ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอศรีธาตุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekströmz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เก็บกวาด}}
{{กล่องข้อมูล อำเภอ
| name = ศรีธาตุ
เส้น 18 ⟶ 17:
}}
'''อำเภอศรีธาตุ''' เป็นอำเภอหนึ่งของ[[จังหวัดอุดรธานี]]
 
== ประวัติ ==
 การตั้งถิ่นฐานของชุมชนมนุษย์ถือเป็นการตกผลึกทางกายภาพเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย อันสอดคล้องกับวิถีชีวิต ทรัพยากร และความมั่นคงแห่งเผ่าพันธุ์ การที่กลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่งจะเลือกที่อยู่อาศัยของตนและได้มีผู้คน จำนวนมากเข้ามาอาศัยรวมกันเป็นชุมชน หมู่บ้าน หรือชุมชนเมืองนั้น แหล่งที่ตั้งจะต้องมีความจำเป็นด้านปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น แหล่งน้ำ พื้นที่สำหรับเพาะปลูก ป่าไม้ โคก ดอน ห้วย หนอง คลอง บึง กุด สระ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยผลักดันให้เกิดการผลิตเพื่ออุปโภคบริโภค ในชีวิตประจำวันของผู้ที่อยู่อาศัย
 
 เมื่อมนุษย์ได้ร่วมกันตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยขึ้น ก็มีการตั้งชื่อชุมชนไว้เรียกขาน หรือสื่อความหมายให้เข้าใจระหว่างกัน เนื่องจากชื่อนั้นเป็นนามบัญญัติที่สมมติขึ้นเรียกเพื่อให้มีความหมายถึงตัวตนหรือสถานที่อันมีอยู่จริง หรือสถานที่จำลองให้มีอยู่  ณ  ที่นั้น ๆ  ซึ่งถือเป็นแบบแผนของสังคมมนุษย์ที่ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมการเรียกชื่อมาด้วยวิธีต่าง ๆ ตั้งแต่การบอกเล่าด้วยปากที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” หรือการบันทึกในรูปแบบของศิลาจารึก บทวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ชุมชน ตลอดทั้งจดหมายเหตุต่าง ๆ
 
  ในการตั้งชื่อบ้านนามเมืองนั้น หลักใหญ่ ๆ จะต้องอาศัยจุดเด่นทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่ปรากฏ  คือแหล่งน้ำ ภูเขา ป่าไม้ พื้นราบ หรืออื่น ๆ มาเป็นนามบัญญัติ โดยใช้ภาษาท้องถิ่นอันเป็นที่รับรู้เข้าใจร่วมกันมากำหนดเป็นชื่อ ด้วยเหตุนี้การที่จะทำให้เข้าใจชื่อบ้านนามเมืองอย่างแท้จริงก็จะต้องศึกษาค้นคว้า ตีความให้สัมพันธ์กับภาษาของท้องถิ่นเหล่านั้นด้วย
 
  ชื่อบ้านนามเมืองเป็นหลักฐานอีกด้านหนึ่งที่จะทำให้รับรู้ถึงสภาพการดำรงชีวิต อาชีพ เศรษฐกิจ และสังคมของกลุ่มชน ทำให้มองเห็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการเลือกตั้งถิ่นฐานอันสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิต จึงนับว่าเป็นสาระที่น่าสนใจศึกษา และเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานอันสำคัญอย่างยิ่ง
 
*ปี 2511 แยกเป็น'''กิ่งอำเภศรีธาตุ''' อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
*วันที่ 15 มิถุนายน 2516 ตั้งเป็น'''อำเภศรีธาตุ''' จังหวัดอุดรธานี
 
