ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกาะนาแวสซา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
แก้ไข error แม่แบบ
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:NavassaISS14cropped.jpg|right|thumb|260px|เกาะนาแวสซา มุมมองจาก[[สถานีอวกาศนานาชาติ]]]]
[[ไฟล์:Navassa Island in United States (US49).svg|thumb|250px|แผนที่เกาะนาแวสซาในสหรัฐ​]]
'''เกาะนาแวสซา''' ({{[[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: <i lang-="en|" xml:lang="en">Navassa Island}}</i> ) หรือ '''ลานาวาซ''' ({{[[ภาษาฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]: <i lang-="fr|" xml:lang="fr">La Navase}}</i> ) เป็นเกาะร้างขนาดเล็กใน[[ทะเลแคริบเบียน]]อยู่ภายใต้การดูแลของ[[สหรัฐอเมริกา]]ผ่าน[[องค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ]] (US Fish and Wildlife Service)<ref name="U.S. Government Printing Office">{{cite web |title=GAO/OGC-98-5 - U.S. Insular Areas: Application of the U.S. Constitution |date=November 7, 1997 |url=http://www.gpo.gov/fdsys/pkg/GAOREPORTS-OGC-98-5/content-detail.html |publisher=U.S. Government Printing Office |accessdate=March 23, 2013 |archiveurl=https://web.archive.org/web/20130927192012/http://www.gpo.gov/fdsys/pkg/GAOREPORTS-OGC-98-5/content-detail.html |archivedate=September 27, 2013 }}</ref> นอกจากนั้น[[เฮติ]]ได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะแห่งนี้เช่นเดียวกัน
 
== ลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศ ==
บรรทัด 10:
 
== ประวัติศาสตร์ ==
ในปี ค.ศ. 1504 [[คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส]] ซึ่งในขณะนั้นติดอยู่บนเกาะ[[จาเมกา]] ได้ส่งลูกเรือไปยัง[[เกาะฮิสปันโยลา]]เพื่อขอความช่วยเหลือ ระหว่างทางพวกเขาพบเกาะขนาดเล็ก และเมื่อทำการสำรวจก็พบว่าไม่มีน้ำจืดบนเกาะเลย ดังนั้นลูกเรือจึงขนานนามให้เกาะว่า "นาบาซา" (Navaza) มาจากคำว่า "นาบา" ({{<i lang|="es|''" xml:lang="es">nava''}}</i> ) ซึ่งในภาษาสเปนแปลว่าที่ราบ ไม่มีต้นไม้ใหญ่ หลังจากนั้นเกาะแห่งนี้ก็ถูกหลีกเลี่ยงโดยชาวเรือต่อมาอีกกว่า 350 ปี
 
แม้ว่าทางการเฮติจะได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะแห่งนี้มาก่อนแล้ว แต่เกาะนาแวสซาก็ถูกสหรัฐอเมริกาอ้างสิทธิ์ในปี ค.ศ. 1857 โดยปีเตอร์ ดังกัน (Peter Duncan) กัปตันเดินเรือชาวอเมริกัน และกลายเป็นเกาะแห่งที่สามที่ถูกสหรัฐอเมริกาอเมริกาเข้าครอบครองภายใต้[[รัฐบัญญัติกลุ่มเกาะปุ๋ยขี้นก]] (Guano Islands Act) ที่ถูกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1856 โดยสาเหตุที่อเมริกาเข้าครอบครองเกาะแห่งนี้ก็เป็นเพราะความอุดมสมบูรณ์ของปุ๋ยขี้นกนั่นเอง หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ขุดปุ๋ยขี้นกไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1865 ถึง ค.ศ. 1898 แม้ว่าเฮติจะคัดค้านการผนวกดินแดนของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ แต่สหรัฐอเมริกาก็ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์ของเฮติมาตลอด และในปี ค.ศ. 1857 ก็ครอบครองเกาะแห่งนี้ในฐานะดินแดนที่ถูกผนวกโดยสหรัฐอเมริกา แต่ไม่ถูกรวมเข้ากับรัฐใดรัฐหนึ่ง และไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นคอยปกครอง (unincorporated unorganized territory)<ref name="U.S. Government Printing Office" />
 
ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปุ๋ยขี้นกฟอสเฟตเป็นเป็นปุ๋ยที่การเกษตรของอเมริกาใช้เป็นหลัก ดังกันได้โอนย้ายกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้ค้นพบไปยังนายจ้าง ซึ่งเป็นพ่อค้าปุ๋ยขี้นกชาวอเมริกันในจาเมกา ซึ่งได้ขายต่อให้กับบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งนามว่า บริษัทฟอสเฟตนาแวสซา (Navassa Phospate Company) ใน[[บอลทิมอร์]] ภายหลัง[[สงครามกลางเมืองอเมริกา]] บริษัทได้สร้างเหมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งประกอบไปด้วยค่ายสำหรับจุคนงานผิวดำจาก[[รัฐแมริแลนด์]]จำนวน 140 คน บ้านสำหรับหัวหน้างานผิวขาว ร้านช่างเหล็ก คลัง และโบสถ์ 1 หลัง<ref name="poop">{{cite web|author=Brennen Jensen|date=March 21, 2001|title=Poop Dreams|accessdate=November 16, 2012|work=Baltimore City Paper|url=http://www.webster.edu/~corbetre/haiti/misctopic/navassa/poop.htm|archiveurl=https://web.archive.org/web/20121025151226/http://www2.webster.edu/~corbetre/haiti/misctopic/navassa/poop.htm|archivedate=October 25, 2012}}</ref> การทำเหมืองเริ่มขึนในปี ค.ศ. 1865 โดยคนงานจะขุดปุ๋ยขี้นกโดยใช้ระเบิดและพลั่วเจาะ (pickaxe) จากนั้นจะลำเลียงโดยรถรางไปยังอ่าวลูลู (Lulu) เพื่อลำเลียงปุ๋ยขี้นกลงเรือของบริษัทนามว่า เอสเอส โรแมนซ์ (SS Romance) ต่อไป โดยบริเวณที่พักอาศัยในอ่าวลูลูถูกเรียกว่า ลูลูทาวน์ ซึงเป็นเมืองที่เคยปรากฏอยู่ในแผนที่ในสมัยนั้น ต่อมาได้มีการขยายรางให้เข้าไปในเกาะมากยิ่งขึ้น
บรรทัด 24:
ในช่วงปี ค.ศ. 1903 ถึง 1917 เกาะแห่งนี้เป็นดินแดนที่ขึ้นอยู่กับฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาในอ่าวกวนตานาโม และในช่วง ค.ศ. 1917 ถึง ค.ศ. 1996 เกาะได้ถูกโอนมาให้หน่วยป้องกันชายฝั่งเป็นผู้ดูแล ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 1996 เกาะได้รับการดูแลโดยกระทรวงกิจการภายในของสหรัฐอเมริกา โดยในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1996 หน่วยป้องกันชายฝั่งได้รื้อประภาคารออกเพื่อโอนการดูแลไปยังกระทรวงกิจการภายใน<ref name=InteriorNI>{{cite web|url=https://www.doi.gov/oia/islands/navassa| title=Navassa Island| publisher=U.S. Department of the Interior| location=Washington, D.C.| accessdate=March 3, 2018| archiveurl=https://web.archive.org/web/20160815201647/https://www.doi.gov/oia/islands/navassa| archivedate=August 15, 2016}}</ref>
 
ภายหลังจากการสำรวจทางวิทยาศาสตร์โดยศูนย์อนุรักษ์ทางทะเล (Center of Marine Conservation) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เกาะนาแวสซาได้รับการยกย่องให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลแคริบเบียน ส่งผลให้ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1999 องค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐได้เข้าควบคุมดูแลเกาะแห่งนี้<ref name=InteriorNI /><ref name="USGS">{{cite web|author=US Geological Survey (August 2000)|publisher=US Geological Survey|title=Navassa Island: A Photographic Tour (1998–1999) |access-date=November 18, 2012|url=http://coastal.er.usgs.gov/navassa|archiveurl=https://web.archive.org/web/20121119101317/http://coastal.er.usgs.gov/navassa/|archivedate=November 19, 2012}}</ref><ref name=InteriorNI/> และได้กลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในที่สุด
 
== อ้างอิง ==
บรรทัด 32:
{{รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา}}
{{อเมริกาเหนือ}}
{{Authority control|VIAF=239204097|LCCN=no/2015/117635}}
 
[[หมวดหมู่:เกาะในทะเลแคริบเบียน]]
[[หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา]]
[[หมวดหมู่:ประเทศเฮติ]]
[[หมวดหมู่:บทความที่มีข้อความภาษาฝรั่งเศส]]
[[หมวดหมู่:บทความที่มีข้อความภาษาสเปน]]
[[หมวดหมู่:บทความที่มีข้อความภาษาอังกฤษ]]