ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 52:
'''ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา''' ({{lang-de|Unternehmen Barbarossa}}, {{lang-en|Operation Barbarossa}}, {{lang-ru|Операция Барбарросса}}) เป็นรหัสนามสำหรับการบุกครอง[[สหภาพโซเวียต]]ของ[[ฝ่ายอักษะ]] ซึ่งเริ่มต้นขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ปฏิบัติการดังกล่าวได้นำไปสู่การกระทำเพื่อเป้าหมายทางด้านอุดมการณ์ของ[[นาซีเยอรมนี]]ในการพิชิตดินแดนสหภาพโซเวียตทางด้านตะวันตกเพื่อที่จะสร้างพื้นที่อยู่อาศัยใหม่ให้กับ[[ชาวเยอรมัน]] [[เกเนอราลพลานอ็อสท์]]ของเยอรมันนั้นมีเป้าหมายที่จะใช้ประชากรที่พิชิตมาได้บางส่วนมาเป็นแรงงานเกณฑ์สำหรับความพยายามทำสงครามของฝ่ายอักษะ ในขณะที่ได้เข้ายึดแหล่งบ่อน้ำมันสำรองบนเทือกเขา[[คอเคซัส]] รวมทั้งทรัพยากรทางเกตรกรรมของดินแดนต่าง ๆ ของโซเวียต เป้าหมายสูงสุดของพวกเขา รวมถึงท้ายที่สุดแล้ว ได้ทำการกวาดล้าง การถูกทำให้เป็นทาส การถูกทำให้เป็นเยอรมัน และการเนรเทศต่อ[[ชาวสลาฟ]]จำนวนมากมายไปยัง[[ไซบีเรีย]] และเพื่อสร้าง[[เลเบินส์เราม์]](พื้นที่อยู่อาศัย) สำหรับเยอรมนี{{sfn|Rich|1973|pp=204–221}}{{sfn|Snyder|2010|p=416}}
 
ในช่วงสองปีที่นำไปสู่การบุกครอง เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ลงนามในสนธิสัญญา[[กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ|ทางการเมือง]]และ[[ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจของนาซี-โซเวียต (ค.ศ. 1934-1941)|เศรษฐกิจ]]เพื่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ อย่างไรก็ตาม [[กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์]](OKW) ได้เริ่มวางแผนการบุกครองสหภาพโซเวียตในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 (ภายใต้รหัสนามว่า [[ปฏิบัติการอ็อทโท]]) ซึ่ง[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ได้มอบอำนาจ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1940 ในช่วงระหว่างปฏิบัติการดังกล่าว จำนวนกำลังพลประมาณสามล้านนายของฝ่ายอักษะ ซึ่งเป็นกองกำลังรุกรานที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาตร์สงคราม การบุกครองดินแดนสหภาพโซเวียตทางด้านตะวันตกตามแนวรบระยะทางประมาณ 2,900 กิโลเมตร (1,800 ไมล์) กับยานพาหนะด้วยยานยนต์ 600,000 คัน และจำนวนม้ากว่า 600,000 ตัว สำหรับปฏิบัติการที่ไม่ใช่การสู้รบ การบุกครองดังกล่าวได้ขยายตัวอย่างมากในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งในทางด้านภูมิศาสตร์และในการก่อตัวของ[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|แนวร่วมฝ่ายสัมพันธมิตร]] รวมทั้งสหภาพโซเวียต
 
