ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Anonimeco/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{กระบะทรายผู้ใช้}} <!-- กรุณาทดลองเขียนหรือร่างบทควา..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 1:
{{กระบะทรายผู้ใช้}}
[[ภาพ:Cotyledon-Cercis siliquastrum.jpg|thumb|ใบเลี้ยงจากต้นอ่อนของ ''[[Cercis siliquastrum]]'']]
<!-- กรุณาทดลองเขียนหรือร่างบทความใต้บรรทัดนี้ -->
[[ภาพ:Mimosa pudica - cotyledon.jpg|thumb|ต้นอ่อน[[ไมยราบ]] (''Mimosa pudica'') มีใบเลี้ยง 2 ใบ และใบแท้แรก 6 ใบ]]
 
'''ใบเลี้ยง''' ({{lang-en|cotyledon}}) เป็นส่วนสำคัญใน[[เอ็มบริโอ]]ภายใน[[เมล็ด]]พืช [[พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด]]นิยามใบเลี้ยงว่า "ใบอ่อนในพืชมีเมล็ด ซึ่งหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งใบจะปรากฏเป็นครั้งแรกจากเมล็ดที่กำลังงอก"{{sfn|OED|2019}} ใบเลี้ยงเป็นสิ่งหนึ่งที่นักพฤกษศาสตร์ใช้ในการจำแนก[[พืชดอก]]ออกเป็น[[พืชใบเลี้ยงเดี่ยว]] (monocots) และ[[พืชใบเลี้ยงคู่]] (dicots)
 
ใบเลี้ยงมีทั้งโรยไม่กี่วันหลังเมล็ดงอก หรือติดทนอย่างน้อยหนึ่งปี ใบเลี้ยงกักเก็บอาหารสะสมที่พืชใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อต้นอ่อนใช้อาหารที่สะสมจนหมด ใบเลี้ยงจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเพื่อทำหน้าที่[[สังเคราะห์ด้วยแสง]] หรือเหี่ยวเฉาเมื่อ[[ใบ]]แท้ทำหน้าที่ผลิตอาหารแทน<ref>{{cite web|url=https://sciencing.com/what-is-the-function-of-the-cotyledon-in-the-seed-12516786.html|title=What Is the Function of the Cotyledon in the Seed?|author=King, YaShekia|website=Sciencing|date=July 21, 2017|accessdate=February 14, 2021}}</ref>
 
ในกรณีของต้นอ่อนพืชใบเลี้ยงคู่ ใบเลี้ยงจะทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงคล้ายใบแท้ อย่างไรก็ตาม ใบเลี้ยงและใบแท้จะเจริญแยกกัน โดยใบเลี้ยงจะเจริญช่วง[[การเกิดเอ็มบริโอพืช|การเกิดเอ็มบริโอ]] พร้อมกับ[[เนื้อเยื่อเจริญ]]ของ[[ราก]]และ[[ลำต้น]]<ref name=Mr.Yuttana>{{Cite journal|last1=Goldberg|first1=Robert|last2=Paiva|first2=Genaro|last3=Yadegari|first3=Ramin|title=Plant Embryogenesis: Zygote to Seed|journal=Science|date=October 28, 1994|volume=266|issue=5185|pages=605–614|doi=10.1126/science.266.5185.605|pmid=17793455|bibcode=1994Sci...266..605G|s2cid=5959508}}</ref> ดังนั้นใบเลี้ยงจึงปรากฏในเมล็ดตั้งแต่ก่อนงอก ขณะที่ใบแท้เจริญหลังเมล็ดงอกจากเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายของลำต้น ซึ่งจะเจริญไปเป็นส่วนเหนือดินอื่น ๆ ของพืชในภายหลัง<ref>{{cite web|url=https://www.britannica.com/science/apical-meristem|title=Apical meristem|website=Britannica|accessdate=February 14, 2021}}</ref>
 
ใบเลี้ยงของ[[หญ้า]]และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่น ๆ จำนวนมากเป็นใบที่เปลี่ยนรูปไปเป็น[[ใบเลี้ยงธัญพืช]]และ[[เนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด]] ใบเลี้ยงธัญพืช (scutellum) เป็นเนื้อเยื่อในเมล็ดที่มีหน้าที่พิเศษในการดูดซึมอาหารที่สะสมไว้จาก[[เอนโดสเปิร์ม]]ที่อยู่ใกล้กัน<ref>{{cite web|url=https://www.britannica.com/plant/Poaceae/Characteristic-morphological-features|title=Poaceae - Characteristic morphological features|website=Britannica|accessdate=February 14, 2021}}</ref> ส่วนเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด (coleoptile) ทำหน้าที่ปกป้องยอดแรกเกิด (plumule) หรือต้นอ่อนที่จะเจริญไปเป็นลำต้นและใบ<ref>{{cite web|url=https://www.merriam-webster.com/dictionary/coleoptile|title=Definition of coleoptile|website=Merriam-Webster|accessdate=February 14, 2021}}</ref>
 
