ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42:
งานพุทธศิลป์ของชาวไทใหญ่มีวิวัฒนาการคล้ายกับชาวสยาม ต่างก็รับเอาพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบ[[ลังกาวงศ์]]มา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะมอญพม่า แต่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองภายใต้กรอบของศิลปะแบบมอญพม่า
 
[[วัด]] หรือ ''จอง'' ในภาษาไทยใหญ่ นิยมสร้าง[[อุโบสถ]] [[วิหาร]] หอฉัน [[กุฎิ]]สงฆ์ อยู่ติดกันในลักษณะเรือนหมู่แบบคนไทย แต่สร้างหลังคาของอาคารต่าง ๆ ทรงยอดปราสาทแบบพม่ามอญ เรียกว่า ''ทรงพญาธาตุ'' แต่ลดจำนวนชั้นและความซับซ้อนของโครงสร้างลงไป ส่วนเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับสถูปเจดีย์แบบมอญพม่า แต่มีการประยุกต์โดยขยายส่วนสูงเพิ่มขึ้น ทำให้เจดีย์ไทใหญ่มีรูปทรงสูงชลูดมากกว่าเจดีย์พม่า
 
การสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ นิยมแกะสลักจากหินหยก หรือเป็นพระพุทธไม้แกะสลักปิดทองแล้วประดับด้วยกระจก สร้างเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ครบทั้ง 4 อิริยาบถ ได้แก่ นั่ง ยืน นอน เดิน มีรูปพระพักตร์แบบพม่า และยังนิยมสร้างรูปพระอรหันต์อุปคุต รวมถึงรูปประติมากรรมต่าง ๆ ที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชา เช่น รูปสิงห์ รูปหงส์ รูปคนฟ้อนรำ เป็นต้น ส่วนงานจิตรกรรมมีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและพม่า กล่าวคือ นิยมเขียนภาพจาก[[พุทธประวัติ]] ภาพ[[ชาดก]] มีทั้งตัวละครที่แต่งกายแบบพม่า เขียนตัวละครที่แต่งกายทรงมงกุฎยอดแหลม มีเครื่องแต่งกายเหมือน[[จิตรกรรมไทย]] ด้านงานประณีตศิลป์ ได้แก่ เครื่องเขิน เป็นเครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์ บาตรพระ พานสำหรับใส่เครื่องบูชา ทำจากไม้ตกแต่งด้วยการลงเขิน หรือลงรักปิดทองและประดับด้วยกระจก งานประณีตศิลป์ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทใหญ่คือ ลายฉลุ เป็นการฉลุลายแบบที่ภาษาภาคกลางเรียกว่า งานทองแผ่ลวด แต่ชาวไทใหญ่เรียกว่า ลายไตร นำไปใช้ตกแต่งอาคารในวัดวาอาราม ศาลา หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ<ref>{{cite web |title=ชมศิลปะไทใหญ่ในแม่ฮ่องสอน |url=http://www.thaistudies.chula.ac.th/2019/01/02/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AE%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/ |publisher=ไทยศึกษา}}</ref>
 
===ชุดแต่งกาย===
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไทใหญ่"