ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินีมารีเยีย เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย (ดักมาร์แห่งเดนมาร์ก)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 102:
การปฏิวัติเข้ามาที่[[ประเทศรัสเซีย]]ในเดือน[[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2460]] หลังจากทรงพบกับสมเด็จพระจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 พระราชโอรสซึ่งทรงถูกโค่นล้มลงมาจากราชบัลลังก์ในเมืองโมกิเลฟ สมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรียประทับ ณ เมือง[[เคียฟ]]อยู่ระยะหนึ่ง เพื่อปฏิบัติพระราชกรณียกิจในสภากาชาดต่อไป เมื่อมันเป็นอันตรายต่อการประทับอยู่ต่อ พระองค์จึงเสด็จจากเมืองไปยังเมืองไครเมียพร้อมกับสมาชิกราชวงศ์โรมานอฟที่ลี้ภัยพระองค์อื่น เมื่อประทับอยู่ที่ทะเลดำ พระองค์ก็ทรงได้รับรายงานว่าพระราชโอรส พระราชสุณิสาและพระราชนัดดาทรงถูกปลงพระชนม์ อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงปฏิเสธว่ารายงานนั้นเป็นเพียงข่าวลือ ในวันหนึ่งหลังจากการปลงพระชนม์ครอบครัวของจักรพรรดิ จักรพรรดินีมารีเยียทรงได้รับข้อความฉบับหนึ่งจากนิคกี้ที่เป็น "ชายที่น่าประทับใจคนหนึ่ง" ซึ่งเล่าถึงชีวิตอันยากลำบากของครอบครัวพระราชโอรสในเมือง[[เยคาเทรินเบิร์ก]] "และไม่มีใครช่วยหรือปลดปล่อยพวกนั้นได้เลย มีแต่พระผู้เป็นเจ้า พระองค์โปรดช่วยเหลือนิคกี้ผู้น่าสงสารและโชคร้าย ช่วยเขาในเวลายากลำบากมากด้วย"<ref> The Diaries of Empress Marie Feodorovna, p.239 </ref> ในสมุดบันทึกส่วนพระองค์นั้น ยังทรงปลอบใจพระองค์เองว่า "เราแน่ใจว่าพวกนั้นได้ออกจากรัสเซียมาแล้วและตอนนี้พวก[[บอลเชวิค]]กำลังพยายามปิดบังความจริงเอาไว้"<ref> A Royal Family, p.197 </ref> พระองค์ทรงยึดถือความเชื่อมั่นนี้อย่างเหนียวแน่นจนถึงวันสวรรคต ความจริงมันเจ็บปวดมากเกินกว่าพระองค์จะแบกรับไว้ได้ พระราชหัตถเลขาถึงพระราชโอรสและพระราชวงศ์ได้หายสาบสูญไปนับแต่นั้น แต่ในฉบับหนึ่งที่พบ พระองค์ทรงเขียนว่า "ลูกรู้ว่าความคิดและคำภาวนาของแม่ไม่เคยหายไปจากลูกเลย แม่คิดถึงลูกทั้งวันและคืนและบางครั้งรู้สึกเจ็บปวดที่ใจมากจนแม่แทบจะทนไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แต่พระเจ้ามีพระเมตตา พระองค์จะประทานความเข้มแข็งให้เราผ่านพ้นความยากลำบากนี้ไปได้"
 
ถึงแม้ว่าจะมีการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยไปในปี [[พ.ศ. 2460]] แล้วก็ตาม ในตอนแรกสมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรียทรงปฏิเสธที่จะเสด็จออกจากประเทศรัสเซีย พอในปี [[พ.ศ. 2462]] ด้วยการเร่งเร้าของ[[อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก|สมเด็จพระบรมราชชนนีอเล็กซานดราแห่งอังกฤษ]] จึงจำต้องเสด็จออกจากประเทศรัสเซียอย่างไม่เต็มพระทัย โดยการหลบหนีไปทางแหลมไครเมีย ประทับเรือหลวงของอังกฤษที่พระเจ้าจอร์จที่ 5 ผู้เป็นพระราชนัดดา (เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระนางเจ้าอเล็กซานดราฯ พระพี่นาง) ออกจากทะเลดำ ไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และไปถึง[[กรุงลอนดอน]] ในที่สุด [[พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 5]] ทรงส่งเรือรบหลวง HMS Marlborough เพื่อจะช่วยชีวิตสมเด็จพระมาตุจฉา (น้า น้องสาวแม่) หลังจากการประทับในฐานทัพเรืออังกฤษที่เกาะ[[มอลตา]]และต่อมาในกรุงลอนดอนระยะหนึ่งแล้ว จึงเสด็จกลับประเทศเดนมาร์ก โดยทรงเลือกประทับอยู่ในตำหนักฮวิดอร์ ใกล้กับกรุงโคเปนเฮเกน เป็นที่ประทับถาวรแห่งใหม่ แม้ว่าสมเด็จพระบรมราชชนนีอเล็กซานดราไม่ทรงเคยปฏิบัติพระองค์ไม่ดีกับพระกนิษฐาและทรงใช้เวลาในวันหยุดด้วยกันในตำหนักเล็กหลังหนึ่งในอังกฤษ จักรพรรดินีมารีเยียกลับทรงรู้สึกว่าตอนนี้ทรงเป็น "รอง"
 
ในระหว่างการลี้ภัยอยู่ใน[[กรุงโคเปนเฮเกน]] [[ประเทศเดนมาร์ก]] ก็ยังมีผู้อพยพชาวรัสเซียจำนวนมากมาย สำหรับพวกเขาสมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรียยังคงทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินี พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงศักดิ์สูงสุดเหนือพระราชวงศ์รัสเซียทั้งมวล ผู้คนแสดงความเคารพและเห็นคุณค่าของพระองค์อย่างมาก รวมทั้งยังให้ความช่วยเหลือพระองค์อยู่บ่อยครั้ง สมัชชาสนับสนุนประมุขแห่งชาวรัสเซียทั้งมวลซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในปี [[พ.ศ. 2464]] ได้เสนอให้พระองค์เป็นผู้รักษาการณ์ชั่วคราวของราชบัลลังก์รัสเซีย แต่พระองค์ทรงปฏิเสธข้อเสนอนั้น พระองค์ไม่โปรดที่จะแทรกแซงเกมทางการเมืองและทรงให้คำตอบที่หลบเลี่ยงว่า "ไม่มีใครเห็นนิคกี้ถูกปลงพระชนม์" และดังนั้นจึงยังมีโอกาสเหลืออยู่ พระองค์ทรงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่[[นิโคไล โซโคลอฟ]] ซึ่งเป็นนักลงทุนที่ศึกษาเหตุการณ์เกี่ยวกับการปลงพระชนม์ครอบครัวของสมเด็จพระจักรพรรดิ ทั้งพระองค์และนิโคไลไม่เคยพบกันเลย โดยในตอนสุดท้ายแกรนด์ดัชเชสโอลกาทรงส่งโทรเลขมายัง[[กรุงปารีส]] เพื่อยกเลิกนัดหมายในการเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดินี มันคงเป็นการยากมากสำหรับสตรีชราและเจ็บป่วยที่จะได้ยินเรื่องราวอันเลวร้ายของลูกชายและครอบครัว<ref> Empress Maria Fiodorovna, p.142 </ref>