภาษามือ]]{{sfn|O'Grady|2005|p=15}} นักสัทศาสตร์คือนักภาษาศาสตร์ผู้ชำนาญการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของการพูด สัทศาสตร์สนใจวิธีการที่มนุษย์วางแผนและดำเนินการเคลื่อนไหวเพื่อพูดออกมา ([[สรีรสัทศาสตร์]], articulatory phonetics) วิธีการที่การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ส่งผลต่อคุณสมบัติของเสียงที่เปล่งออกมา ([[สวนสัทศาสตร์]], acoustic phonetics) และวิธีการที่มนุษย์เปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นข้อมูลทางภาษา ([[โสตสัทศาสตร์]], auditory phonetics) ตามเดิมแล้ว หน่วยทางภาษาที่เล็กที่สุดในสัทศาสตร์คือ[[เสียง (สัทศาสตร์)|เสียง]] (phone (phonetics)) หรือเสียงพูดในภาษาหนึ่งซึ่งต่างจาก[[หน่วยเสียง]]ในสัทวิทยา หน่วยเสียงคือการจัดกลุ่มแบบนามธรรมของเสียง
 
สัทศาสตร์สนใจอย่างกว้าง ๆ ในแง่สองแง่ของการพูดของมนุษย์: การผลิตหรือวิธีการที่มนุษย์ผลิตเสียง และการรับรู้หรือวิธีการที่มนุษย์เข้าใจเสียงพูด [[ทักษะมาลา]] (modality (semiotics)) ของภาษาอธิบายวิธีการผลิตและรับรู้ภาษา ภาษาที่ใช้ทักษะมาลาแบบฟัง-พูดเช่นภาษาอังกฤษผลิตการพูดโดยใช้ปากและรับรู้การพูดโดยใช้หู ภาษามือเช่น[[ภาษามือออสเตรเลีย]] (Auslan) ใช้ทักษะมาลาแบบมือ-มองและผลิตการพูดโดยใช้มือและรับรู้การพูดโดยใช้ตา ในขณะที่บางภาษาเช่น[[ภาษามืออเมริกัน]] (American Sign Language) มีสำเนียงที่มีทักษะมาลาแบบมือ-มือ เป็น[[ภาษามือแบบสัมผัส]] (tactile signing) สำหรับคนตาบอดและหูหนวกซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้มือผลิตก็รับรู้ด้วยมือเช่นกัน
 
การผลิตภาษาประกอบไปด้วยกระบวนการหลายกระบวนการที่พึ่งพากันและกัน ซึ่งเปลี่ยนให้ข้อความที่ไม่เป็นภาษาเป็นสัญญาณทางภาษาที่ถูกพูดหรือทำท่าออกมา หลังจากที่ผู้พูดได้ระบุข้อความหนึ่งที่จะถูกเข้ารหัสทางภาษาแล้ว ผู้นั้นจะต้องสรรหาคำศัพท์หรือ[[รายการศัพท์]] (lexical item) เพื่อแทนข้อความนั้นในกระบวนการที่เรียกว่าการคัดเลือกศัพท์ (lexical selection) ในระหว่างนั้นภาพแทนทางจิตของคำศัพท์ต่าง ๆ จะได้รับมอบหมายเนื้อหาทางสัทวิทยาเป็นลำดับของหน่วยเสียงที่จะต้องผลิตออกมา หน่วยเสียงจะระบุลักษณะการออกเสียงเช่น ปิดริมฝีปาก หรือการขยับลิ้นไปในที่ ๆ หนึ่ง จากนั้นหน่วยเสียงเหล่านี้จะถูกประสานงานเป็นลำดับของคำสั่งที่จะส่งไปให้กล้ามเนื้อ และเมื่อคำสั่งเหล่านี้ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง เสียงก็จะเปล่งออกมาอย่างที่เจตนา
 
การเคลื่อนไหวเหล่านี้ขัดขวางและดัดแปลงกระแสลมทำให้เกิดคลื่นเสียง การดัดแปลงทำโดย[[ฐานกรณ์]]ที่มีตำแหน่งและลักษณะเกิดเสียงต่าง ๆ ทำให้เกิดผลลัพธ์เสียงที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่นคำว่า ''ทาก'' กับ ''ซาก'' ทั้งสองคำมีเสียงพยัญชนะปุ่มเหงือกเป็นพยัญชนะต้นแต่แตกต่างที่ระยะทางจากแนวปุ่มเหงือก ความแตกต่างนี้มีผลมากต่อกระแสลม เสียงที่ถูกผลิตจึงแตกต่างไปด้วย ในทางคล้ายกันทิศทางและแหล่งกำเนิดของกระแสลมก็ส่งผลต่อเสียงด้วย กลไกกระแสลมที่พบได้ทั่วไปที่สุดคือกลไกกระแสลมจาก[[ปอด]] แต่[[ช่องเส้นเสียง]] (glottis) และ[[ลิ้น]]ก็สามารถใช้ผลิตกระแสลมเช่นกัน
 
การรับรู้ภาษาเป็นกระบวนการทำความเข้าใจและถอดรหัสสัญญาณทางภาษา สัญญาณเสียงที่ต่อเนื่องจะต้องเปลี่ยนเป็นหน่วยวิยุตทางภาษาเช่น[[หน่วยเสียง]] [[หน่วยคำ]] และ[[คำ]]เพื่อรับรู้เสียงพูด ผู้ฟังจะให้ความสำคัญต่อแง่มุมหนึ่งของสัญญาณที่สามารถใช้แยกออกเป็นกลุ่มได้อย่างน่าเชื่อถือเพื่อระบุและจัดกลุ่มเสียงได้ถูกต้อง แม่สิ่งบ่งชี้อันหนึ่งจะได้รับความสำคัญมากกว่าอันอื่นแต่แง่มุมอื่น ๆ ก็สามารถมีส่วนต่อการรับรู้ ตัวอย่างเช่น แม้ภาษาพูดจะให้ความสำคัญต่อข้อมูลเสียง [[ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก]]แสดงให้เห็นว่าข้อมูลทางสายตาก็ถูกใช้เพื่อแยกแยะข้อมูลที่กำกวมเมื่อสิ่งบ่งชี้ทางเสียงไม่น่าเชื่อถือ
 
สัทศาสตร์สมัยใหม่มีสามสาขาหลัก:
 
*สรีรสัทศาสตร์[[สรีรสัทศาสตร์]]ซึ่งศึกษาวิธีการใช้ฐานกรณ์ผลิตเสียง
*[[สวนสัทศาสตร์]]ซึ่งศึกษาผลทางเสียงของการออกเสียงต่าง ๆ
*[[โสตสัทศาสตร์]]ซึ่งศึกษาวิธีที่ผู้ฟังรับรู้และเข้าใจสัญญาณทางภาษา
 
{{TOC limit|4}}