ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พุทธศักราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 6:
 
นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "พุทธกาล" และ "พุทธสมัย" ใช้กล่าวถึงช่วงเวลาที่พระโคตมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ คือ ช่วงเวลา 80 ปีก่อนพุทธศักราช แต่บางทีก็ใช้คำเหล่านี้หมายถึง ช่วงเวลาที่เชื่อว่า พุทธศาสนาจะดำรงอยู่หลังการปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า ฉะนั้น จึงมีการใช้ ''x ปีก่อนพุทธกาล'' เพื่อหมายถึง ''x ปีก่อนพุทธศักราช'' เป็นต้น.ไป
 
วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศ เรื่อง วิธีนับวัน เดือน ปีในราชการ กำหนดให้ใช้ “พุทธศักราช” เป็นศักราชในทางราชการ แทนการใช้ รัตนโกสินทรศก ซึ่งเคยประกาศใช้ในทางราชการ มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
ทั้งนี้ มีพระราชดำริปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุรายวันที่ทรงบันทึกไว้ ถึงเหตุผลของการประกาศให้ใช้ พุทธศักราช เป็นศักราชในทางราชการ ความตอนหนึ่งว่า
 
“...ศักราชรัตนโกสินทร ซึ่งใช้อยู่ในราชการเดียวนี้ มีข้อบกพร่องสำคัญอยู่ คือเป็นศักราชที่สั้นนัก จะกล่าวถึงเหตุการณ์ใดๆ ในอดีตภาคก็ขัดข้อง ด้วยว่าพอกล่าวถึงเรื่องราวก่อนสร้างกรุงขึ้นไปแล้ว ก็ต้องหันไปใช้จุลศักราชบ้าง มหาศักราชบ้าง และในข้างวัดใช้พุทธศักราช ฝ่ายคนไทยสมัยใหม่ที่อยากจะกล่าวถึงเหตุการณ์อันมีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทรนี้ ก็มักจะหันไปใช้คฤสตศักราช ซึ่งดูเปนการเสียรัศมีอยู่ จึงเห็นว่าควรใช้พุทธศักราช จะเหมาะดีด้วยประการทั้งปวง เปนศักราชที่คนไทยเรารู้จักซึมทราบดีอยู่แล้ว...”
 
ดังนั้น ในส่วนพระองค์ได้ทรงเริ่มใช้ พุทธศักราช นับตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๕๕ ส่วนประกาศหรือเอกสารทางราชการอื่นๆ เริ่มใช้ พุทธศักราช ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๖ เป็นต้นมา (เนื่องจากก่อนพุทธศักราช ๒๔๘๓ ไทยใช้วันที่ ๑ เมษายน ตามปฏิทินสุริยคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่)
 
ด้วยพระบรมราโชบายอันแยบคายของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทำให้การใช้ศักราชของไทย สอดคล้องเป็นแนวเดียวกัน อำนวยประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าเชิงประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปในอดีตได้นานนับพันๆ ปี อีกทั้ง ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของราชอาณาจักร อันมีอิสราธิปไตยเป็นของตนเอง มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักของชาติ และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก
 
== ดูเพิ่ม ==