ต้นอ่อน[[พืชเมล็ดเปลือย]]มีใบเลี้ยงเช่นกัน โดยจำนวนใบเลี้ยงมีตั้งแต่ 2–24 ใบ ใบเลี้ยงของพืชเมล็ดเปลือยจะก่อตัวเป็นวงที่ยอด[[ลำต้นใต้ใบเลี้ยง]] ล้อมรอบส่วนยอดแรกเกิด พืชเมล็ดเปลือยแต่ละชนิดมีจำนวนใบเลี้ยงต่างกัน เช่น [[สนมอนเทเรย์]] (''Pinus radiata'') มี 5–9 ใบ [[สนเจฟฟรีย์]] (''Pinus jeffreyi'') มี 7–13 ใบ แต่บางชนิดมีจำนวนแน่นอน เช่น [[ไซเปรสเมดิเตอร์เรเนียน]] (''Cupressus sempervirens'') มีใบเลี้ยง 2 ใบเสมอ มีรายงานว่าพืชเมล็ดเปลือยที่มีใบเลี้ยงมากที่สุดได้แก่ [[สนพินยอนโคนใหญ่]] (''Pinus maximartinezii'') มีใบเลี้ยง 24 ใบ<ref>{{cite web|url=https://www.conifers.org/pi/Pinus_maximartinezii.php|title=''Pinus maximartinezii'' (maxipiñon) description|website=The Gymnosperm Database|accessdate=February 14, 2021}}</ref>
 
ทั้งนี้คำว่า cotyledon ใช้ครั้งแรกโดย[[มาร์เซลโล มัลพิกี]] แพทย์และนักชีววิทยาชาวอิตาลี{{efn|The Oxford English Dictionary attributes it [[Carl Linnaeus|Linnaeus]] (1707–1778) "1751 Linnaeus ''Philos. Bot.'' 54. ''Cotyledon, corpus laterale seminis, bibulum, caducum''" {{sfn|Linnaeus|1751|loc=[https://archive.org/stream/philosophiabotan00linn#page/54/mode/2up p.&nbsp;54]}} and 89, {{sfn|Linnaeus|1751|loc=[https://archive.org/stream/philosophiabotan00linn#page/89/mode/1up p.&nbsp;89]}} by analogy with a similar structure of the same name in the [[Cotyledon (placenta)|placenta]].{{sfn|OED|2015}}}} มาจากคำ[[ภาษาละติน]] cotylēdōn และ[[ภาษากรีกโบราณ]] κοτυληδών (kotulēdṓn) แปลว่า โพรงรูปถ้วย<ref>{{cite web|url=https://www.merriam-webster.com/dictionary/cotyledon|title=Definition of cotyledon|website=Merriam-Webster|accessdate=February 14, 2021}}</ref> [[จอห์น เรย์]] นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษเป็นบุคคลแรกที่สังเกตเห็นความแตกต่างของจำนวนใบเลี้ยงในพืชแต่ละชนิด และบันทึกว่าอาจใช้ใน[[การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์]]ในหนังสือ ''Methodus plantarum'' (ค.ศ. 1682)<ref name="Vines 1913">{{Citation | author = Vines, Sydney Howard | year = 1913 | chapter = Robert Morison 1620—1683 and John Ray 1627—1705 | pages = 8–43 | editor = Oliver, Francis Wall | editor-link = Francis Wall Oliver | title = Makers of British botany | publisher = Cambridge University Press| author-link = Sydney Howard Vines }}</ref><ref>Greene, E. L. & Egerton, F. N. (ed.) (1983). ''Landmarks of Botanical History: Part 2''. Stanford: Stanford University Press, p. 1019, note 15, [https://books.google.com/books?id=AzGsAAAAIAAJ&lpg=PA497&hl=pt-BR&pg=PA1019#v=onepage&q&f=false].</ref> อย่างไรก็ตาม [[ทีโอแฟรสตัส]] (คริสต์ศตวรรษที่ 3–4 ก่อนคริสตกาล) และ[[อัลแบร์ตุส มาญุส]] (คริสต์ศตวรรษที่ 13) อาจทราบความแตกต่างระหว่างพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ก่อนหน้านั้น<ref>{{cite web|url=http://bioetymology.blogspot.com.br/2011/06/cotyledon-monocotyledon-plural-usually.html|title=Bioetymology: Origin in Biomedical Terms: cotyledon, monocotyledon (plural usually monocots), dicotyledons(plural usually dicot)|website=bioetymology.blogspot.com.br|access-date=6 April 2018}}</ref><ref>Greene, E. L. & Egerton, F. N. (ed.) (1983), p. 1019, note 15.</ref>
 
{{commons category|Cotyledons (leaves)|ใบเลี้ยง}}
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ใบไม้]]
[[หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของพืช]]
[[หมวดหมู่:สัณฐานวิทยาของพืช]]
{{โครงพืช}}