ปฏิบัติการนี้ได้เปิดฉาก[[แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|แนวรบด้านตะวันออก]] ซึ่งมีกองกำลังมากมายที่เข้าร่วมมากกว่าในเขตสงครามอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ พื้นที่ดังกล่าวได้มีการพบเห็นถึงการสู้รบขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่ดูโหดร้ายและน่าสะพรึงกลัวที่สุด และมีการบาดเจ็บล้มตายสูงสุด (สำหรับกองกำลังฝ่ายโซเวียตและกองกำลังฝ่ายอักษะ) ซึ่งทั้งหมดนี้มีอิทธิพลต่อสงครามโลกครั้งที่สองและประวัติศาสตร์ในภายหลังของทศวรรษที่ 20 ในที่สุด กองทัพเยอรมันได้จับกุมกองกำลังทหารของกองทัพแดงโซเวียตได้ราวประมาณห้าล้านนาย{{sfn|Chapoutot|2018|p=272}} ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เคยกลับมามีชีวิตอีกเลย พวกนาซีได้จงใจให้อดอาหารหรือไม่ก็สังหารต่อเชลยศึกจำนวน 3.3 ล้านนายและพลเรือนอีกจำนวนมาก ด้วย"[[แผนความหิว]]" ซึ่งถูกใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนอาหารของเยอรมันและกำจัดประชากรชาวสลาฟด้วยทุกขภิกภัย{{sfn|Snyder|2010|pp=175–186}} [[ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน|มีการยิงเป้า]]และปฏิบัติการรมแก๊สจำนวนมากโดยพวกนาซี หรือผู้ให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจ{{Efn|See for instance the involvement of Latvian and Ukrainian forces in killing Jews cited by historian, Raul Hilberg.{{sfn|Hilberg|1992|pp=58–61, 199–202}}}} ได้ทำการสังหาร[[ชาวโซเวียตเชื้อสายยิว]]จำนวนกว่าล้านคน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[ฮอโลคอสต์|ฮอโลคอสต์{{sfn|United States Holocaust Memorial Museum|1996|pp=50–51}}]][./ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา#cite_note-FOOTNOTEUnited_States_Holocaust_Memorial_Museum199650–51-16 <span class="mw-reflink-text"><nowiki>[15]</nowiki></span>]
 
ด้วยความล้มเหลวของปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ทำให้โชคชะตา่ของชะตาของ[[ไรช์ที่สาม]]ต้องกลับตาลปัตร{{sfn|Rees|2010}} ในทางปฏิบัติ กองทัพเยอรมันได้รับชัยชนะครั้งสำคัญและเข้ายึดครองพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดบางแห่งชองสหภาพโซเวียต (ส่วนใหญ่อยู่ใน[[สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน|ยูเครน]]) และได้รับความเสียหาย เช่นเดียวกับการบาดเจ็บล้มตายอย่างต่อเนื่อง แม้จะประสบความสำเร็จในช่วงแรก แต่ฝ่ายรุกของเยอรมันต้องหยุดชะงักลงใน[[ยุทธการที่มอสโก]] เมื่อปลายปี ค.ศ. 1941 และตามมาด้วยการโจมตีตอบโต้กลับในฤดูหนาวของโซเวียตได้ผลักดันให้กองทหารเยอรมันกลับไป เยอรมันได้คาดหวังอย่างมั่นอกมั่นใจว่า การต่อต้านของโซเวียตจะพังทลายลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับใน[[การบุกครองโปแลนด์|โปแลนด์]] แต่กองทัพแดงได้ซึมซับการโจมตีที่รุนแรงที่สุดของกองทัพ[[แวร์มัคท์]] และจมปลักอยู่ใน[[สงครามพร่ากำลัง]] ซึ่งเยอรมันไม่ได้เตรียมการมาก่อนเลย กองทัพที่ดูลิดรอนของแวร์มัคท์ไม่สามารถโจมตีตามแนวรบด้านตะวันออกทั้งหมดได้อีกต่อไป และตามมาด้วยปฏิบัติการเพื่อการรุกเข้ายึดกลับคืนและรุกเข้าไปลึก ๆ ในดินแดนโซเวียต เช่น [[กรณีสีน้ำเงิน]] ในปี ค.ศ. 1942 และ[[ปฏิบัติการซิทาเดล]]ในปี ค.ศ. 1943 จนในที่สุดก็ต้องล้มเหลวซึ่งส่งผลทำให้แวร์มัคท์ต้องล่าถอยและพังทลายลง
 
== เจตนาของเยอรมนี ==