ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัทศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เริ่มต้นใหม่
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 9333272 โดย Just Sayoriด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 222:
 
== ภาษามือ ==
คำใน[[ภาษามือ]]ถูกรับรู้ด้วยตาแทนหู ท่ามือถูก "พูด" ด้วยมือ ร่างกายส่วนบน และหัว "ฐานกรณ์" หรืออวัยวะหลักที่ใช้ทำท่าคือมือและแขน ส่วนของแขนถูกพรรณนาอย่างสัมพัทธ์ว่า[[คำศัพท์ตำแหน่งทางกายวิภาค|ส่วนต้น]]และ[[คำศัพท์ตำแหน่งทางกายวิภาค|ส่วนปลาย]] (Anatomical terms of location) ส่วนต้นหมายถึงส่วนที่อยู่ใกล้ลำตัวและส่วนปลายคือส่วนที่อยู่ไกลออกไป ตัวอย่างเช่นการเคลื่อนไหวข้อมือคือส่วนปลายเมื่อเปรียบเทียบกับข้อศอก โดยปกติการเคลื่อนไหวส่วนปลายผลิตง่ายกว่าเพราะใช้พลังงานน้อยกว่า ปัจจัยต่าง ๆ เช่นความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหรือหากท่าทางนั้นเป็น[[ข้อห้าม]]ทางสังคมจำกัดว่าอะไรสามารถถือเป็นท่ามือได้{{Sfn|Baker|van den Bogarde|Pfau|p=229-235|Schermer|2016}} เจ้าของภาษามือไม่มองที่มือของคู่สนทนาแต่หากมองไปที่หน้าแทน เพราะ[[การมองเห็นรอบนอก]] (peripheral vision) ไม่ชัดเท่าตรงกลางของ[[ลานสายตา]] ทำให้สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวและตำแหน่งของนิ้วของท่ามือที่อยู่ใกล้หน้ากว่าได้ละเอียดกว่า{{Sfn|Baker|van den Bogarde|Pfau|p=236|Schermer|2016}}
 
ภาษามือมีฐานกรณ์ที่เหมือนกันสองอันคือมือ ผู้พูดภาษามือสามารถใช้มือข้างไหนก็ได้โดยไม่ส่งผลต่อการสื่อสาร ท่ามือที่ใช้สองมือโดยทั่วไปจะมีการทำท่าท่าเดียวกันทั้งสองข้างเพราะข้อจำกัดทางประสาทที่มีทั่วกันทุกคนที่เรียกว่าเงื่อนไขความสมมาตร (Symmetry Condition){{Sfn|Baker|van den Bogarde|Pfau|p=229-235|Schermer|2016}} ข้อจำกัดที่สองที่มีทั่วกันคือเงื่อนไขความถนัด (Dominance Condition) ซึ่งบอกว่าหากท่ามือทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน มือที่ไม่ถนัดจะอยู่นิ่งและมีชุดรูปร่างมือที่จำกัดกว่าเมื่อเทียบกับมือข้างที่ถนัดซึ่งเคลื่อนไหว{{Sfn|Baker|van den Bogarde|Pfau|p=286|Schermer|2016}} นอกจากนั้น มือข้างหนึ่งในท่ามือสองมือก็มักถูกทิ้ง (ไม่ทำ) เวลาสนทนาอย่างไม่ทางการ ซึ่งนี่เรียกหว่ากระบวนการ weak drop{{Sfn|Baker|van den Bogarde|Pfau|p=229-235|Schermer|2016}} รูปคำแต่ละคำก็อาจทำให้เกิดการออกเสียงผสมได้เหมือนในภาษาพูด ตัวอย่างเช่นรูปร่างมือของท่ามือที่พูดต่อกันก็กลายเป็นคล้ายกัน ([[การกลมกลืนเสียง]]) (Assimilation (phonology)) หรือเกิด weak drop (ตัวอย่างหนึ่งของ[[การตัดเสียง]]) (Deletion (phonology)) {{Sfn|Baker|van den Bogarde|Pfau|p=239|Schermer|2016}}
 
== ดูเพิ่ม ==