ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัครมุขนายก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JosephArnan (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Welovethepope (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4:
'''อาร์ชบิชอป''' ({{lang-en|Archbishop}}) หรือ'''อัครมุขนายก'''<ref>[[ราชบัณฑิตยสถาน]], ''ราชวงศ์แห่งมหาอำนาจยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ : กษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถ'', 2556, หน้า 419</ref> ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่า'''พระอัครสังฆราช''' เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบาง[[คริสตจักร]]ที่มี[[การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล]] เช่น [[โรมันคาทอลิก]] [[ออร์ทอดอกซ์]] [[แองกลิคัน]] ถือว่ามีสถานะเหนือกว่า[[มุขนายก]]<ref name="รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓">กรมการศาสนา, ''รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓'', กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6</ref> (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครอง'''อัครมุขมณฑล''' (archdiocese)<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', พิมพ์ครั้งที่ 3, 2552, หน้า 145</ref> ซึ่งเป็น[[มุขมณฑล]]ที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของ[[แองกลิคันคอมมิวเนียน]]จะหมายถึงกลุ่ม[[มุขมณฑล]]ที่รวมกันเป็น[[ภาคคริสตจักร]] เช่น [[ภาคแคนเทอร์เบอรี]]ที่ปกครองโดย[[อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี]] แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
 
“อัครมุขนายก” หรือ พระอัครสังฆราช มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับ[[การอภิเษก]] (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับ[[ศีลอนุกรม]]เสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก
 
คำว่า “Archbishop” มาจาก[[ภาษากรีก]]ว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล”