ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกมุดน้ำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nix Sunyata (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{taxobox |name=Brown dipper |image=Cinclus pallasii (side).JPG |image_caption=Immature |status=LC |status_system=IUCN3.1 |status_ref=<ref>{{cite iucn|url=https://www.iu...
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:44, 1 มีนาคม 2564

Brown dipper
Immature
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Cinclidae
สกุล: Cinclus
สปีชีส์: pallasii
ชื่อทวินาม
Cinclus pallasii
Temminck, 1820 [2]
Distribution map

นกมุดน้ำ (อังกฤษ: The brown dipper หรือ Pallas's dipper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinclus pallasii) เป็นชนิดเดียวในวงศ์นกมุดน้ำ (Cinclidae) ที่พบในประเทศไทยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล นกมุดน้ำเป็นนกน้ำที่มีเสียงร้องไพเราะ มีถิ่นอาศัยใกล้ธารน้ำไหลที่สะอาดใสในแถบต้นน้ำบริเวณระดับกลางถึงล่างของเทือกเขา มีหางสั้น ขนสีน้ำตาลเข้มทั่วทั้งตัว มีพฤติกรรมชอบกระโดดลงไปในลำธาร ว่ายน้ำและดำน้ำเพื่อจับเหยื่อเหมือนนกทะเล และมักพบว่าใช้ชีวิตไม่ห่างจากน้ำโดยตลอด

อนุกรมวิธาน

นกมุดน้ำได้รับการอธิบายโดยนักสัตววิทยาชาวดัตช์ Coenraad Jacob Temminck ในปีพ. ศ. 2363 และตั้งชื่อทวินามว่า Cinclus pallasii'‘[3] ถิ่นกำเนิด (Type Locality) คือไซบีเรียตะวันออก[4] ชื่อเฉพาะ "pallasii" ได้รับการตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ Peter Simon Pallas นักธรรมชาติวิทยาชาวปรัสเซีย (ค.ศ. 1741-1811)[5] นกมุดน้ำมีถิ่นอาศัยใกล้แหล่งน้ำ มี 5 ชนิดทั่วโลก (𝑪𝒊𝒏𝒄𝒍𝒖𝒔 𝑪𝒊𝒏𝒄𝒍𝒖𝒔, 𝑪𝒊𝒏𝒄𝒍𝒖𝒔 𝒑𝒂𝒍𝒍𝒂𝒔𝒊𝒊, 𝑪𝒊𝒏𝒄𝒍𝒖𝒔 𝒎𝒆𝒙𝒊𝒄𝒂𝒏𝒖𝒔, 𝑪𝒊𝒏𝒄𝒍𝒖𝒔 𝒍𝒆𝒖𝒄𝒐𝒄𝒆𝒑𝒉𝒂𝒍𝒖𝒔, 𝑪𝒊𝒏𝒄𝒍𝒖𝒔 𝒔𝒄𝒉𝒖𝒍𝒛𝒊𝒊) แต่พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย (C. pallasii) และจากการศึกษาทางพันธุกรรมระดับโมเลกุลของนกสกุลนกมุดน้ำ 5 ชนิดแสดงให้เห็นว่า นกมุดน้ำ (C. pallasii) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมากที่สุดกับนกมุดน้ำคอขาว (Cinclus cinclus) ที่อาศัยในยูเรเชีย[6]

ชนิดย่อย

  • Cinclus pallasii pallasii Temminck, 1820 – พบในเทือกเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ (ไซบีเรียตะวันออก ถึงหมู่เกาะซาคาริน และคูริล), ญี่ปุ่น, จีนตอนกลางและตะวันออก รวมถึงเกาะไต้หวัน, ไทยตอนเหนือ, เวียดนามตอนเหนือ
  • Cinclus pallasii dorjei Kinnear, 1937 – อาศัยในเทือกเขาในสิกขิมตะวันออก อัสสัม จีน (แถบทิเบตตะวันออก) พม่าตอนเหนือ และไทยตอนเหนือ
  • Cinclus pallasii tenuirostris Bonaparte, 1850 – พบได้ที่แถบเทือกเขาในเอเชียกลางและแถบเทือกเขาหิมาลัย

