ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ans (คุย | ส่วนร่วม)
:cat key
บรรทัด 9:
 
คำว่า "'''ขนม'''" เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่ผสมกันมาแล้ว คือ ข้าวหนม กับข้าวนม ข้าวหนมนั้นเข้าใจว่าเป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อย น้ำตาล โดยคำว่า หนมแปลว่า หวาน อย่างข้าวหนมก็แปลว่า ข้าวหวาน เรียกสั้น ๆ เร็ว ๆ จึงเพี้ยนเป็นขนมไป ส่วนที่มาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) ออกจะดูเป็นแขกเพราะว่าอาหารของแขกบางชนิดใช้ข้าวมธุปายาสของแขกโบราณ (ดังที่นางสุชาดา ทำถวายพระพุทธเข้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม) และเช่นเดียวกันเมื่อพูดเร็ว ๆ จึงเพี้ยนกลายเป็นขนมแทน{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ขนมยังสันนิษฐานว่ามาจากภาษามลายูถิ่นใต้ของไทย คือ กานม(Ganum) หรือเรียกตามมาตรฐานภาษามลายูกลางว่า กันดุม(Gandum) ซึ่งคำนี้แปลว่า"ข้าวสาลี" ซึ่งข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบที่นิยมใช้สำหรับทำอาหารว่างหรืออาหารประเภทแป้ง ไม่ว่าจะเป็นแป้งสาลี ขนมปัง ขนมเค้ก ขนมอบ ซาลาเปา คุ้กกี้ แครกเกอร์ เค้ก โดนัท โรตี พาย ปาท่องโก๋และอื่นๆ ก่อนที่ข้าวสาลีจะนำไปประกอบอาหารต้องผ่านกระบวนการบดให้เป็นผงแป้ง จึงเรียกตามภาษาใต้ว่า ตือปงกานมซึ่งในพื้นที่ภาคใต้ของไทยเรียกกัน อันมีความหมายว่า แป้งสาลี ดังนััน"ขนม"จึงน่าจะเพี้ยนตามภาษาที่รับมาจากคำว่า"กานม" นั่นเอง
 
คำว่าขนมมีใช้มานานหลายร้อยปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำผสมของอะไร จึงเป็นการยากที่จะสันนิษฐานให้แน่นอนได้ ของที่เรียกว่าขนมในสมัยโบราณ หรือในสมัยที่จะมีคำว่าขนมนั้นจะเป็นของที่เกิดจากข้าวตำป่น (แป้ง) แล้วผสมกับน้ำตาลเท่านั้น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นขนมรุ่นแรก ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงขนมต้มไว้เหมือนกัน เดิมมีแป้งกับน้ำตาล ต่อมามีคนดัดแปลงสอดไส้เข้าไปอีก ถึงตอนนี้ยังมีมะพร้าวปนอยู่ด้วย ขนมไทยจึงมี มะพร้าว แป้ง และน้ำตาล ไม่พ้น ของทั้ง 3 เป็นของพื้นเมืองที่หาได้โดยทั่วไป {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ขนม"