ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัตถุอาร์โรคอท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
AekwatNs (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 84:
 
}}
'''วัตถุอาร์โรคอท''' ({{lang-en|Arrokoth}}) หรือ '''486958 อาร์โรคอท''' ({{lang|en|486958 Arrokoth}}) มีชื่อในระบบว่า '''{{mp|2014 MU|69}}''' เป็น[[วัตถุพ้นดาวเนปจูน]]ใน[[แถบไคเปอร์]] วัตถุนี้มีลักษณะเป็น[[Planetesimal|ซากของดาวเคราะห์]]สองชิ้นที่เชื่อมติดกัน แบ่งเป็นซากดาวก้อนใหญ่ยาว 21 กม. และซากดาวก้อนเล็กยาว 15 กม. ทำให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางตามแกนรวมกันอยู่ที่ 36 กม. ซากดาวก้อนใหญ่มีลักษณะแบนกว่าซากดาวก้อนเล็ก เมื่อ[[ยานนิวฮอไรซันส์]]เดินทางไปถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019 เมื่อ 05:33 น. ตามเวลา [[เวลาสากลเชิงพิกัด|UTC]]<ref name="explored"/><ref name="about"/><ref name="LPSC1611"/> มันจึงเป็นวัตถุอวกาศที่ไกลและเก่าแก่ที่สุดที่ยานอวกาศเดินทางไปถึง และได้รับชื่อเล่นว่า '''อัลติมา ทูเล''' (Ultima Thule) ในเวลาต่อมา
 
ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2014 โดย [[Marc Buie|มาร์ค บูอิ]] นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน และทีมงานผู้สร้าง[[ยานนิวฮอไรซันส์]]จากการใช้[[กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล]]ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสังเกตวัตถุใน[[แถบไคเปอร์]]ของภารกิจ[[ยานนิวฮอไรซันส์]] วัตถุอาร์โรคอทนี้มีคาบดาราคติ (ความเร็วในการโคจรรอบดวงอาทิตย์) 298 ปี จากการสำรวจของ[[ยานนิวฮอไรซันส์]]พบว่าวัตถุอาร์โรคอทนี้แบนกว่าที่คิดไว้ ซึ่งเดิมทีนักดาราศาสตร์คาดว่ามีลักษณะกลมคล้าย[[ตุ๊กตาหิมะ]] ด้วยลักษณะที่มีโค้งเว้าตรงกลางและพื้นผิวที่เรียบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการเกิดดาวเคราะห์มากขึ้น โดยจากการสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ไม่ได้เกิดจากการชนกันของอุกกาบาต แต่เกิดจากการค่อย ๆ เกาะกันของเศษฝุ่นขนาดเล็ก ซึ่งหักล้างความแนวคิดเดิมที่ว่าดาวเคราะห์เกิดจากการชนกันของอุกกาบาต