การแพร่กระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่

พบในเทือกเขาทางตะวันออกของปาลาร์ติก

ลักษณะทางชีววิทยาและพฤติกรรม

ลำตัวป้อม ยาวประมาณ 22 ซม. น้ำหนัก 87 กรัม ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลนกมุดน้ำ[7] ขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม หลังและอกสีอ่อนกว่าเล็กน้อย ปากค่อนข้างใหญ่และยาว วงรอบตาขาว ขณะหลับตาเห็นหนังปิดตาขาวชัดเจน หางมีลักษณะคล้ายกางเขนดงที่มีหางงอกระดกขึ้น นกวัยรุ่น มีขนลำตัวเทาแกมน้ำตาล มีลายเกล็ดสีดำกระจาย ปีกมีลายขาวจาง ๆ

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา

อาศัยและหากินในแหล่งน้ำที่ไหลแรงและคุณภาพดี พบได้ตามน้ำตกหรือลำธารขนาดใหญ่ ที่ระดับความสูง 200-1,000 เมตร มักพบโดดเดี่ยว โดยการยืนเกาะตามแก่งหินข้างลำธารที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี นกมุดน้ำกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์จำพวกแมลง ตัวหนอน หรือไข่ปลาที่เกาะตามก้อนหิน โดยอาหารโปรดคือแมลงน้ำ นกมุดน้ำนี้สามารถมุดลงไปใต้น้ำ ใช้ปีกและขาพุ้ยน้ำ ให้เคลื่อนที่ไปตามทิศทางที่ต้องการ จากนั้นใช้ปากคาบเหยื่อ แล้วโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเพื่อกลืนอาหารและดำลงไปหาเหยื่อต่อไป จึงเป็นที่มาของชื่อนกมุดน้ำ การว่ายน้ำและดำน้ำเพื่อจับเหยื่อนี้คล้ายพฤติกรรมของนกทะเล ในช่วงพักผ่อนจะเกาะตามก้อนหินเพื่อตากแดดให้ขนแห้ง มักร้องเสียง "จี๊ด ๆ" เป็บจังหวะ การผสมพันธุ์ยังไม่พบรายงานการวางไข่ของนกมุดน้ำในประเทศไทย สันนิษฐานว่านกมุดน้ำเป็นนกอพยพมายังประเทศไทยในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หรือในฤดูหนาว และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง นกมุดน้ำเป็นนกประจำถิ่นในประเทศไทยที่พบได้ยากมากอ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref> ภาพถ่ายและรายชื่อนกทุกชนิดที่พบในประเทศไทย. 3 มกราคม 2562.</ref> มีรายงานการพบเพียงครั้งเดียวในช่วงเดือนธันวาคม 2543 บริเวณคลองวังเจ้า อุทยานแห่งชาติคลองเจ้า รอยต่อจังหวัดตากและกำแพงเพชร และนกมุดน้ำนี้เป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่สามารถบ่งชี้สภาพของแหล่งน้ำได้ เนื่องจากสามารถพบได้เฉพาะลำธารที่มีคุณภาพดีมากและมีการรบกวนน้อย บริเวณอิื่นที่อาจพบนกมุดน้ำในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณอ่างกาหลวง[8]

อ้างอิง

  1. BirdLife International (2012). "Cinclus pallasii". IUCN Red List of Threatened Species. 2012. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
  2. "Cinclus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. Temminck, Coenraad Jacob (1820). Manuel d'ornithologie, ou, Tableau systématique des oiseaux qui se trouvent en Europe (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. Part 1 (2nd ed.). Paris: H. Cousin. p. 177.
  4. Mayr, Ernst; Greenway, James C. Jr, บ.ก. (1960). Check-list of Birds of the World. Vol. Volume 9. Cambridge, Massachusetts: Museum of Comparative Zoology. p. 378. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  5. Jobling, J.A. (2019). del Hoyo, J.; Elliott, A.; Sargatal, J.; Christie, D.A.; de Juana, E. (บ.ก.). "Key to Scientific Names in Ornithology". Handbook of the Birds of the World Alive. Lynx Edicions. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
  6. Voelker, Gary (2002). "Molecular phylogenetics and the historical biogeography of dippers (Cinclus)". Ibis. 144 (4): 577–584. doi:10.1046/j.1474-919X.2002.00084.x.
  7. Brown Dipper Cinclus pallasii Temminck, 1820. Avibase. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
  8. ธนัญพนธ์ เทศขำ. พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ดอยอินทนนท์ สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.