== สภาพทางภูมิศาสตร์ ==
เดิมอำเภอศรีธาตุ  อยู่ในเขตปกครองของอำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี  ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๑๑  และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่  ๑๕  มิถุนายน  ๒๕๑๖ โดยได้ชื่ออำเภอมาจากนามขององค์พระธาตุศรีธาตุ   ตั้งอยู่ที่วัดศรีธาตุประมัญชา (วัดป่าแมว) บ้านหนองแวง  หมู่ที่ ๓ ตำบลจำปี  ดังนั้นเพื่อให้เป็นศิริมงคลแก่บ้านเมือง  คนเฒ่าคนแก่จึงได้ตั้งชื่ออำเภอตามนามของพระธาตุ  คือ  “อำเภอศรีธาตุ”   ตั้งที่ว่าการ  และหน่วยงานทางราชการต่าง ๆ อยู่ที่หมู่ที่ ๑ บ้านศรีธาตุ  ตำบลศรีธาตุ  ถนนสายกุมภวาปี-วังสามหมอ  (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  ๒๐๒๓)  อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดอุดรธานี      ระยะทางรถยนต์  ห่างจากจังหวัดอุดรธานี  ๗๒  กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมด  ๕๑๒  ตารางกิโลเมตร  สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง  ประมาณร้อยละ ๗๐  เป็นป่าสงวนแห่งชาติ  ซึ่งมีสภาพที่เสื่อมโทรม
 
 อำเภอศรีธาตุ มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนเตี้ย สลับพื้นที่นามีที่ราบลุ่มอยู่บริเวณริมลำน้ำปาว มีภูเขาลูกเล็ก ๆ ชื่อภูกระแตแบ่งเขตอำเภอศรีธาตุ กับอำเภอไชยวาน และกิ่งอำเภอกู่แก้ว  จังหวัดอุดรธานี มีความสูงจากระดับน้ำทะเล
 
ปานกลางประมาณ  ๒๐๐  เมตร 
 
'''ลักษณะทางธรณีวิทยา''' ลักษณะหินที่พบในเขตอำเภอศรีธาตุ ส่วนใหญ่จะเป็นหินกรวด และหินทราย
 
'''ลักษณะดิน''' ดินในอำเขตอำเภอศรีธาตุ ส่วนมากเป็นดินร่วนปนทราย
 
'''แหล่งน้ำธรรมชาติ''' ในอำเภอศรีธาตุ มีแหล่งน้ำและลำห้วยที่สำคัญคือ ลำน้ำปาว  ลำห้วยกอก  ลำห้วยฮี  ลำห้วยวังเฮือ  ลำห้วยโพธิ์ และห้วยไพจาน
 
== สภาพภูมิอากาศ ==
 
=== ฤดูกาล ===
  อำเภอศรีธาตุ ตั้งอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบเมืองร้อนเฉพาะฤดู (Tropical Savannah Climate  “Aw”) ตามการจำแนกลักษณะภูมิอากาศของระบบ  Koppen  ในฤดูร้อนอากาศค่อนข้างจะร้อนในฤดูร้อน และเย็นจัดในฤดูหนาว  ฤดูกาลของอำเภอศรีธาตุ พอจะแบ่งออกได้  ๓  ฤดูดังนี้ 
 
=== อุณหภูมิ ===
   ภูมิอากาศของอำเภอศรีธาตุ ในช่วงระหว่างปี  ๒๕๓๖ ถึง ๒๕๔๕  อำเภอศรีธาตุ มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีมีค่าอยู่ในช่วง  ๒๖.๒  องศาเซลเซียส ถึง ๒๖.๘  องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ในช่วง  ๗.๐  องศาเซลเซียส  ถึง  ๑๒.๑  องศาเซลเซียส  โดยอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ที่  ๗.๐  องศาเซลเซียส  เมื่อปี  ๒๕๓๙  และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในช่วง  ๓๓.๑  องศาเซลเซียส  ถึง  ๔๐.๕  องศาเซลเซียส  โดยอุณหภูมิสูงสุดวัดได้  ๔๐.๕  องศาเซลเซียส เมื่อปี  ๒๕๓๖
 
== ทรัพยากร ==
 
=== การเกษตรกรรม ===
อำเภอศรีธาตุ มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ  ๓๒๐,๐๐๐  ไร่  พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตรกรรม  มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ  ๒๐ %  ส่วนมากเป็นป่าเสื่อมโทรม
 
