ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบรมวงศานุวงศ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ethan2345678 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ethan2345678 (คุย | ส่วนร่วม)
มุมมองสากล ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่มีระบบกษัตริย์
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{มุมมองสากล}}
[[ไฟล์:พระบรมวงศานุวงศ์.jpg|300px|thumb|พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ 9 ใน[[พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี|พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี]]]]
'''พระบรมวงศานุวงศ์''' พระบรมราชวงศ์ หรือ เชื้อพระวงศ์ หมายถึง พระประยูรญาติใหญ่น้อยทั้งหมดทุก[[ราชสกุล]]ของ[[พระมหากษัตริย์|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] โดยประกอบด้วย 2 คำ คือ
 
* '''พระบรมวงศ์''' (บรมวงศ์ แปลว่า วงศ์ประเสริฐ หมายถึง วงศ์ใหญ่) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็น "พระญาติที่สนิทของพระมหากษัตริย์" อันได้แก่ เจ้านายที่มีพระยศเป็น เจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ชั้นลูกหลวง ตัวอย่างพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หรือที่ใกล้ชิดกษัตริย์ เช่น [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] พระโสทรกนิษฐภคินี เป็นต้น
 
* '''พระอนุวงศ์''' (อนุวงศ์ แปลว่า วงศ์น้อย) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็น "พระญาติห่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" อันได้แก่ เจ้านายที่มีพระยศตั้งแต่ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ]] [[พระวรวงศ์เธอ]] [[พระองค์เจ้า]] ลงมาถึง [[หม่อมเจ้า]] ซึ่งหม่อมเจ้าถือเป็นพระอิสริยยศชั้นสุดท้ายในบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์
 
ส่วน[[หม่อมราชวงศ์]]และ[[หม่อมหลวง]]ถือเป็นสามัญชน ไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์และมิได้จัดอยู่ในพระอนุวงศ์ แต่เรียกว่า [[ราชสกุล|ราชนิกุล]] และเป็นผู้อยู่ใน[[ราชสกุล]] หรือผู้เนื่องในสายราชสกุล สำหรับผู้สืบเชื้อสายลงมาจาก[[หม่อมหลวง]]จะมีคำนำหน้านามตามปกติสามัญคือ นาย/นางสาว และมีสร้อย [[ณ อยุธยา]] ต่อท้ายนามสกุลอันเป็น[[ราชสกุล]] สำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากฝ่ายบิดาเท่านั้น และสำหรับผู้ที่สืบเชื้อสายราชสกุลจากมารดาสามารถขอใช้นามสกุลมารดาอันเป็น[[ราชสกุล]]ได้ แต่ห้ามเติมคำว่า [[ณ อยุธยา]] เป็นเด็ดขาด ดังนั้นจึงพึงระวังในการใช้ เพราะพระราชวงศ์จะสืบราชตระกูลทางฝ่ายหน้าเท่านั้น (ชาย)
 
== อ้างอิง ==