ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 9194029 โดย Jeabbabeด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 3:
'''โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย''' ({{lang-en|Digital terrestrial television in Thailand}}) เป็นวิวัฒนาการสำคัญของ[[โทรทัศน์ในประเทศไทย]] ด้วย[[โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล]] ซึ่งผู้ชมส่วนใหญ่ทั่วไปจะเรียกว่า ทีวีดิจิตอล หรือ ทีวีดิจิทัล ทั้งนี้ตามกฎหมายราชอาณาจักรไทยบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้มีองค์การของรัฐแห่งหนึ่งขึ้นมาดูแลกิจการโทรคมนาคม กิจการโทรทัศน์วิทยุกระจายเสียง และกิจการสารสนเทศอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ให้จัดตั้งหน่วยงานองค์กรอิสระใหม่ขึ้นเป็น[[คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ]] (กสทช.) เป็นองค์กรอิสระภาครัฐที่รับผิดชอบโดยตรง เกี่ยวกับคลื่นความถี่ทั้งหมด กสทช. ออกกำหนดให้ใช้ระบบการออกอากาศตามมาตรฐาน [[การแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลภาคพื้นดินรุ่นที่ 2]] (DVB-T2) กำหนดระยะของการทดลองออกอากาศไว้ ระหว่างวันที่ 1 - 24 เมษายน พ.ศ. 2557<ref>{{cite web | url = http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140401/572578/กสทช.ทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอล1-24-เม.ย..html |title = กสทช.ทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอล 1-24 เม.ย. | date = 1 เมษายน 2557 | publisher = [[กรุงเทพธุรกิจ]] | accessdate = 7 เมษายน 2557}}</ref> ก่อนจะกำหนดเวลาให้ผู้ประกอบการทุกรายเตรียมความพร้อมขั้นสุดท้าย เพื่อเริ่มออกอากาศในส่วนกลางระหว่าง 25 เมษายน - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
 
โดยตามแผนแม่บทของ กสทช. ในประเทศไทยจะเริ่ม[[การยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในประเทศไทย|ยุติการออกอากาศ]][[โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก]]ภายในปี พ.ศ. 2558<ref>{{cite web | url = http://www.catdatacom.com/th/site/news/news_detail/111 | title = การเปลี่ยนผ่านสู่ โทรทัศน์ระบบดิจิทัล (Digital TV) | date =by | publisher = บริษัท [[กสท โทรคมนาคม]] จำกัด (มหาชน) | accessdate = 27 ธันวาคม 2556}}</ref> แต่ในการดำเนินการจริงนั้น การยุติการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ระบบ VHF และ UHF แบบแอนะล็อกมีความล่าช้า และแต่ละสถานีในแต่ละพื้นที่ได้ยุติออกอากาศไม่พร้อมกัน โดยสถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกอย่างสมบูรณ์ในระยะเวลาเดียวกันคือช่วงกลางปี พ.ศ. 2561<ref>{{cite web | url = http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/760295 | title = กสท.เคาะแผนช่อง7 ยุติอนาล็อก 3เฟส | date = | publisher = [[กรุงเทพธุรกิจ]] | accessdate = 19 มิถุนายน 2560}}</ref><ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=NY8UcXQmvuU|title=Switch Off analog 13 สถานี|date= 9 มกราคม 2561|accessdate= 12 มีนาคม 2561}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.tnamcot.com/view/5aa7b166e3f8e420a34393a7|title=อสมท มั่นใจระบบทีวีดิจิทัลครอบคลุมทั่วประเทศ ประกาศยุติการออกอากาศแอนะล็อก ไม่กระทบผู้ชม|work=สำนักข่าวไทย|date= 13 มีนาคม 2561|accessdate= 21 มีนาคม 2561}}</ref><ref>{{cite web | url = http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/760295 | title = กสท.เคาะแผนช่อง 7 ยุติอนาล็อก 3 เฟส | date = | publisher = [[กรุงเทพธุรกิจ]] | accessdate = 19 มิถุนายน 2560}}</ref><ref>{{cite web|url=https://yarmfaojor.com/content/553|title=อัปเดต: ThaiPBS, ช่อง 7, ช่อง 5 ยุติทีวีอนาล็อกเมื่อไหร่กันแน่?|work=ยามเฝ้าจอ|date= 17 มิถุนายน 2561|accessdate= 17 มิถุนายน 2561}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.tnamcot.com/view/5aa7b166e3f8e420a34393a7|title=อสมท มั่นใจระบบทีวีดิจิทัลครอบคลุมทั่วประเทศ ประกาศยุติการออกอากาศแอนะล็อก ไม่กระทบผู้ชม|work=สำนักข่าวไทย|date= 13 มีนาคม 2561|accessdate= 21 มีนาคม 2561}}</ref> และ[[ช่อง 3 เอชดี|ไทยทีวีสีช่อง 3]] ได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกเป็นช่องสุดท้ายของประเทศไทย ในเวลา 00:01 น. ของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563<ref>{{Cite web|url=https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000030444|title=ปิดตำนานวิกหนองแขม! ช่อง 3 คืนทรัพย์สินให้ อสมท หมดยุคทีวีแอนะล็อก|author=[[ผู้จัดการออนไลน์]]|website=mgronline.com|date=25 มีนาคม 2563|accessdate=29 มิถุนายน 2563}}</ref>
 
ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 กำหนดให้เริ่มต้นรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินด้วยระบบดิจิทัล ภายในเวลา 4 ปี นับแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งประกาศแผนแม่บทฉบับดังกล่าว และสืบเนื่องด้วย แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (กรอบการดำเนินงานอยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2559) มีการกำหนดยุทธศาสตร์ และระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านจากการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบแอนะล็อก ไปสู่การใช้ระบบดิจิทัล โดยให้เริ่มรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบดิจิทัลภายใน 4 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการผลิตอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ภายใน 3 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุนอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล สำหรับผู้มีรายได้น้อยภายใน 3 ปี และให้มีจำนวนครัวเรือนในเมืองใหญ่ ที่สามารถรับสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลได้ ไม่น้อยกว่า 80% ภายใน 5 ปี<ref name="nbtc"> กสทช. "การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://digital.nbtc.go.th/index.php/articles-en/18-future-digital 2556. สืบค้น 27 ธันวาคม 2556.</ref>