====         พืชเศรษฐกิจ ====
ประชากรในอำเภอศรีธาตุ ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ  อ้อย มันสำปะหลัง และข้าว
 
==== การปศุสัตว์ ====
           การประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์ของประชากรอำเภอศรีธาตุ ส่วนใหญ่แล้ว จะดำเนินการในลักษณะครอบครัวเพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว การเลี้ยงสัตว์ในเชิงพาณิชย์มีน้อย สัตว์ที่เลี้ยงพอจำแนกได้คือ โค  กระบือ  ไก่  เป็ด  สุกร
 
==== ป่าไม้ ====
            อำเภอศรีธาตุ มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ  ๒๐%  ของพื้นที่ทั้งหมดและเป็นป่าเสื่อมโทรม สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นชนิดป่าเต็งรัง ลักษณะป่าโปร่ง มีต้นไม้ขึ้นอยู่ประปรายไม่หนาแน่น ประกอบไปด้วยไม้เนื้อแข็งได้แก่  ไม้มะค่าโมง ตะเคียนทอง ประดู่ เต็งรัง แดง และตะแบกรวมทั้งเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขต  สปก.
 
== สภาพแวดล้อม ==
 
=== ปัญหาสภาพแวดล้อม ===
 
==== ทรัพยากรป่าไม้และปัญหาคือ ====
             ๑) ปัญหาพื้นที่ป่าลดลงเนื่องจากมีการบุกรุกป่าเพื่อทำการเกษตรกรรมทั้งแบบถาวรและเลื่อนลอย
 
             ๒) ปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งเกิดจากการบุกรุกตัดไม้ไปใช้ประโยชน์ การทำไร่เลื่อนลอย และประกอบกับสภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้ป่าเสื่อมโทรมนั้นฟื้นตัวได้ยาก
 
             ๓) ปัญหาการขาดข้อมูลลักษณะทรัพยากรป่าไม้เพื่อการจัดการและพื้นที่ป่าบางประเภทขาดการศึกษาสภาพการจัดการ เนื่องจากไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าซึ่งได้แก่ ป่าชุ่มน้ำ (ป่าบุ่ง  ป่าทาม) ตามลำน้ำสายหลักเช่น  ลำน้ำปาว
 
==== ทรัพยากรน้ำ  ลักษณะปัญหาคือ ====
              ๑) การขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ในช่วงฤดูแล้ง เพราะขาดแคลนแหล่งเก็บกักน้ำใช้
 
              ๒) ปัญหาอุทกภัย อันเกิดจากน้ำหลากของลำน้ำปาว
 
==== ทรัพยากรดิน ====
              ดินเป็นปัญหาที่กระจายอยู่เกือบทั่วไปในเขตอำเภอศรีธาตุ คือปัญหาดินเค็มปานกลางและดินเสื่อมสภาพเนื่องจากการทำการเกษตร ของเกษตรกร คือการปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง  และขาดการบำรุงรักษาหน้าดินที่ถูกวิธี
 
==== แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและศิลปกรรม ====
              ๑) ขาดการจัดสถานที่ท่องเที่ยวคือการคมนาคม ไม่สะดวก ขาดการประชาสัมพันธ์
 
              ๒) การทำให้เสื่อมคุณภาพของสถานที่ท่องเที่ยวหรือศิบปกรรมจากนัท่องเที่ยวหรือคนในท้องถิ่น โดยการขีดเขียน ขุดหาของมีค่า และการบุกรุกเข้าอยู่อาศัย เช่น การลักลอบขุดที่บ้านหนองอึ่ง บ้านนายูง วัดศรีธาตุประมัญชา
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
เส้น 114 ⟶ 42:
||6.||||นายูง||||||(Na Yung)||||||10 หมู่บ้าน||
|-
||7.||||ตาดทอง||||||(Tat Thong)<!--http://www.dopa.go.th/web_pages/m03050000/documents/thai_eng.zip-->|| ||||11 หมู่บ้าน||
|}
 
เส้น 127 ⟶ 55:
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลนายูง''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนายูงทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลตาดทอง''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาดทองทั้งตำบล
 
