ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อากิฮิโกะ นาโงะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ice 4402 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Ice 4402 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
 
== ประวัติ ==
อากิฮิโกะ นาโงะ เกิดเมื่อวันที่ [[26 กันยายน]] [[พ.ศ. 2519]] ที่[[นาฮะ (เมือง)|เมืองนาฮะ]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] เคยเป็นนักมวยสร้างของญี่ปุ่นที่หมายมั่นว่าจะเป็นแชมป์โลกคนต่อไป เพราะมีเชิงชกดี มีน้ำหนักหมัดที่หนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมัดซ้าย ก่อนมาชก[[มวยสากล]]อาชีพนั้น นาโงะเคยชก[[มวยสากลสมัครเล่น]]มาก่อน และเป็นแชมป์มวยสากลสมัครเล่นระดับมัธยมปลายของญี่ปุ่น หลังจากชนะรวดมาทั้งหมด 16 ครั้ง รวมทั้งได้แชมป์ฟลายเวทของประเทศญี่ปุ่นรุ่นฟลายเวท และแชมป์ประเทศญี่ปุ่นรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทของญี่ปุ่นโดยการชนะคะแนน[[เคจิ ยามางูจิ]] นาโงะจึงได้มีโอกาสขึ้นชิงแชมป์โลกครั้งแรกในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท ของสมาคมมวยโลก (WBA) ในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท ในปี [[พ.ศ. 2542]] กับ [[ฮิเดกิ โทดากะ]] นักมวยชาวญี่ปุ่นด้วยกันเอง ปรากฏว่านาโงะเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไป จากนั้นนาโงะได้ขึ้นชกอีก 3 ครั้ง จึงได้โอกาสชิงแชมป์โลกเป็นครั้งที่สอง ในปี [[พ.ศ. 2543]] ในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท ของสภามวยโลก (WBC) ในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท กับ[[มาซาโมริ โทกูยามะ]] นักมวยชาว[[เกาหลีเหนือ]]ที่โอนสัญชาติเป็นญี่ปุ่น ปรากฏว่านาโงะก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอีก หลังจากนั้น อากิฮิโกะ นาโงะ ได้ชกกับนักมวย[[ชาวไทย]] ทองเจริญ อ.สุวรรณศิลป์ ก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนน 8 ยกไปอีก จากนักมวยสร้างจึงกลายเป็นเพียงนักมวยพื้น ๆ ธรรมดา ๆ แต่ก็ยังขึ้นชกอย่างสม่ำเสมอ <ref>[http://boxrec.com/en/boxer/7747 Akihiko Nago {{en}}]</ref> <ref>สุรสิทธิ์ วิรุณละพันธ์, ''10 อันดับนักชกสุดหล่อ'' หน้า 25-27 นิตยสารมวยโลกฉบับที่ 783 ปีที่ 17 [[8 กันยายน|8 กันยายน]]-[[15 กันยายน]] [[พ.ศ. 2542]] [[สยามสปอร์ต]]</ref>
 
อากิฮิโกะ นาโงะ มีผู้จัดการและเทรนเนอร์เป็นถึงอดีตแชมป์โลกของญี่ปุ่นถึง 2 คน คือ [[โยชิโอะ ชิราอิ]] แชมป์โลกคนแรกของญี่ปุ่น และ[[โยโก กูชิเก็ง]] อดีตแชมป์โลกในรุ่นจูเนียร์ฟลายเวทของ[[สมาคมมวยโลก]] (WBA) ในรุ่นจูเนียร์ฟลายเวท
ที่ป้องกันตำแหน่งแชมป์ไว้ได้มากที่สุดของญี่ปุ่นคือ 13 ครั้ง
 
==อ้างอิง==