ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 318:
* 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติยกเลิกการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและให้ รฟม. จัดส่งซองข้อเสนอทั้งหมดคืนผู้ยื่นซองเข้าประมูล อันได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) รวมถึงเพิกถอนคำอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ทั้งนี้ คณะกรรมการ ม.36 มีความเห็นว่าการยกเลิกการประมูลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีคือ คณะกรรมการฯ สามารถจัดทำเงื่อนไขเพื่อเฟ้นหาเอกชนที่มีศักยภาพได้อย่างรัดกุมมากขึ้นโดยการใช้คะแนนเทคนิคร่วมกับคะแนนทางการเงิน และไม่จำเป็นต้องรอผลการตัดสินของศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้พิพากษากลับไปใช้กติกาการประมูลรูปแบบใหม่ ส่วนข้อเสียคือการดำเนินโครงการจำเป็นต้องเลื่อนออกไปอีก 6-9 เดือน เพื่อจัดทำการสำรวจตลาด ประชาพิจารณ์ และขออนุมัติโครงการใหม่<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/920680 รฟม.ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม]</ref>
* 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) โดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เข้ายื่นฟ้องผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และผู้เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งหมด ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตราที่ 157, 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ในกรณีที่คณะกรรมการ ม.36 ได้มีคำสั่งในการเปลี่ยนแปลงกฎและเงื่อนไขการประมูลในส่วนสาระสำคัญภายหลังจากการเปิดขายซองรับข้อเสนอแก้เอกชน ซึ่งระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางตามหมายเลขคดีดำที่ 2280/2563 และศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำสั่งให้ รฟม. ระงับการใช้ข้อบังคับดังกล่าวจนกว่าศาลจะมีการตัดสินเป็นอย่างอื่น แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการ ม.36 ได้มีมติยกเลิกการประมูลโครงการด้วยเหตุผลว่าการฟ้องร้องและการยื่นขออุทธรณ์ทำโครงการล่าช้า ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ในฐานะเอกชนผู้เข้าประมูลโครงการจึงได้รับความเสียหายทางธุรกิจ โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้มีคำสั่งประทับรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ อท.30/2564<ref>[https://www.thebangkokinsight.com/558716/ 'BTS' ยื่นฟ้อง 'รฟม.' ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มกลางอากาศ บริษัทเสียหาย]</ref>
* 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 ศาลปกครองกลางมีมติจำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และการรถไฟฟ้่ารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ออกจากการพิจารณาคดี เนื่องจากคณะกรรมการฯ มีมติยกเลิกการประมูลเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จึงไม่มีเหตุอันใดให้ต้องทำการพิจารณาข้อเท็จจริงของคดีนี้อีกต่อไป อีกทั้งมติดังกล่าวยังทำให้คำสั่งคุ้มครองการประมูลเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นอันต้องสิ้นสุดลงพร้อมกัน อย่างไรก็ตามศาลปกครองกลางยังพิจารณาในข้อเรียกร้องให้ รฟม. ชำระค่าเสียหาย 500,000 บาท ที่เป็นค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าธรรมเนียมศาล และค่าดำเนินการต่อไป<ref>[https://www.isranews.org/article/isranews-news/96662-tor.html ศาลปค.จำหน่ายคดีฟ้องเพิกถอน TOR สายสีส้ม-'คีรี' ร้อง'บิ๊กตู่'สั่งระงับประมูลรอบใหม่]</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==