== การคมนาคม ==
 
=== การคมนาคมทางบก ===
          ประชากรในอำเภอศรีธาตุ ใช้การคมนาคมทางบกโดยเส้นทางรถยนต์เป็นหลัก เส้นที่สามารถเดินทางไปยังอำเภอศรีธาตุ ตามเส้นทางสายสำคัญมีดังนี้
 
                     ๑. จากตัวจังหวัดอุดรธานี ตามทางหลวงหมายเลข  ๒  ถึง อำเภอกุมภวาปี เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  ๒๐๒๓  ถึงอำเภอศรีธาตุ  '''ระยะทาง  ๗๒  กิโลเมตร'''
 
                      ๒. จากอำเภอศรีธาตุ  ถึง อำเภอวังสามหมอ  '''ระยะทาง  ๒๔  กิโลเมตร'''
 
                      ๓. จากอำเภอศรีธาตุ ถึง อำเภอไชยวาน  '''ระยะทาง  ๔๒  กิโลเมตร'''
 
                      ๔. จากอำเภอศรีธาตุ ถึง อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์  '''ระยะทาง  ๒๗  กิโลเมตร'''
 
                      ๕. จากอำเภอศรีธาตุ  ถึง อำเภอโนนสะดาด โดยทาง ร.พ.ช. '''ระยะทาง  ๓๗ กิโลเมตร'''
 
=== การคมนาคมทางน้ำ ===
          ในฤดูฝนสามารถเดินทางจากอำเภอศรีธาตุ โดยทางน้ำเพื่อติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ ได้ ดังนี้
 
                        ๑. จากอำเภอศรีธาตุ  ขึ้นที่ท่าบ้านท่าลาด  อำเภอวังสามหมอ  '''ระยะทางประมาณ  ๒๐  กิโลเมตร'''
 
                       ๒.จากอำเภอศรีธาตุ  ถึง หน้าเขื่อนลำปาว  อำเภอสหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  '''ระยะทางประมาณ  ๔๐  กิโลเมตร'''
 
                        ๓. จากอำเภอศรีธาตุ  ถึง  อำเภอท่าคันโท  จังหวัดกาฬสินธุ์  '''ระยะทางประมาณ  ๑๕  กิโลเมตร'''
 
== วรรณกรรมพื้นบ้าน ==
 
=== ศรีธาตุพยานรัก  วรรณกรรมพื้นบ้านอำเภอศรีธาตุ===
  นานมาแล้ว ยังมีนางแมวป่าตัวหนึ่งถือศีลและอาศัยอยู่ในป่าใหญ่ ได้เสาะหาผลไม้ในป่านำมาถวายท้าวเวสสุวัณ (เป็นเทพเจ้าผู้พิทักษ์โลกของชาวพุทธโบราณ เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ภูตผีปีศาจและความมั่งคั่งไพบูลย์ เป็นเทวดาประจำทิศอุดร) อยู่เป็นประจำด้วยความศรัทธาและเคารพ ท้าวเวสสุวัณได้เล็งเห็นคุณงามความดีของนางแมวป่าที่ประกอบแต่กรรมดี พระองค์ทรงมีพระเมตตาต่อนางมาก จึงได้พระราชทานพรให้นางหลุดพ้นจากร่างเดิมซึ่งเป็นแมว ให้กลับเป็นร่างมนุษย์เป็นหญิงสาวที่กอปรไปด้วยความงามทั้งกาย วา และจิตใจ ยากที่จะหาสาวใดในโลกนี้ที่จะมาเปรียบเทียบกับความงามของนางได้ พร้อมกับพระราชทานนามให้นางใหม่ว่า “ศรี” หมายถึงสิริมงคล ความรุ่งเรืองความงาม ความเจริญ และอวยพรให้นางจงปฏิบัติแต่คุณงามความดีอย่างเสมอต้นเสมอปลายชีวิตในวันข้างหน้าจะเจริญรุ่งเรืองสืบไป
 
