ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดเชียงมั่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewGenICDI (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติความเป็นมาของวัด ความสำคัญของวัด สถาปัตยกรรมโดดเด่น
บรรทัด 36:
}}'''วัดเชียงมั่น''' ({{lang-nod|[[ไฟล์:LN-Wat Chiang Man Sankharam.png|120px]]}}) เป็นวัดที่ตั้งอยู่ถนนราชภาคิไนย [[ตำบลศรีภูมิ]] [[อำเภอเมืองเชียงใหม่|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดเชียงใหม่]]<ref>http://www.fm100cmu.com/fm100/100programs_detail.php?id_sub_group=83&id=3838</ref> มี[[พระเสตังคมณี]] (พระแก้วขาว) และ[[พระศิลา]]ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางปราบช้างนาฬาคีรี ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร
 
'''ปฐมอาราม นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่'''
มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารโยนก หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ทั้ง 3 พระองค์โปรดให้สร้างเจดีย์ และพญามังรายทรงประทับชั่วคราวในระหว่างควบคุมการสร้างเมือง ตรงหอนอนบ้านเชียงมั่น เรียกว่า "เวียงแก้ว" ทรงอุทิศตำหนักคุ้มหลวงเวียงเหล็ก ตั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและพระราชทานนามว่า "วัดเชียงมั่น" จากนั้นคาดว่าเจดีย์พังลงมาในสมัย[[พระเจ้าติโลกราช]] (ครองราชย์ พ.ศ. 1985 - 2031) พระองค์จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหม่ ทำด้วย[[ศิลาแลง]] เมื่อปี พ.ศ. 2014
 
'''๑. ประวัติความเป็นมาของวัด''' วัดเชียงมั่นเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่ และถือเป็นวัดแห่งแรกในเขตกำแพงเมือง เมื่อครั้ง'''พญามังราย''' ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายพร้อมด้วย'''พญางำเมือง'''และ'''พญาร่วง''' ร่วมกันสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๙ ทั้งสามพระองค์โปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นตรงที่หอนอนบ้านเชียงมั่น ซึ่งสร้างเป็นที่ประทับชั่วคราวในระหว่างที่ควบคุมการสร้างเมืองใหม่ ให้ชื่อที่ประทับว่า '''“เวียงเล็ก”''' หรือ '''“เวียงเหล็ก”''' หมายถึง ความมั่นคงแข็งแรง ต่อมาอุทิศคุ้มหลวงเวียงเหล็กเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและพระราชทานนามอันเป็นมงคลว่า '''“วัดเชียงมั่น”''' หมายถึง “บ้านเมืองที่มีความมั่นคง” จากนั้นคาดว่า เจดีย์สร้างขึ้นใหม่ด้วยศิลาแลงในปี พ.ศ. ๒๐๑๔ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาองค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์มังราย และ ๘๗ ปีต่อมาเมื่อพม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราชของพม่า) โปรดให้พระยาแสนหลวงสร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพงและประตูโขงขึ้น โดยมีพระมหาหินทาทิจจวังสะเป็นเจ้าอาวาส จนถึงสมัยพระเจ้ากาวิละ ปฐมกษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร จึงได้บูรณะวัดใหม่อีกครั้ง
เมื่อเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในปี พ.ศ. 2094 วัดเชียงมั่นจึงถูกปล่อยร้าง จนปี พ.ศ. 2101 เจ้าฟ้ามังทรา ([[สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช]]) แห่งพม่า บูรณปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้สร้าง[[เจดีย์]] [[วิหาร]] [[อุโบสถ]] [[หอไตร]] ธัมมเสนาสนะกำแพง และ[[ประตูโขง]] มีพระมหาหินทาทิจจวังสะเป็นเจ้าอาวาสเมื่อถึงสมัย[[พระยากาวิละ]]ครองเมือง เชียงใหม่ (พ.ศ. 2324–2358)
 
'''๒. ความสำคัญของวัด''' วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ '''พระเสตังคมณี''' หรือ '''พระแก้วขาว''' และเมื่อถึง'''เทศกาลสลากภัต''' หรือ '''ทานก๋วยสลาก''' จะมีการถวายทานข้าวสลากที่วัดนี้ก่อนแล้วจึงจะทำที่วัดอื่น ๆ ต่อไป อีกทั้งในอดีตยังเป็นอดีตยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมถึงเป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุจำนวนมาก โดยเฉพาะภาพจิตรกรรมฝาผนังลายเส้นทองบนพื้นแดงชาดภายในวิหารหลวง ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวการสร้างเมืองและการสร้างวัด ทั้งเวียงกุมกามและเมืองเชียงใหม่ของพญามังรายทั้งหมด ๑๖ ภาพ โดยเดินเวียนขวาจากจุดเริ่มต้นภาพเรื่องเล่า
ต่อมาพระพุทธศาสนาแบบธรรมยุกนิกายเผยแผ่เข้ามาใน[[อาณาจักรล้านนา]] [[เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์]]จึงนิมนต์พระธรรมยุตมาจำพรรษาอยู่ แต่ได้ย้ายไปอยู่วัดหอธรรมและวัดเจดีย์หลวงตามลำดับ ในภายหลัง
 
'''๓. สถาปัตยกรรมโดดเด่น'''
 
'''เจดีย์ช้างล้อม''' องค์เจดีย์ผสมสี่เหลี่ยมและทรงกลมปิดทองจังโก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๔๐ ตั้งบนฐานเขียงสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกัน ๒ ชั้น บนฐานประดับปูนปั้นรูปช้างครึ่งตัวโดยรอบ ๑๕ เชือก และประดับช้างประจำมุมละ ๑ เชือก ระหว่างช้างปูนปั้นแต่ละเชือกประดับด้วยเสาลาย ด้านทิศตะวันออกมีบันไดนาค ถัดไปเป็นฐานปัทม์ย่อเก็จรองรับเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้ ๑๒ องค์
 
==การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน==