ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์ของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 2:
ในประเทศไทยมีประวัติศาสตร์'''กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ'''มาแต่อดีต ที่ปรากฏคำเรียกเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศอย่าง "[[กะเทย]]" หรือ "บันเดาะ" หรือ "บันเฑาะก์" หรือ "เล่นสวาท" ในฝ่ายชาย และ "เล่นเพื่อน" ในฝ่ายหญิง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 เริ่มมีการใช้คำว่า "[[Homosexual]]"{{อ้างอิง}} ส่วนพฤติกรรมรักร่วมเพศของคนทั่วไปเริ่มเป็นที่รับรู้ในสมัยหลังประชาธิปไตย และในยุคหลังเริ่มมีสื่อของเกย์ มากขึ้น นอกจากนี้กะเทยและเกย์ยังถูกแต่งเป็นเรื่องราวใน[[ภาพยนตร์]]และ[[นวนิยาย]]อีกด้วย
 
== ประวัติและที่มาของ ==
=== จุดเริ่มต้นของ ===
จากหลักฐานพฤติกรรมรักร่วมเพศมาตั้งแต่ในอดีต ในทางศาสนาพุทธตั้งแต่ครั้งบรรพกาลมีนิยายว่าด้วยการรักร่วมเพศ ทั้งในส่วน[[พุทธชาดก]] อีกทั้งภาพพฤติกรรมรักร่วมเพศที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย{{อ้างอิง}} ใน[[พระไตรปิฎก]] ยังได้ระบุคำสำคัญอย่าง "กะเทย" หรือ "บันเดาะ" หรือ "บันเฑาะก์" ที่มีความหมายว่า "ชายที่มีราคะจัด ชอบประพฤตินอกรีตในการเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้ประพฤติตาม"{{อ้างอิง}} และยังบัญญัติบุคคลที่ไม่สามารถบวชได้ในทางพุทธศาสนา คำว่ากะเทย (เขียนว่า "กเทย") ยังพบอยู่ใน ''[[พะจะนะพาสาไท]]'' ที่เขียนโดย [[พระสังฆราชปาลเลอกัวซ์|บาทหลวงปาลเลอกัวซ์]] ในปี พ.ศ. 2397 โดยเป็นคำแปลของคำภาษาอังกฤษว่า "Hermaphrodite"<ref>ปาลเลอกัวร์, พะจะนะพาสาไท (พระนคร : ม.ป.ท., 2397) </ref>