ในชุมชนบ้านเดื่อยังมีชายหนุ่มรูปงามนามว่า “จำปี” เป็นกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่เยาว์วัย แม้จะอยู่ในสภาพยากจนและตกระกำลำบากเพียงใด จำปีก็ไม่เคยท้อแท้ในชีวิตมุ่งมั่นประกอบแต่คุณงามความดีตลอดมา วันหนึ่งวิญญาณของพ่อแม่ของจำปีได้มาเข้าฝัน เพื่อบอกลาไปเกิดใหม่ในสรวงสวรรค์และบอกให้ลูกไปขุดใต้โคนมะเดื่อใหญ่ที่อยู่ในสวนหลังบ้านจะพบ “เรือทองคำกายสิทธิ์” ขนาดเล็กมากซุกซ่อนอยู่ในใต้โคนต้นมะเดื่อ เรือทองคำกายสิทธิ์ดังกล่าวเป็นของคู่บุญบารมีของผู้มีบุญเท่านั้น เรือลำนี้สามารถขยายให้เป็นเรือลำใหญ่หรือให้เล็กลงได้ตามคำอธิษฐานของผู้เป็นเจ้าของ  และสามารถเหาะเหินบนท้องฟ้าได้อีกด้วยเมื่อตื่นขึ้นจึงได้ไปขุดตามที่ฝันก็พบเรือทองคำดังกล่าวตามความฝันทุกอย่าง ทำให้จำปีดีใจเป็นอย่างยิ่ง จึงนำเรือทองคำดังกล่าวเก็บไว้ในย่ามอย่างมิดชิด
 
คงเป็นบุบเพสันนิวาสของจำปีและศรีที่เคยทำบุญร่วมกันมาแต่ปางก่อน จึงดลบันดาลให้หนุ่มสาวทั้งสองได้พบกันวันหนึ่งจำปีได้ออกไปหาฟืนและเก็บผลไม่ไว้เป็นอาหารก็ได้ยินเสียงผู้หญิงร้องขอความช่วยเหลือ จึงเข้าไปดูเห็นเสือโคร่งกำลังวิ่งไล่ศรีอยู่ จึงเข้าช่วยเหลือและต่อสู้กับเสือโคร่งจนสิ้นใจตาย ส่วนจำปีก็บาดเจ็บจากการต่อสู้จนแทบเอาชีวิตไม่รอดเหมือนกัน ศรีรู้สึกสำนึกในบุญคุณที่จำปีได้ช่วยเหลือชีวิตนางให้รอดตายในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง จึงช่วยจัดหายามาเพื่อทำการรักษาบาดแผลให้กับจำปี ในเวลาต่อมาคนทั้งสองก็สนิทสนมกันจนกลายเป็นความรัก และตัดสินใจใช้ชีวิตคู่สามีภรรยากันอย่างมีความสุข
 
กล่าวถึงท้าวอุตตะราช ผู้ครองเมืองอุตตะ ได้เสด็จออกประพาสป่าผ่านมาทางป่ามะเดื่อได้พบจำปี และศรีเกิดความพอใจและหลงไหลในรูปโฉมของศรีภรรยาจำปีเป็นอย่างยิ่ง จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ศรีมาเป็นภรรยาของตัวเอง จนเกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงนางศรีขึ้น จำปีต่อสู้กับกำลังทหารของท้าวอุตตะราชไม่ได้ จึงบอกให้ภรรยาขึ้นเรือทองคำกายสิทธิ์หนีไปก่อนและตัวเองก็ถูกจับไปเพื่อเป็นเหยื่อล่อให้นางศรีมาช่วยสามีต่อไป นางศรีได้ไปขอความช่วยเหลือจากท้าวเวสสุวัณแต่ก็ไม่สามารถจะช่วยอะไรได้ ท้าวเวสสุวัณจึงได้แต่ปลอบใจนางว่า มันเป็นกรรมเก่าของคนทั้งสองที่ยังไม่หมดสิ้น ทุกอย่างย่อมดำเนินไปตามกฎแห่งกรรม ไม่มีใครสามารถหลีกเลี้ยงได้จึงขอให้นางเอาธรรมะเข้าช่วยและอดทนแล้วทุกอย่างจะคลี่คลายไปเอง
 
