ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาร์ล ไวเออร์ชตราส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 63:
| postscript = , [http://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k90196z.image.f47 p. 44].
}}</ref>
แต่นิยามนี้ก็ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างความต่อเนื่องที่จุดกับความต่อเนื่องเอกรูปบนช่วงได้ ทำให้โกชีได้ตีพิมพ์บทพิสูจน์ที่ผิดพลาดออกไป ในปี ค.ศ. 1821 ในผลงานชื่อ {{lang|fr|''Cours d'analyse''}} โดยกล่าวว่า ลิมิตของจุด (pointwise limit) ของลำดับของฟังก์ชันที่ต่อเนื่องเป็นจุด (pointwise continuous function) นั้นต่อเนื่องแบบจุด (pointwise continuous) ต่อมา [[โฌแซ็ฟ ฟูรีเย]] และ[[นีลส์ เฮนริก อาเบล]] ตรวจพบตัวอย่างที่ขัดแย้งในเรื่องอนุกรมฟูรีเย ซึ่งในที่สุด [[เพเทอร์ กุสทัฟ เลอเฌิน ดีรีเคล]] (Peter Gustav Lejeune Dirichlet) ก็พบว่าแท้จริงแล้วคำกล่าวที่ว่า การลู่เข้าแบบจุดควรจะเป็นการลู่เข้าแบบเอกรูปมากกว่า กล่าวคือ ลิมิตเอกรูป (uniform limit) ของฟังก์ชันที่ต่อเนื่องอย่างเป็นเอกรูป (uniformly continuous function) นั้นก็ยังคงต่อเนื่องอย่างเอกรูป (uniformly continuous)
 
[[คริสท็อฟ กูเดอร์มัน]] อาจารย์ที่ปรึกษาของไวเออร์ชตราส เล็งเห็นถึงความสำคัญในหลักการเกี่ยวกับการลู่เข้าอย่างเอกรูปเป็นคนแรก ในผลงานปี ค.ศ. 1838 ที่เกี่ยวกับ[[ฟังก์ชันอิลลิปติก]] กูเดอร์มันได้กล่าวถึงปัญหานี้แต่ไม่ได้ให้นิยามอย่างเป็นทางการแต่อย่างไร ในปี ค.ศ. 1839–1840 ไวเออร์ชตราสได้เข้าเรียนในวิชาฟังก์ชันอิลลิปติก จึงได้เริ่มสนใจเรื่องนี้ และตีพิมพ์ผลงานชื่อ {{lang|de|''Zur Theorie der Potenzreihen''}} ในปี ค.ศ. 1841 และมีการบัญญัติศัพท์ใหม่คือ การลู่เข้าเอกรูป ({{lang-en|uniformly convergent}}; {{lang-de|''gleichmäßige Konvergenz''}}) ในงานชิ้นนี้ ไวเออร์ชตราสได้สร้างนิยามใหม่ขึ้นให้มีความรัดกุมมากกว่าเดิมและต่อมาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยที่ไวเออร์ชตราสได้ให้นิยามไว้ดังนี้
 
<math>\displaystyle f (x) </math> ต่อเนื่องที่ <math>\displaystyle x = x_0</math> ถ้า <math> \displaystyle \forall \ \varepsilon > 0\ \exists\ \delta > 0</math> โดยที่ <math> \displaystyle \forall \ |x-x_0| < \delta \Rightarrow |f (x) - f (x_0)| < \varepsilon.</math>