ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำเหมืองถ่านหิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
autoMigrateToWikidata @ d:q959309
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ทำการ" → "" ด้วยสจห.
บรรทัด 4:
[[ไฟล์:Coal mine Wyoming.jpg|thumb|right|250px]]
 
การทำเหมืองถ่านหินแบบเหมืองเปิดนั้น เป็นการทำเหมืองจากผิวดินลึกลงไปหาชั้นแร่แล้วทำการขุดแร่นั้นขึ้นมาใช้ การทำเหมืองแบบนี้มีที่ดำเนินการอยู่ 3 ประเภทคือ
 
* '''แบบเปิดปากหลุม''' - จะทำโดยการเปิดหน้าดินเป็นบ่อลึกลงไปจนถึงชั้นแร่แล้วจึงทำการขุดแร่ออกมาใช้งาน การทำเหมืองประเภทนี้จะแบ่งทำเป็นชั้นๆ ซึ่งอาจจะมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นแร่และความสามารถของเครื่องจักรกลที่จะนำมาใช้ทำงาน ลักษณะของเหมืองจะคล้ายกับรูปปิรามิดฐานกลมพุ่งลงดินหรือเหมือนกับการขุดบ่อลึกลงไปเป็นขั้นบันได การทำเหมืองเป็นชั้นนี้ทำให้เกิดความมั่นคงของผนังบ่อเหมือง และมีความปลอดภัยในการทำงาน ความสูงของชั้นจะกำหนดตามความสามารถของเครื่องจักรกลที่ใช้ทำการขุด ส่วนความกว้างของชั้นขณะทำงานนั้นจะต้องมีความกว้างเพียงพอสำหรับใช้เครื่องจักรกลต่างๆ สามารถทำงานได้อย่างสะดวก
 
* '''แบบเป็นบ่อ''' - เป็นการทำเหมืองเปิดอีกวิธีหนึ่งหลักใหญ่ของการทำเหมืองแบบนี้ก็คือการลดการขนหน้าดิน ออกไปทิ้งยังที่ทิ้งดินซึ่งอยู่ไกลออกไปแต่จะกองไว้ข้างบ่อเหมือง การเปิดเครื่องจักรกลที่ทำงานดิน จะต้องเป็นเครื่องจักรกลที่รวมความสามารถในการขุดและขนไว้นอกบ่อเหมืองด้วยรถบรรทุกหรือระบบสายพานลำเลียง เช่น ดินส่วนที่เป็นผิวดินจะต้องขนไปกองไว้นอกบ่อเหมืองเป็นการชั่วคราว เพื่อจะนำกลับมาใช้ในการฟื้นสภาพเหมืองในภายหลัง โดยลักษณะการทำเหมืองแบบนี้ จะทำให้ปริมาณการเปิดหน้าดินและใช้เนื้อที่การทำเหมืองน้อยกว่าการทำเหมืองแบบแบบเปิดปากหลุม สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านเครื่องจักรกลสำหรับขนดินและค่าใช้จ่ายทางด้านการฟื้นฟูสภาพเหมืองลงได้มาก ลักษณะของแหล่งแร่ที่เหมาะกับการทำเหมืองแบบนี้ ประกอบด้วย
บรรทัด 13:
** ความลึกของชั้นถ่านหินต้องไม่ลึกจนเกินความสามารถของเครื่องจักรกลขุด
 
* '''แบบอุโมงค์''' - การทำเหมืองแบบนี้ไม่มีการเปิดหน้าดินจะมีเพียงการขุดเจาะเอาถ่านมาใช้เท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการทำงานเสริมหรือต่อจากการทำเหมืองแบบเปิดปากหลุมหรือแบบบ่อแล้ว โดยมากมักจะทำการเจาะในชั้นถ่านที่เบาบาง ซึ่งไม่สามารถขุดคัดแยกจากการทำเหมืองโดยวิธีอื่นแล้ว การทำเหมืองวิธีนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันเนื่องจากมีอัตตราการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อมต่ำ ยกเว้นในเหมืองที่มีถ่านหินคุณภาพสูงสามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นที่มีราคาสูงกว่าการใช้เป็นเชื้อเพลิง
 
== ขั้นตอนการทำเหมืองเปิด ==
หลังจากที่ได้ทำการสำรวจทางด้าน[[ธรณีวิทยา]]จนได้ข้อมูลของแหล่งแร่ทั้งทางด้านโครงสร้างทางธรณีวิทยาและปริมาณแร่ที่มีอยู่แล้ว จะต้องนำข้อมูลดังกล่าวมาทำการศึกษาความเหมาะสม ในการเปิดการทำเหมืองที่มีความคุ้มค่าทาง[[เศรษฐศาสตร์]] ซึ่งปริมาณแร่ที่มีทั้งแหล่งอาจจะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการทำเหมืองทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนของแหล่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรณีวิทยาของแหล่งลักษณะการวางตัวของชั้นแร่ และราคาของแร่นั้นๆ โดยลักษณะการทำเหมืองเปิด การขุดดินและแร่ออกจากบ่อเหมืองนั้น ระยะทางในการขนส่งจะไกลขึ้น เนื่องจากความลึกของบ่อเหมืองที่ลึกลงไปเรื่อยๆ จนถึงจุดซึ่งค่าใช้จ่ายต่างq ที่ใช้ในการดำเนินงาน ณ จุดนั้นไม่คุ้มค่าในการผลิต โดยการทำเหมืองวิธีนี้จะต้องดำเนินการทำเหมืองโดยวิธีอื่นที่คุ้มค่าต่อไป
 
== เหมืองถ่านหินใต้ดิน ==
[[ไฟล์:Coal Washer.JPG|thumb|right|250px]]
การทำเหมือง[[ถ่านหิน]]โดยทั่วไปถ้ามีทางเลือกที่จะทำเหมืองเปิดได้ก็ไม่ควรจะเลือกการทำเหมืองใต้ดิน เพราะการทำเหมืองใต้ดินค่อนข้างอันตราย เนื่องจากในชั้นของถ่านหินจะมีการสะสมตัวของก๊าซที่ไวต่อการติดไฟ เช่น ก๊าซ[[มีเทน]] เมื่อทำการขุดถ่านก๊าซดังกล่าวจะถูกระบายออกมาสะสมในบริเวณหน้างาน ถ้าเกิดปัญหากับระบบระบายอากาศของการทำเหมืองใต้ดินอาจทำให้เกิดการลุกติดไฟของก๊าซดังกล่าวได้ และอีกสาเหตุคือบริเวณหน้างานการขุดถ่าน จะมีการฟุ้งกระจายของฝุ่นผงถ่าน ถ้าความหนาแน่นของฝุ่นถ่านสะสมตัวถึงจุดที่เหมาะสมกับอุณหภูมิและความดันของอากาศในบริเวณหน้างานจะสามารถทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นได้
 
อย่างไรก็ตามในบางครั้งอาจมีข้อจำกัดที่ทำให้ต้องตัดสินใจเลือกการทำเหมืองถ่านหินแบบเหมืองใต้ดิน ข้อจำกัดที่พอมองเห็นได้เด่นชัดได้แก่