ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่านิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 9261016 สร้างโดย 2405:9800:BA02:1D8D:6149:8E1E:1E47:AE19 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
 
บรรทัด 1:
ในวิชา[[จริยศาสตร์]] '''ค่านิยม''' ({{lang-en|value}}) แสดงถึงระดับความสำคัญของบางสิ่งหรือการกระทำบางอย่าง ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อตัดสินว่าการกระทำใดดีที่สุด หรือการใช้ชีวิตอย่างใดดีที่สุด (จริยศาสตร์เชิงบรรทัดฐาน) หรืออธิบายความสำคัญของการกระทำที่แตกต่างกัน ระบบค่านิยมเป็น[[ความเชื่อ]]ที่เป็นข้อห้าม (proscriptive) และในทางที่ควรเป็น (prescriptive) มีผลกระทบต่อพฤติกรรมที่มีจริยธรรมของบุคคล หรือเป็นพื้นฐานของกิจกรรมโดยเจตนาของเขา บ่อยครั้งค่านิยมหลักเป็นสิ่งที่เข้ม และค่านิยมรองมีความเหมาะสมแก่การเปลี่ยนแปลง
 
อาจนิยามค่านิยมได้ว่าเป็นความนิยมกว้างขวางที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือผลลัพธ์ที่เหมาะสม ฉะนั้น ค่านิยมจึงสะท้อนสำนึกถูกผิดของบุคคล หรือสิ่งที่ "ควรจะ" เป็น กล่าวคือ ตัวแทนของค่านิยม เช่น "ทุกคนมีสิทธิเสมอกัน", "ความเป็นเลิศสมควรได้รับการเชิดชู" และ "บุคคลควรปฏิบัติต่อกันด้วย[[ความเคารพ]]และ[[ศักดิ์ศรี]]" เป็นต้น ค่านิยมมักมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรม และชนิดเหล่านี้รวมถึงค่านิยมจริยธรรม/ศีลธรรม ค่านิยม[[ลัทธิ]]/[[อุดมการณ์]] (ศาสนา, การเมือง) ค่านิยมสังคม และค่านิยม[[สุนทรียศาสตร์]] มีการถกเถียงว่าค่านิยมที่ไมได้ตัดสินทางจิตใจอย่างชัดเจน เช่น ปรัตถนิยม เป็นค่าในตัว (intrinsic) หรือไม่ และค่านิยมบางอย่าง เช่น ความอยากได้อยากมี (acquisitiveness) ควรจัดเป็น[[ความชั่ว]]หรือ[[คุณธรรม]]