ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยายเพ็ญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{Infobox Person | name = เพ็ญ | image = Wat Phnom Daun Penh, intérieur (4).jpg | caption = รูปปั้นยายเพ็ญที่...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
 
== ประวัติ ==
ในนิทานเรื่อง ''ภูเขายายเพ็ญ'' ({{lang|km|ភ្ដូយាយពេញ}}, ออกเสียง "ภนุมเยียปึญ") ระบุว่ายายเพ็ญเป็นหญิงชราผู้มั่งมี ตั้งเรือนอยู่ริม[[แม่น้ำจตุมุข]] จนวันหนึ่งในฤดูน้ำหลากของ พ.ศ. 1919 มีต้น[[ตะเคียน]]ต้นใหญ่ลอยมาติดที่ท่าหน้าบ้าน หลังจากนั้นยายเพ็ญจึงให้คนช่วยกันลากต้นตะเคียนใหญ่ขึ้นฝั่งได้ ขณะยายเพ็ญกำลังล้างทำความสะอาดต้นตะเคียนก็พบว่ามี[[พระพุทธรูป]]และ[[เทวรูป]]อยู่ในโพรงต้นตะเคียน โดยเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กสี่องค์ และเทวรูปจากหินอีกหนึ่งองค์ มีพระเกศมุ่นมวย ลักษณะยืน พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือกระบอง และพระหัตถ์อีกข้างถือสังข์<ref name="อุบล">สุวชัญ ชาญเชี่ยว. ''การศึกษาวิเคราะห์ "ศาสตรากกระบวนทาย" จากราชอาณาจักรกัมพูชา''. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2557, หน้า 15-16</ref> เมื่อเป็นเช่นนั้น ยายเพ็ญจึงขอแรงชาวบ้านช่วยกันถมดินบริเวณหลังบ้านของนางให้สูงเป็นภูเขาขนาดย่อมสำหรับสร้างวัดเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปไว้บนภูเขานั้น ส่วนเทวรูปอัญเชิญไว้บนแท่นบริเวณเชิงเขา<ref name="ศิลปากร">ประยูร ทรงศิลป์ และทรงธรรม ปานสกุณ (พฤษภาคม–สิงหาคม 2558). "แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีในนิทานพื้นบ้านเขมร". ''Veridian E-Journal'' (8:2), หน้า 2627</ref><ref name="สารคาม">วรรณะ สอน และราชันย์ นิลวรรณาภา (สิงหาคม 2563). "ปรอ จุม เรือง เพรง แขมร์ ภาพแทนธรรมชาติในนิทานพื้นบ้านเขมร". ''วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ'' (5:8), หน้า 200</ref> และเรียกชื่อว่าเนียะตาพระเจ้า<ref name="อุบล"/> เมื่อสร้างเสร็จจึงเรียกภูเขานี้ว่า เขายายเพ็ญ หรือสำเนียงเขมรว่า ภนุมโฎนปึญ ({{lang|km|ភ្ដូនពេញ}}) ต่อมาคำกร่อนลงเหลือเพียง ภนุมปึญ หรือที่ไทยเรียกว่าพนมเปญ<ref>ศานติ ภักดีคำ. ''เขมรสมัยหลังพระนคร''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556, หน้า 116</ref> ส่วนวัดภนุมโฎนปึญ ก็กร่อนเหลือเพียง[[วัดพนม|วัดภนุม]] หรือพนมมาจนถึงปัจจุบัน<ref name="ศิลปากร"/><ref name="สารคาม"/>
 
== อ้างอิง ==