นางศรีจึงได้ลาท้าวเวสสุวัณขึ้นเรือทองคำกายสิทธิ์เพื่อกลับมาช่วยเหลือสามี โดยเสนอเงื่อนไขว่าให้ปล่อยสามีของนาง แล้วนางจะยอมทำตามความต้องการของท้าวอุตตะราชทุกอย่าง จำปีเห็นว่าภรรยาจะเสียท่าท้าวอุตตะราช เพราะไม่มีประโยชน์ที่นางศรีจะมาช่วยเหลือเขา เนื่องจากเขาได้รับบาดเจ็บจากการถูกทรมานอย่างแสนสาหัส และจำปีรู้ตัวดีว่าคงไม่รอดแน่ จึงตัดสินใจเอาศีรษะพุ่ง      เข้าชนกำแพงอย่างแรงจนสิ้นใจตาย ทำให้นางศรีเสียใจอย่างมาก จึงค่อย ๆ ร่อนเรือทองคำกายสิทธิ์ลงมาหาศพของสามีอย่างเหม่อลอย แล้วเสนอเงื่อนไขให้ท้าวอุตตะราชว่า ก่อนที่นางจะตกลงปลงใจกับท้าวอุตตะราชนั้นขอให้จัดการพิธีศพสามีของนางให้เรียบร้อยก่อน โดยขอให้สร้างธาตุขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของสามีนางก่อนเพื่อความสบายใจของนาง และเป็นการขอขมาต่อสามีที่ตายไป ท้าวอุตตะราชยอมทำตามที่นางขอ จึงได้ระดมช่างฝีมือดีเป็นจำนวนมากกาก่อธาตุเป็นการใหญ่จนแล้วเสร็จนางศรี จึงแกล้งทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับท้าวอุตตะราช คือยอมแต่งงานด้วย และได้ชวนให้ท้าวอุตตะราช ขึ้นเรือทองคำกายสิทธิ์ พอได้โอกาสจึงผลักท้าวอุตตะราชให้ตกลงมาจนถึงแก่ความตาย ท่ามกลางความตกตะลึงของเหล่าเสนาอำมาตย์และชาวเมืองอุตตะราช นางศรีจึงนำเรือเหาะทองคำกายสิทธิ์ลงสู่พื้นดินหน้าธาตุ ที่เก็บอัฐิของสามี อธิษฐานต่อท้าวเวสสุวัณและเทพยดาอินทร์พรหมตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สิงสถิตย์อยู่บนพื้นพิภพ ขอยึดมั่นในรักเดียวใจเดียวและขอตายตามสามีเพื่อให้ความรักของนางเป็นอมตะตราบนานเท่านาน พออธิษฐานเสร็จนางก็กลั้นใจตายตามสามีแล้วร่างของนางก็กลายเป็นแมวทองคำเคียงข้างกับเรือทองคำกายสิทธิ์อยู่ที่พระธาตุประมัญชาตั้งแต่นั้นมา ผู้รวบรวมสันนิษฐานว่าเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดี และมีใจซื้อสัตย์ต่อผู้เป็นภรรยา ชาวบ้านจึงได้นำชื่อของจำปี  มาตั้งเป็นชื่อตำบล '''''“จำปี”''''' ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอศรีธาตุ และเพื่อแสดงถึงความรักที่เป็นอมตะของ “ศรี” จึงได้นำมารวมกับคำว่า “ธาตุ” ที่เก็บอัฐิของจำปี ผู้เป็นสามีตั้งเป็นชื่ออำเภอว่า “'''ศรีธาตุ”''' มาจนถึงทุกวันนี้
 
ปัจจุบันองค์พระธาตุประมัญชาอยู่ที่วัดศรีธาตุประมัญชา (ป่าแมว) บ้านหนองแวง  ตำบลจำปี  อำเภอศรีธาตุ  ห่างจากอำเภอศรีธาตุ  ๖  กิโลเมตร  เป็นศิลปะแบบล้านช้าง และกรมศิลากรได้บูรณะในปี พ.ศ. ๒๕๓๙  ตามแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่น
 
{{อำเภอในจังหวัดอุดรธานี}}