ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคเฮอัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขคำผิด
Rameshe999 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 6:
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Heiankyou model.jpg|thumb|left|250px|แบบจำลองนครเฮอังเกียว|link=Special:FilePath/Heiankyou_model.jpg]]
 
ในช่วงปลาย[[สมัยนะระ]] เกิดโรคระบาดภาวะข้าวยากหมากแพง ตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่นในสมัยคลาสสิกว่าการย้ายที่อยู่เพื่อหลีบหนีวิญญาณชั่วร้ายจะช่วยให้รอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ในค.ศ. 784 พระจักรพรรดิคัมมุ (桓武, Kammu) ทรงย้ายราชสำนักจาก[[เฮโจวเกียว]]ไปยัง[[นะงะโอะกะ]]-เคียว (長岡京, Nagaoka-kyō) แต่ก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดในราชสำนักอีกพระจักรพรรดิคัมมุทรงเกรงกลัววิญญาณอาฆาตของพระอนุชาของพระองค์ จึงทรงย้ายราชสำนักมายัง[[เฮอังเกียว|เฮอัง-เกียว]] (平安京, Heian-kyō) ที่เมือง[[เคียวโตะ]]ในปัจจุบัน ในค.ศ. 794 การย้ายเมืองหลวงในครั้งนี้เป็นเพียงการย้ายสถานที่เท่านั้น ระบอบการปกครองที่มีต้นแบบมาจาก[[ราชวงศ์ถัง]]ตั้งแต่ปลาย[[สมัยอะสุกะ]]และอิทธิพลของ[[ตระกูลฟุจิวะระ]]ก็ยังติดตามมาเช่นเดิม ในสมัยเฮอังตระกูลฟุจิวะระมีอำนาจในฐานะเป็นตระกูลเดียวที่พระจักรพรรดิจะอภิเษกพระจักรพรรดินี และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนสำหรับพระจักรพรรดิที่ทรงพระเยาว์ เรียกว่า ''[[เซ็สโซ|เซ็สโช]]'' (摂政, Sesshō) หรือเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของพระจักรพรรดิ เรียกว่า ''[[คัมปะกุ]]'' (関白, Kampaku) อำนาจในการปกครองตกอยู่แก่''เซ็สโช''โดยพระจักรพรรดิที่ทรงพระเยาว์นั้นเป็นเพียงหุ่นเชิด ในสมัยเฮอังสตรีสูญเสียบทบาทและอำนาจในการปกครอง<ref>Fukutō Sanae, Takeshi Watanabe. ''From Female Sovereign to Mother of the Nation'', '''Heian Japan, centers and peripheries'''. 2007</ref> เนื่องจากอิทธิพลแนวความคิดตามแบบ[[ลัทธิขงจื้อ]]จากจีนที่เน้นความสำคัญของบุรุษ จะเห็นได้จากการที่ในสมัยเฮอังและในสมัยต่อมาไม่มีพระจักรพรรดินีที่เป็นสตรีปกครองประเทศอีกเลยเป็นเวลานาน สตรีถูกแบ่งแยกจากบุรุษและถูกกีดกัดเข้าสู่ฝ่ายใน แต่กระนั้นสตรีในราชสำนักเฮอังก็ได้กลับขึ้นมามีอำนาจในฐานะ ''โคไทโง'' (皇太后, kōtaigō) หรือพระพันปี