ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ดูจากหนังสือ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
เมื่อสมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1967 เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา ต่างยกทัพเข้า[[กรุงศรีอยุธยา]]เพื่อชิงราชสมบัติ ทั้งสองพระองค์ได้กระทำ[[ยุทธหัตถี]]กันที่เชิงสะพานป่าถ่านจนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ ขุนนางผู้ใหญ่จึงไปกราบทูลเชิญเจ้าสามพระยาขึ้นเสวยราชสมบัติ เฉลิมพระนามว่า'''สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า''' แล้วโปรดให้ขุดพระศพพระเชษฐาทั้งสองพระองค์ไปถวายพระเพลิง แล้วสร้าง[[วัดราชบูรณะ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)|วัดราชบูรณะ]]ในที่ถวายพระเพลิงนั้น ส่วนที่กระทำยุทธหัตถีให้ก่อเป็นเจดีย์ไว้ 2 องค์
 
พระองค์มีพระราชโอรส 23 พระองค์ ได้แก่
# พระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) โปรดให้ไปครอง[[นครธม|เมืองนครหลวง]] จนกระทั่งสิ้นพระชนม์
# เจ้าพญาแพรก โปรดให้ไปครอง[[นครธม|เมืองนครหลวง]] ต่อจากพระอินทราชา แต่ถูก[[พระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ)]] ปลงพระชนม์
# [[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] ประสูติแต่พระราชเทวีที่เป็นพระราชธิดาของ[[พระมหาธรรมราชาที่ 2]] แห่งกรุงสุโขทัย
 
เส้น 35 ⟶ 36:
=== ด้านราชการสงคราม ===
==== การศึกกับเขมร ====
ปี พ.ศ. 1974 สมเด็จพระบรมราชาธิราชได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองนครหลวง ([[นครธม]]) ในรัชสมัย[[พระธรรมาโศกราช]]ได้ แล้วโปรดให้พระนครอินท์เจ้า พระราชโอรสไปครองเมืองนครหลวงแทนในฐานะเมืองประเทศราช แล้วให้นำพระยาแก้วพระยาไท พร้อมทั้งพระประยูรญาติ เหล่าขุนนาง กับทั้งรูปหล่อพระโคสิงห์สัตว์ต่าง ๆ กลับมากรุงศรีอยุธยาด้วย ทำให้อิทธิพลของเขมรในด้านการปกครอง ประเพณี ตลอดจนงานศิลปะมาปรากฏชัดในอยุธยา ต่อมาพระองค์ได้แต่งตั้งพระอินทราชา (พระนครอินทร์) อยู่ครองกรุงนครธม แต่พระอินทราชาอยู่ปกครองกรุงกัมพูชาได้ไม่นานเท่าใดก็ประชวร สิ้นพระชนม์ พระองค์จึงทรงแต่งตั้งเจ้าเขมรองค์อื่นขึ้นพญาแพรกครองแทน
 
==== การศึกกับล้านนา ====
ในปี พ.ศ. 1985 [[พระเจ้าติโลกราช]]แห่งเชียงใหม่ ได้รบกับท้าวช้อยผู้เป็นพระอนุชา ท้าวช้อยแพ้หนีไปอยู่[[อำเภอเทิง|เมืองเทิง]](อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย) เจ้าเมืองเทิงได้มาขอสวามิภักดิ์กับ[[กรุงศรีอยุธยา]]และขอให้ส่งกองทัพไปช่วยรบ สมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงทรงยกกองทัพไปตีเมือง[[เชียงใหม่]]ของ[[อาณาจักรล้านนา]]แต่ก็ตีไม่สำเร็จประกอบกับทรงพระประชวรจึงทรงยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
ใน[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อ [[พ.ศ. 1987]] ทรงตั้งทัพหลวงที่ตำบลปะทายเขษม ครั้งนี้ได้หัวเมืองชายแดนของเชียงใหม่กับเชลยอีก 120,000 คน จึงยกทัพหลวงกลับพระนคร แต่ศึกครั้งนี้ไม่ปรากฏในหลักฐานฝ่ายล้านนา ใน[[พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ]] กล่าวเพียงแค่เสด็จไปปราบพรรค ตั้งทัพหลวงที่ตำบลปะทายเขษม ได้เชลย 120,000 คน เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงเมืองเชียงใหม่
 
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับปลีกหมายเลข 223,2/ก.125 กล่าวว่า [[พระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ)|เจ้าอยาด]] บุตรพระรามเจ้า (พระรามาธิบดี (คำขัด)) ที่ถูกส่งไปอยู่จัตุรมุข (พนมเปญ) นั้น ได้ก่อกบฏต่อพระอินทราชา ชักชวนชาวเขมรให้แข็งเมืองขึ้นจนใหญ่โตเป็นมหาพรรค พระอินทราชายกทัพไปตีเจ้าอยาดแตกพ่าย จับเจ้าอยาดส่งไปกรุงศรีอยุธยา แต่ขุนนครไชยกลับแอบปล่อยตัวให้เจ้าอยาดหนีไป เจ้าอยาดเลยระดมกองทัพมหาพรรคชาวเขมรขึ้นใหม่ ในขณะนั้นพระอินทราชาเกิดประชวรสวรรคต เจ้าสามพระยาจึงส่งเจ้าพระยาแพรก ราชบุตรอีกองค์ไปครองพระนครธม และยกทัพใหญ่เข้ามายังกัมพูชาเพื่อปราบพรรคในปี พ.ศ. 1987 จึงน่าจะเป็นเหตุการณ์นี้มากกว่าสงครามกับล้านนา และเมื่อพิจารณาจากชื่อสถานที่ตั้งทัพคือปะทายเขษม คำว่าปะทายน่าจะเพี้ยนมาจากภาษาเขมรคือ บันทาย (បន្ទាយ) ซึ่งมักพบเป็นชื่อสถานที่หรือชื่อเมืองในกัมพูชา
 
 
=== ด้านการพระศาสนา ===